วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563

ACM มอบรางลัลให้ผู้พัฒนา AlphaGo

Association for Computing Machinery (ACM) ได้ประกาศในวันที่ 1 เมษายน เพื่อมอบรางวัล ACM Prize in computing ประจำปี 2019  ในสาขา คอมพิวเตอร์เล่นเกม (computer game-playing) ให้กับ David Silver ซึ่งเป็นผู้นำของกลุ่มนักพัฒนาที่พัฒนา AlphaGo ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่เล่นเกม Go ชนะแชมป์ของเกมนี้ที่เป็นคน ในตอนนี้ Silver และทีมกำลังพัฒนาขั้นตอนวิธีที่เรียกว่า AlphaZero เพื่อให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้การเล่นเกมกับตัวเอง โดยไม่ต้องเรียนรู้จากผู้เล่นที่เป็นคนเลย ซึ่งขั้นตอนวิธีที่ Silver และทีมกำลังพัฒนาสามารถนำไปประยุกต์กับเทคโนโลยีระดับสูงนอกจากเกมได้ อย่างเช่น Google ตอนนี้ก็กำลังศึกษาวิธีที่จะนำไปใช้ในการบริหารจัดการหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ACM

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2563

แอพมือถือบางตัวอาจมีประตูลับซ่อนอยู่

นักวิจัยด้านความมั่นคงไซเบอร์ (cybersecurity) ที่ Ohio State University, New York University, and Germany's CISPA Helmholtz Center for Information Security พบว่า 8.5% จากแอปประมาณ 150,000 ตัวที่เราสามารถดาวน์โหลดกันได้มีประตูลับซึ่งอาจเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ หรือบล็อกผู้ใช้จากการเข้าถึงเว็บต่าง ๆ ซึ่งอันหลังนี้นักวิจัยบอกว่า มันแอบเอาไว้โดยไม่บอก ดังนั้นผู้ใช้อาจไม่รู้ตัวว่าถ้าใช้คำนี้แล้วจะถูกบล็อก นักวิจัยบอกว่าบางครั้งช่องโหว่นี้มันไม่ได้เป็นความมุ่งร้ายของผู้พัฒนาแอป แต่เป็นความประมาทหรือเข้าใจผิดว่าการทำวิศวกรรมย้อนกลับ (reverse engineering) โปรแกรมเพื่อให้เห็นโค้ดโปรแกรมนั้นทำได้ยาก ดังนั้นบางแอปก็อาจเอาตัวรหัสผ่านระดับสูงสุดสด (master password) ใส่ไว้ในแอป ดังนั้นถ้าใครทำวิศกรรมย้อนกลับแล้วได้รหัสผ่านนี้ไปก็สามารถเข้าถีงข้อมูลอะไรก็ได้ที่แอปเก็บไว้ นักวิจัยไดสร้างเครื่อมือแบบเปิดเผยโค้ดชื่อ InputScore เพื่อช่วยให้นักพัฒนาได้เห็นช่องโหว่ในโปรแกรมของตัวเอง 

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  Ohio State News

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563

นักวิจัยพัฒนาวิธีการที่เร็วกว่าในการแทนที่ข้อมูลที่ถูกต้อง

นักวิจัยจาก North Carolina State University (NC State) และ U.S. Army Research Office ได้พัฒนาตัวแบบแบบใหม่ที่สามารถแทนที่ข้อมูลที่ผิดพลาดที่แพร่ไปบนเครือข่ายสังคมและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) ด้วยข้อมูลที่มีความถูกต้อง โดยวิธีการของนักวิจัยคือหาจุดที่จะเอาข้อมูลใหม่ที่ถูกต้องเข้าไปในเครือข่ายเพื่อให้กระจายไปเร็วที่สุด เพื่อที่จะได้ไปกำจัดข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกไปให้เร็วที่สุด

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NC State University News

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

นักวิจัยทดสอบการใช้วิธีเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อลดการระบาดของ COVID-19

นักวิจัยจาก University of Western Australia (UWA) พบว่าการเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) มีส่วนช่วยในการลดการระบาดของไวรัส COVID-19 ได้จริง โดยเขาได้ศึกษาลึกลงไปด้วยว่าวิธีไหนให้ผลดีที่สุด โดยเขาได้ศึกษาทั้งวิธี แยกตัวเอง (self-isolating) ทำงานที่บ้าน ลดการติดต่อกันในชุมชน พบว่าวิธีการที่ดีที่สุดคือการผสมกันของการแยกตัวเอง และลดการติดต่อกับชุมชนลง 70% นักวิจัยให้คำนิยามการติดต่อกับชุมชนว่าคือการติดต่อกับคนที่ไม่ได้อยู่ในโรงเรียน บ้าน หรือที่ทำงาน นักวิจัยยังพบว่าการปิดโรงเรียนอย่างเดียวให้ผลน้อยที่สุด ยิ่งไปกว่านั้นผู้ใหญ่ก็ต้องใช้เวลามาดูแลเด็กด้วย ถ้าจะปิดโรงเรียนก็ต้องลดการติดต่อกับชุมชนลงอย่างน้อย 30% นักวิจัยยังบอกด้วยว่าการเว้นระยะห่างทางสังคมจะทำนานแค่ไหน จะทำอะไรบ้างนั้นเป็นเรื่องท้าทาย และคงแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Western Australia

เพิ่มเติมเสริมข่าว: 

ก็ไม่รู้จะไว้ใจรัฐบาลประเทศเรานี้ได้มากแค่ไหน คงได้แต่ภาวนาและร่วมมือด้วยการงดออกจากบ้านถ้าไม่จำเป็น เราอยู่ในบ้านได้แหละแต่สงสารคนที่เขาไม่สามารถจะทำได้ จนถึงขั้นเสียงานเสียการจริง ๆ 

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

ใช้ AI ช่วยลดความหนาแน่นการจราจรและการใช้น้ำมัน

นักวิจัยจาก Oak Ridge National Laboratory (ORNL) ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI) และการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning, ML) เพื่ออกแบบระบบที่ทำให้การจราจรคล่องตัวที่แยกไฟแดง และลดการสิ้นเปลืองพลังงาน แนวคิดคือรถแต่ละชนิดกินน้ำมันไม่เท่ากันเวลาต้องหยุด ตัวอย่างเช่นรถบรรทุกใหญ่ ๆ จะกินน้ำมันมากกว่าเวลาหยุดและต้องออกตัวใหม่กว่าจะกลับไปที่ความเร็วเดิมก่อนที่จะหยุด วิธีนี้ใช้ AI กับ ML ในการระบุประเภทของรถ และประมาณการใช้น้ำมันของรถ และส่งต่อไปยังแยกถัดไป ประเด็นก็คือพาหนะที่กินน้ำมันมากกว่าควรจะได้เคลื่อนที่ต่อไปมากกว่าที่จะหยุดอยู่ที่แยกไฟแดง  

อ่านข่าวเต็มได้ที่: GCN