บริษัทเทคโนโลยีที่เป็นคู่แข่งของ Google อย่างไมโครซอฟท์ ไอบีเอ็ม หรือโมซิลลา ต่างออกมาสนับสนุน Google ในคดีฟ้องร้องที่ Oracle ฟ้อง Google เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ์การใช้งาน API (Application Program Interface) ของภาษา Java ของ Oracle ในการนำไปพัฒนาระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ การฟ้องร้องนี้มีระยะเวลานานประมาณ 10 ปีได้แล้ว โดยกำลังจะมีการตัดสินจากศาลสูงของสหรัฐภายในปีนี้ ซึ่งบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายที่เป็นคู่แข่งของ Google ได้ขึ้นให้การต่อศาลโดยสนับสนุน Goolge เพราะบริษัทเหล่านี้มองว่าสิ่งที่ Oracle ฟ้องร้องในเรื่องของ API เป็นการขัดขวางนวัตกรรม โดย IBM บอกว่า API ไม่ควรจะจดลิขสิทธิ์ได้ ในขณะที่ Oracle ยังยืนยันว่า Google เป็นโขมย และยังทำลายจุดแข็งของ Java ในแง่ของการทำงานร่วมกันได้
อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Hill
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
ขออธิบายเพิ่มเติมว่าทำไมบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ถึงออกมาเข้าข้าง Google และถ้า Oracle ชนะมันจะมีอาจมีผลกระทบกับอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ยังไงบ้าง ก่อนอื่นมาทำความรู้จัก API (Application Program Interface) กันก่อน ซึ่งก็ขออธิบายง่าย ๆ ว่ามันคือลิสต์รายชื่อของฟังก์ชันที่นักเขียนโปรแกรมสามารถเรียกใช้จากคลังโปรแกรม (program library) ที่พัฒนาไว้ก่อนหน้าแล้วได้ โดยประโยชน์ของมันก็คือนักเขียนโปรแกรมสามารถเรียกใช้ฟังก์ชันจากคลังโปรแกรมได้โดยไม่ต้องรู้รายละเอียดว่าโค้ดในคลังโปรแกรมเขียนขึ้นมายังไง เขียนขึ้นมาด้วยภาษาอะไร ทำงานบนแพลตฟอร์มแบบไหน
ในปัจจุบันเราต้องเขียนโปรแกรมให้ทำงานได้บนอุปกรณ์หลากหลายเช่นทั้งบนมือถือ บนแท็บเล็ต บนคอมพิวเตอร์ ซึ่งนอกจากตัวอุปกรณ์แล้วระบบปฏิบัติการก็ยังมีหลายตัวอีกด้วย ดังนั้นคลังโปรแกรมก็อาจจำเป็นต้องพัฒนาขึ้นมาสำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆ บนระบบปฏิบัตการต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งถ้าเราสามารถใช้ API เดียวกัน ในการเรียกคลังโปรแกรมเหล่านี้ เราก็สามารถนำโค้ดที่เขียนกับอุปกรณ์ตัวหนึ่ง มาใช้กับโค้ดสำหรับอุปกรณ์อีกตัวหนึ่งได้โดยง่าย
แต่สมมติถ้า Oracle ชนะในคดีนี้ คือตัว API สามารถมีลิขสิทธื์ได้ มันก็อาจทำให้เกิดปัญหาเช่นสมมติผมสร้างคลังโปรแกรมขึ้นมาให้ทำงานกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ซึ่งแน่นอนผมต้องมี API ให้นักพัฒนาที่จะเอาคลังโปรแกรมของผมไปใช้ เรียกใช้คลังโปรแกรมของผมได้ คราวนี้ถ้ามีคนอยากพัฒนาคลังโปรแกรมที่ทำงานเหมือนของผมแต่ทำงานบนแอนดรอยด์ แต่เพราะ API เป็นลิขสิทธิ์ของผม ดังนั้นเขาต้องสร้าง API ของเขาเอง นั่นหมายความว่าตอนนี้นักพัฒนาซึ่งอยากพัฒนาให้ทำงานได้บนวินโดวส์ และบนแอนดรอยด์จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมสองแบบเพื่อใช้เรียกใช้คลังโปรแกรมที่ทำงานเหมือนกัน และลองคิดต่อ ๆ ไปสิครับว่าถ้าต้องเขียนโปรแกรมสำหรับ iOS Mac OS และอื่น ๆ อีกมากมายจะยุ่งแค่ไหน
ยิ่งไปกว่านั้นเหตุการณ์นี้อาจทำให้เกิดการผูกขาดเช่น ถ้านักพัฒนาโปรแกรมไม่อยากเขียนโค้ดเยอะ เขาก็จำเป็นต้องรอให้ผมพัฒนาคลังโปรแกรมให้ทำงานบนเครื่องที่เขาอยากใช้ ถึงตรงนี้หลายคนอาจถามว่าแล้วอย่างนี้คนคิดคนแรกก็เสียเปรียบสิ อุตสาห์ทำขึ้นมาก่อน พอทำดีก็มีคนเอาไปทำตาม คือต้องเข้าใจนะครับว่าตัวโค้ดในคลังโปรแกรมยังเป็นลิขสิทธิ์ของคนที่ทำมันขึ้นมา คนที่สร้างคลังโปรแกรมตัวถัดมาต้องยังคงต้องเขียนโค้ดคลังโปรแกรมของตัวเองขึ้นมาเอง แต่เขาสามารถใช้ API เหมือนของคนแรกได้ คนแรกถ้าต้องการจะแข่งขันก็สามารถสร้างคลังโปรแกรมให้ทำงานบนแพลตฟอร์มเดียวกันกับคนที่สองขึ้นมาแข่งได้ และถ้ามันดีกว่านักพัฒนาก็สามารถเปลี่ยนมาใช้ได้โดยง่าย เพราะใช้ API เดียวกัน โค้ดก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไรอยู่แล้ว
ถ้าอ่านแล้วยังไม่เข้าใจว่าถ้า Oracle ชนะจะมีผลยังไง ลองจินตนาการว่าเราอยู่ในโลกซึ่งรูที่เติมน้ำมันรถมีลิขสิทธิ์ รถแต่ละยี่ห้อไม่สามารถใช้รูเติมน้ำมันแบบเดียวกันได้ เช่นถ้า Toyota ใช้วงกลมไปแล้ว Honda ถ้าอยากใช้วงกลมด้วยต้องจ่ายเงินให้ Toyota ตามยอดขาย Honda ไม่ยอมก็เลยไปใช้รูเติมน้ำมันเป็นสี่เหลี่ยม แล้วยี่ห้ออื่น ๆ ก็ใช้รูปแบบของตัวเอง ลองคิดกันดูแล้วกันครับว่ามันจะยุ่งแค่ไหน
วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563
วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2563
ตรวจจับวัตถุด้วยคลื่นไมโครเวฟและการเรียนรู้ของเครื่อง
นักวิจัยจาก Duke University และ Institut de Physique de Nice จากประเทศฝรั่งเศส ได้พัฒนาวิธีการที่ใช้การเรียนรู้ของเครื่องเพื่อนำคลื่่นไมโครเวฟมาใช้ในการระบุวัตถุ ซึ่งวิธีนี้จะเพิ่มความแม่นยำในขณะที่จะลดเวลาและใช้พลังงานน้อยกว่าวิธีการที่ใช้อยู่เดิม ซึ่งผลของการวิจัยนี้จะสามารถนำไปใช้กับงานที่ต้องการการตรวจจับวัตถุให้ได้อย่างรวดเร็วเช่น รถที่ขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง และเซ็นเซอร์ตรวจจับความปลอดภัยเป็นต้น
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Duke PRATT SCHOOL of ENGINEERING News
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Duke PRATT SCHOOL of ENGINEERING News
วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563
สถิติโลกใหม่ของนักวิ่งที่เป็นอัมพาตในการแข่งขันวิ่งมาราธอน
Adam Gorlitsky ซึ่งเป็นอัมพาตตั้งแต่เอวลงไปสร้างสถิติใหม่ในการเข้าเส้นชัยในการแข่งขันมาราธอน โดยใช้ชุดที่ออกแบบมาเป็นโครงเพื่อให้เคลื่อนไหวได้ (ไม่รู้จะอธิบายยังไง ดูรูปจากข่าวเต็มแล้วกันนะครับ) โดยสถิตินี้เกิดขึ้นในการแช่งขัน Charleston (SC) Marathon 2020 โดยใช้เวลาในการเข้าเส้นชัย 33 ชั่วโมง 50 นาที 23 วินาที เขาออกเดินวันพฤหัสและเข้าเส้นชัยในเช้าวันเสาร์ โดยไ่ม่ได้หยุดพักหรือนอนเลย ซึ่งเวลาที่ทำได้นี้ได้ทำลายสถิติของ ชายชาวอังกฤษคือ Simon Kindleysides ที่ทำไว้ใน London Marathon 2018 ที่ใช้เวลา 36 ชั่วโมง 46 นาที ซึ่งตอนนี้ก็ต้องรอให้ Guinness บันทึกอย่างเป็นทางการต่อไป สำหรับ Adam Gorlitsky เป็นอัมพาตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ในปี 2005 ทำให้มีการบาดเจ็บที่เส้นประสาทไขสันหลังหลายแห่ง
อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNN
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
อ่านข่าวแล้วก็สร้างกำลังใจดีครับ คนเราถ้าไม่ยอมแพ้กับเหตุการณ์ไม่คาดหมายที่เกิดกับตัวเอง ก็สามารถสร้างสิ่งดี ๆ ให้เกิดขึ้นได้
อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNN
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
อ่านข่าวแล้วก็สร้างกำลังใจดีครับ คนเราถ้าไม่ยอมแพ้กับเหตุการณ์ไม่คาดหมายที่เกิดกับตัวเอง ก็สามารถสร้างสิ่งดี ๆ ให้เกิดขึ้นได้
วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563
งานวิจัยที่จะช่วยลดอันตรายกับตัวเราในการใช้งาน VR
นักวิจัยจาก Oregon State University (OSU) และ Northern Illinois University ได้ประเมินการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อและกระดูกจากการใช้งาน ความจริงเสมือน (Virtual Reality, VR) เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงส่วนติดต่อกับผู้ใช้ที่ใช้งาน VR เช่นการที่ต้องยืดแขนเข้าออกอย่างรวดเร็วเพื่อไปแตะวัตถุเสมือนที่เห็นใน VR อาจทำให้เกิดบาดเจ็บที่หัวไหล่ การใส่อุปกรณ์ VR หนัก ๆ ที่หัวก็อาจทำให้คอมีปัญหา งานวิจัยนี้จะนำไปใช้ในการออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้สำหรับแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ใช้ VR ตัวอย่างเช่นวัตถุเสมือนใน VR ที่ผู้ใช้ใช้บ่อย ๆ ก็ควรจะวางไว้ใกล้ตัวผู้ใช้ที่สุด และวัตถุควรจะวางอยู่ในระดับสายตาไม่ควรสูงกว่าหรือต่ำกว่าเป็นต้น
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Oregon State University News Room
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
งานด้าน VR ตอนนี้หลายคนอาจจะคิดว่าเน้นหนักไปที่เกมเท่านั้น แต่จริง ๆ มันกำลังเข้ามามีบทบาททั้งด้านการศึกษา และอุตสาหกรรมมากขึ้นด้วย ดังนั้นงานวิจัยนี้ไม่ได้ช่วยแค่เกมเมอร์เท่านั้น
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Oregon State University News Room
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
งานด้าน VR ตอนนี้หลายคนอาจจะคิดว่าเน้นหนักไปที่เกมเท่านั้น แต่จริง ๆ มันกำลังเข้ามามีบทบาททั้งด้านการศึกษา และอุตสาหกรรมมากขึ้นด้วย ดังนั้นงานวิจัยนี้ไม่ได้ช่วยแค่เกมเมอร์เท่านั้น
วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563
ใช้คลาวด์เพื่อเป็นเทวดาผู้พิทักษ์สำหรับรถยนต์
เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับการขับขี่รถยนต์ วิศวกรจากพานาโซนิกได้เริ่มพัฒนาระบบที่เขาตั้งชื่อว่า เข็มขัดนิรภัยดิจิทัล (digital seatbelt) ซึ่งจะส่งข้อมูลของรถยนต์เช่นความเร็ว และทิศทาง ไปยังระบบโครงสร้างพื้นฐานของการคมนาคม (transportation infrastructure) (ไม่รู้จะเรียกอะไรดี เพราะไทยยังไม่น่าจะมีนะครับระบบนี้) จากนั้นระบบจะส่งข้อมูลกลับมาเตือนให้คนขับรู้สภาพถนนที่อาจเป็นปัญหาเช่นมีการก่อสร้าง หรือแม้แต่รถติด โดยเขาได้ทดลองร่วมกับกรมการขนส่ง (department of transporation) ในรัฐโคโรลาโด และยูทาห์ ซึ่งตามข่าวบอกว่าจริง ๆ ระบบที่พูดคุยกันแบบโต้ตอบไปมาแบบนี้ ใช้กับถนนสายหลัก ๆ แล้วหลายแห่งทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรป ดังนั้นวิศวกรของพานาโซนิกมีแผนที่จะทำให้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกขั้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยการพัฒนาระบบที่เรียกว่า Cirrus ซึ่งจะใช้ข้อมูลการขับขี่ที่มากกว่าความเร็วและทิศทาง ข้อมูลที่เพิ่มเข้ามาก็เช่น ข้อมูลของระบบเบรค สถานะของที่ปัดน้ำฝน ข้อมูลของไฟตัดหมอกเป็นต้น ไปยังระบบคลาวด์ และใช้การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) เพื่อวิเคราะห์และสร้างการเตือนให้เหมาะสมกับคนขับแต่ละคนได้ ซึ่งทางพานาโซนิคบอกว่าจะเปิดระบบให้นักพัฒนาแอปเข้ามาใช้ได้ด้วย ซึ่งทางพานาโซนิคบอกว่าเขากำลังสร้างระบบประสาทที่เป็นศูนย์กลางเพื่อเชื่อมต่อรถยนต์เข้าด้วยกัน
อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
ในขณะที่รถขับเคลื่อนด้วยตัวเองยังคงต้องใช้เวลาอีกสักพักหนึ่ง แต่เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องก็เริ่มปล่อยออกมาให้เราได้ใช้กันแล้ว ย้อนมามองในประเทศไทย ประเทศซึ่งมีสถิติอุบัติเหตุบนถนนติดอันดับต้น ๆ ของโลก เรายังใช้วิธีรณรงค์เมาไม่ขับ เปลี่ยนชื่อ 7 วัน อันตราย เป็น 7 วัน แห่งความสุข เพื่อแก้ปัญหาอุบัติเหตุกันอยู่เลย
อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum
เพิ่มเติมเสริมข่าว:
ในขณะที่รถขับเคลื่อนด้วยตัวเองยังคงต้องใช้เวลาอีกสักพักหนึ่ง แต่เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องก็เริ่มปล่อยออกมาให้เราได้ใช้กันแล้ว ย้อนมามองในประเทศไทย ประเทศซึ่งมีสถิติอุบัติเหตุบนถนนติดอันดับต้น ๆ ของโลก เรายังใช้วิธีรณรงค์เมาไม่ขับ เปลี่ยนชื่อ 7 วัน อันตราย เป็น 7 วัน แห่งความสุข เพื่อแก้ปัญหาอุบัติเหตุกันอยู่เลย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)