วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการสัมมนา vmware virtualization series 2009

วันนี้ (19 พ.ย. 2552) ผมได้ไปฟังสัมมนา Virtualization Seminar Series โดย vmware ที่โรงแรม Conrad ก็ขอถือโอกาสมาเล่าให้ฟังแล้วกันครับ สำหรับบรรยากาศทั่ว ๆ ไปของงานน่าจะเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อให้บริษัทได้นำเสนอเทคโนโลยีการทำ Virtualization และ Cloud computing ซึ่งใช้ vmware เป็นฐานในการทำงาน สรุปง่าย ๆ คือเป็นการมาขายของ โดยให้ความรู้ประกอบ ซึ่งเดี่ยวนี้จะเห็นการตลาดในลักษณะนี้เยอะพอสมควร ตัวอย่างหนึ่งก็คือวารสารไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งเดี๋ยวนี้บทความส่วนใหญ่จะเขียนโดยบริษัท คือจะเป็นเชิงให้ความรู้ และโฆษณาสินค้าของตัวเองไปในตัว กลุ่มเป้าหมายของการสัมมนาครั้งนี้ก็คือฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทต่าง ๆ ซึ่งน่าจะเป็นลูกค้าของ vmware ในอนาคต ส่วนผมไปก็คงเป็นส่วนเกิน ไปกินข้าวฟรี น้ำฟรีและขนมฟรี และก็ไม่ได้ซื้อของอะไรเขา เพราะตัวเองผลิตภัณฑ์ vmware ที่ใช้ก็คือ vmware player ที่ฟรี ส่วน vmware Workstation ก็โหลดมาใช้ตอนที่ต้องการจะสร้าง Virtual Machine เท่านั้น ก็เห็นเขาส่งอีเมลมาเชิญ ก็เลยลงทะเบียนไป สงสัยงวดต่อไปเขาไม่เชิญแล้ว

คราวนี้ลองมาสรุปประเด็นต่าง ๆ ที่ ผมได้มาจากการสัมมนาครั้งนี้บ้าง เริ่มต้นจาก vSphere 4.0 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ vmware สำหรับ Cloud Computing สำหรับตัวนี้ใครสนใจก็คลิกดูเลยแล้วกันครับ

ส่วนที่ผมอยากจะพูดถึงก็คือ vmware View 4.0 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับ cloud computing ในระดับ desktop สำหรับตัวนี้ขอขยายความหน่อยแล้วกันครับ เพราะอาจจะเป็นตัวที่มีโอกาสได้ใช้มากกว่า หลักการคร่าว ๆ ของ vmware View เป็นดังนี้ครับ ปกติเวลาเราสร้าง virtual machine เราก็จะต้องนำมาทำงานบนเครื่อง client โดยทำงานผ่าน vmware player แต่สำหรับแนวคิดของ vmware View คือเป็นการขยายแนวคิดของ cloud computing มาสู่ desktop คือจะสร้าง virtual machine ขึ้นมาแล้วเก็บไว้บน server จากนั้นผู้ใช้ก็ใช้โปรแกรม vmware View ติดต่อเข้ามาเพื่อใช้งาน virtual machine ซึ่งข้อดีของการทำอย่างนี้ก็มีหลายประการคือ ตอนนี้ผู้ใช้จะสามารถใช้เครื่องไหนก็ได้ ที่มี vmware View ติดตั้งอยู่ ในการใช้งาน virtual machine หรืออาจจะใช้แค่ thin client ซึ่งมีราคาถูก ก็สามารถใช้งาน virtual machine ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ก็ยังง่ายต่อการดูแลเพราะ virtual machine ถูกเก็บไว้ที่ server ทาง vmware ยังได้คิดโพรโตคอลของตัวเองคือ PCoIP ซึ่งมีจุดประสงค์ให้การทำงานต่าง ๆ เช่นการถอดรหัสวีดีโอทำที่ server และส่งผลลัพธ์เป็น pixel มายัง client ซึ่งจะทำให้ client แสดงผลลัพธ์ได้ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นวีดีโอในรูปแบบใด

ในงานมีการสัมภาษณ์ลูกค้าที่ใช้ vmware คือ ปตท. และบริษัท NetApp ซึ่งเป็น Solution Provider ที่เป็นพันธมิตรกับ vmware ทาง IBM ก็ได้มาพูดถึง Solution ทางด้าน cloud computing ที่ทาง IBM ได้เตรียมไว้ เช่น Lotus Live ซึ่งเป็นบริการในรูปการทำงานร่วมกันในองค์กร ซึ่ง IBM ให้ทดลองใช้ฟรีได้ 30 วัน ซึ่งตรงนี้ผมว่าพวกเราที่ใช้ Google Application คงจะเฉย ๆ นะครับ เพราะใช้กันมาตั้งนานแล้ว และฟรีด้วย Solution ที่น่าสนใจจริง ๆ ผมว่าน่าจะเป็น IBM cloudburst ซึ่งเป็น Solution สำเร็จรูปสำหรับองค์กรที่ต้องการทำ cloud computing นอกจากนี้ก็มี EMC มาพูดเรื่องเกี่ยวกับการจัดการ Storage และ Dell กับ HP ก็มาพูดถึง Solution ที่ได้เตรียมไว้สำหรับ Cloud computing จริง ๆ แล้วยังเหลืออยู่อีกสอง session ซึ่งผมไม่สามารถอยู่จนจบได้ เนื่องจากติดธุระในช่วงเย็น เสียดายจริง ๆ ครับ เขาจะมีการจับรางวัลด้วย โดยรางวัลจะเป็น โน้ตบุ๊ก Fujitsu กับเครื่อง Wii ว่าจะไปลุ้นเครื่อง Wii มาให้ลูกเล่นเสียหน่อยอดเลย

โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่างานนี้ก็เป็นงานสัมมนาขายสินค้าแบบหนึ่ง แต่ที่ผมได้จากการเข้าสัมมนาครั้งนี้ก็คือการได้เห็น Solution ทางด้านการทำ virtualization และ Cloud computing ซึ่งตัวผมเองนั้นไม่ได้มีประสบการณ์การทำงานด้านนี้จริง ซึ่งก็พอจะทำให้มองเห็นภาพจากสิ่งที่รู้มาในภาคทฤษฎีมากขึ้น

5 ความคิดเห็น:

  1. สวัสดีครับอาจารย์ อังคารหน้าผมถึงจะได้ไปฟังงานนี้ครับ ผมอยู่สิงคโปร์และงานนี้จัดที่นี่วันอังคารหน้า แต่อาจารย์มาสรุปให้ฟังแล้ว ที่นี่ก็คงขายเหมือนกันครับ :)

    จันทร์หน้า ผมจะเข้าไปฟัง IT evangelist ของ Amazon เขามาเปิดตัว cloud datacenter ที่สิงคโปร์ครับ ถ้ามีอะไรน่าสนใจเดี๋ยวผมจะมาอัพที่ blog ผมครับ

    ตอบลบ
  2. อืมส์ ผมเป็นคนนึงที่สนใจและใช้ Virtualization อยู่ครับ คิดว่า VMWare ข้องข้างได้ตลาดมากในไทย เพราะ Citrix XenServer นั้นไม่ค่อยทำตลาดในบ้านเราเลย...

    ตอบลบ
  3. javaboom ขอบคุณมากครับ ผมคิดว่าคงเรียกคุณว่าอาจารย์ได้เหมือนกันนะครับ ถ้าอาจารย์มีอะไรมา update ก็ดีครับ เพราะอาจารย์ทำวิจัยด้านนี้โดยตรง น่าจะมีมุมมองอะไรที่มากกว่าผม ผมได้ติดตามงานของอาจารย์ผ่านทาง blognone และบล็อกของอาจารย์ด้วยครับ และยังได้แนะนำให้นักศึกษาที่สนใจด้านนี้เข้าไปอ่านด้วย อ้อขอแสดงความยินดีย้อนหลังกับ Ph.D. Candidate ด้วยครับ

    ตอบลบ
  4. champillion เห็นด้วยครับว่า vmware คงครองตลาดเมืองไทยไปแล้วล่ะครับ ว่าแต่ที่ทำงานคุณใช้ vmware อยู่หรือเปล่าครับ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณครับอาจารย์

    สำหรับตลาดสิงคโปร์เอง VMware ก็ครองตลาดครับ รองลงมาก็ Citrix แต่ตอนนี้ทาง Microsoft เองก็รุกตลาดหนักไปมากพอสมควรครับ ส่วน Platform Computing ซึ่งเป็นเจ้าพ่อทางด้าน HPC ก็ไม่น้อยหน้านะครับ ได้โครงการใหญ่ๆจากภาครัฐและภาคการศึกษาไปพอสมควร แต่เบื้องหลังของ Platform Computing ก็ยังใช้ Xen ครับ

    สำหรับที่ศูนย์วิจัยของผม เราใช้ XenServer สำหรับทำ Cloud Testbed ครับ (ก่อนหน้านี้ใช้ Hyper-V ตอนนั้นยังไม่เสถียรเราเลยเปลี่ยน) ส่วนผลิตภัณฑ์ของ VMware เราใช้สำหรับทำ virtual desktop / virtual app สำหรับใช้ในศูนย์วิจัย

    ส่วนในภาคการศึกษาในแง่งาน R&D ต้องยอมรับเลยว่า Opensource Xen ขึ้นแท่นอันดับหนึ่ง ในส่วน public cloud เองก็มีหลายเจ้าที่ใช้ Xen ทั้ง opensource และ commercial ในผลิตถัณฑ์ virtualization ก็ตั้งอยู่บน Xen อย่างไรก็ตาม VMware มาแรงมากๆครับ โดยเฉพาะเมื่อมี CISCO กับ EMC และอีกหลายๆบริษัท (เช่น Dell กับ IBM) หนุนหลังอยู่ครับ

    ตอบลบ