วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2563

แอปจากนาซาเพื่อช่วยงานวิจัยที่สู้กับความอ่อนล้า

Credits: NASA/Ames Research Center/Dominic Hart

National Aeronautics and Space Administration หรือนาซา (NASA) ได้ปล่อยแอปพลิเคชันขึ้นบน App Store ของ Apple เพื่อช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษาเพื่อให้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อคนเรารู้สึกล้า และสามารถระบุสัญญาณที่จะสามารถเตือนให้คนได้รู้ว่าตัวเขาเองเกิดอาการล้าแล้วนะ แอปนี้ทำงานโดยใช้ฐานของการเฝ้าระวังด้านจิตใจ ที่วัดเวลาในการตอบสนองต่อสัญญาณที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับอุปกรณ์พกพา แอปนี้ยังมีส่วนที่ช่วยให้การเก็บข้อมูลทำได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นคนที่ทำงานอยู่ในสภาพแวดล้อมจริง สามารถเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อนำมาใช้กับการออกแบบการทดสอบและทางแก้ปัญหาที่น่าเชื่อถือ นาซาใช้แอปนี้ในการจำลองการเดินทางด้วยยานอวกาศ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NASA


วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563

Python กำลังจะแซง Java ในการจัดอันดับภาษาเขียนโปรแกรม

Image: Tiobe

จากการจัดอันดับประจำเดือนของ Tiobe ชี้ให้เห็นว่า Python กำลังจะแซง Java เพื่อเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองต่อจากภาษา C ภาษา Java มีความนิยมตกลง 4.2% เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคมปีที่แล้ว และถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ Java จะหลุดจากอันดับสองเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2001 CEO ของ Tiobe เคยบอกว่า Pyhton กำลังมีปัญหาเนื่องจากความนิยมลดลง 3.81 ในเดือนกันยายนปีนี้เทียบกับปีที่แล้ว แต่มันกลับทะยานขึ้นอีกครั้งจากการใช้งานของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล และการเข้ามาของการเรียนรู้ของเครื่อง โดยตอนนี้ Java มีความนิยม 12.56% ส่วน Python อยู่ที่ 11.28%  ห่างกันอยู่แค่ 1.3% จากการจัดอันดับของ RedMonks ซึ่งเป็นคู่เปรียบเทียบของ Tiobe ภาษาอันดับหนึ่งคือ JavaScript และเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นครั้งแรกที่ Java หลุดจากอันดับสอง โดยภาษาที่มาแทนที่คือ Python 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet



วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563

Github เปิดคุณสมบัติการสแกนโค้ดเพื่อหาข้อบกพร่องในโปรแกรมได้ตั้งแต่ต้น

Image Credit: Igor Golovniov/SOPA Images/LightRocket via Getty Images

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Github ได้เปิดคุณสมบัติการสแกนโค้ดเพื่อช่วยนักพัฒนาระบุข้อบกบ่องในโค้ด ก่อนที่จะปล่อยสู่สาธารณะ ซึ่งเป็นผลจากการที่เมื่อปีที่แล้ว Github เข้าเป็นเจ้าของ Semmle ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการวิเคราะห์โค้ด ซึ่งเครื่องมือใหม่นี้คือตัวช่วยในการทดสอบด้านความมั่นคงของแอปพลิเคชัน ซึ่งจะแปลงโค้ดให้อยู่ในรูปแบบที่สืบค้นได้ จากนั้นหาแบบรูป (pattern) ของช่องโหว่ เครื่องมือดังกล่าวระบุข้อบกพร่องและข้อผิดพลาดในการตรวจสอบโค้ดได้ทันที Github บอกว่าในการทำการทดสอบแบบเบต้า มีที่เก็บโค้ดถูกตรวจสอบกว่า 12,000 แหล่ง โดยสแกนกว่า 1 ล้านครั้ง ค้นพบช่องโหว่กว่า 20,000 จุด และ 72% ของช่องโหว่นี้ ถูกแก้ไขภายใน 30 วัน 

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  VentureBeat

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2563

สายไฟเบอร์ "ล่องหน" ที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติสามารถวัดการหายใจ

ภาพจาก University of Cambridge (U.K.)

นักวิจัยจาก  University of Cambridge ของประเทศอังกฤษ ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติเพื่อพิมพ์สายไฟเบอร์ที่ใช้ส่งสัญาณไฟฟ้าแบบที่บางมาก ๆ และมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า โดยเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเซ็นเซอร์วัดการหายใจที่เคลื่อนย้ายได้ สวมใส่ได้ และไม่ต้องมีการสัมผัส อุปกรณ์ตัวนี้สามารถนำไปติดกับสมาร์ตโฟนเพื่อที่จะบันทึกรูปแบบการหายใจ เสียง และภาพได้พร้อม ๆ กัน นักวิจัยทดสอบการใช้เซ็นเซอร์นี้ในการวัดปริมาณละอองของเหลวที่รั่วออกมาจากหน้ากากอนามัยของเขา เพื่อเปรียบเทียบการหายใจถี่ ๆ ปกติกับการไอ ตัวเซ็นเซอร์นี้เอาชนะอุปกรณ์ที่วางขายอยู่ในตลาดตอนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตามการหายใจถี่ ๆ นักวิจัยยังบอกอีกว่าเซ็นเซอร์สายไฟเบอร์นี้สามารถนำไปผลิตเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบในบ้านได้ เพื่อให้คนทั่ว ๆ ไป สามารถจัดการทดสอบเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของตัวเอง

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  University of Cambridge (U.K.)

วันอังคารที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563

นักวิทยาศาสตร์ฝึกคอมพิวเตอร์ให้บอกว่ามะเร็งเต้านมระยะแรกแบบไหนที่จะกำเริบขึ้นมาอีก

ซ้ายภาพมะเร็งที่ไม่เกิดซ้ำ ขวามะเร็งที่เกิดซ้ำ
ภาพจาก University of Michigan

วิธีการวิเคราะห์แบบใหม่ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก University of Michigan Rogel Cancer Center ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการช่วยทำนายด้วยความเชื่อมั่นในระดับสูงว่ามะเร็งเต้านมที่อยู่ในระยะ 0 ว่าจะเกิดซ้ำอีกหรือไม่หลังจากผ่าตัดไปแล้ว หรือการผ่าตัดจะช่วยรักษาได้หรือไม่ นักวิจัยไ้ด้รวบมรวมภาพจากไมโครสโคป (microscope) ของมะเร็งในระยะ 0 ที่ร้าย (aggressive) หรือไม่ร้าย (non-aggressive) เพื่อฝึกสอนคอมพิวเตอร์ จากนั้นแสดงภาพที่ต่างกัน 100 ภาพ ที่เครื่องไม่เคยเห็นมาก่อน เพื่อวัดความแม่นยำในการทำนาย โปรแกรมจะได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยใช้ตัวอย่างที่เพิ่มเติมเข้าไป ซึ่งตอนนี้สามารถระบุมะเร็งร้าย และไม่ร้ายได้แม่นยำถึง 96%

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Michigan