วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2563

ผู้หญิงในเยอรมันคนแรกที่ตายจากการจู่โจมทางไซเบอร์

Photo by Markus Spiske on Unsplash

ผู้หญิงชาวเยอรมันที่มีอาการป่วยหนักถึงขั้นเสียชีวิตได้ กลายเป็นผู้ป่วยคนแรกที่ต้องเสียชีวิตจากการจู่โจมทางไซเบอร์ต่อระบบดูแลสุขภาพ เนื่องจากทางโรงพยาบาลไม่สามารถรับเธอเข้ามารักษาได้เนื่องจากระบบล่ม โดย Ransomware ได้แทรกซึมเข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์ของ University Clinic ใน Dusseldorf โดยใช้ช่องโหว่ของ เครือข่ายส่วนตัวแบบเสมือน (virtual private network) ของ Citrix ซึ่งมีผลทำให้รถพยาบาลที่กำลังนำผู้ป่วยเดินทางมาต้องเปลี่ยนเส้นทางไปที่ Wuppertal แทน และผู้ป่วยต้องเสียชีวิตลงเนื่องจากการต้องเปลี่ยนเส้นทางนี้ ซึ่งหน่วยงานด้านความมั่นคงของเยอรมันบอกว่าทางหน่วยงานได้เตือนเรื่องช่องโหว่นี้ไปแล้วตั้งแต่เดฺือนธันวาคม 2019 และบอกให้หน่วยงานด้านดูแลสุขภาพได้ปรับปรุงระบบเพื่ออุดช่องโหว่นี้ ซึ่งในตอนนี้ได้กล่าวย้ำอีกครั้งว่าขอให้อย่าละเลยหรือเลื่อนการทำตามคำเตือน ขอให้ทำโดยทันที เหตุการณ์นี้ก็แสดงให้เห็นอีกครั้งแล้วว่า อันตรายร้ายแรงแบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Daily Mail

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563

Phish Scale: วิธีที่จะช่วยให้ฝ่ายไอทีเข้าใจว่าทำไมผู้ใช้จึงคลิกอ่านเมลหลอกลวง

ภาพจาก: NIST

นักวิจัยจาก U.S. National Institute of Standards and Technology (NIST) ได้พัฒนาโปรแกรมที่เรียกว่า Phish Scale ซึ่งจะช่วยให้องค์กรฝึกสอนพนักงานให้ไม่ถูกหลอกจากอีเมลหลอกลวงได้ดีขึ้น ในอดีตฝ่ายความมั่นคงขององค์กรก็มีโปรแกรมฝึกฝนพนักงานอยู่แล้ว โดยส่งเมลหลอกลวงให้พนักงานแล้วตรวจสอบอัตราการคลิกอีเมลของพนักงาน แต่วิธีการดังกล่าวจะวัดจากอัตราการคลิกอย่างเดียว ซึ่งอาจทำให้ไม่ได้ข้อมูลในรายละเอียด โปรแกรม Phish Scale ที่พัฒนาขึ้นจะดูเนื้อหาของอีเมลด้วย ซึ่งจะทำให้แยกกลุ่มของเป้าหมายได้เช่นเป้าหมายกลุ่มที่เป็นมหาวิทยาลัย กลุ่มภาคธุรกิจ และกลุ่มสุขภาพเป็นต้น โดยเนื้อหาจะเน้นที่ส่วนสำคัญ 5 ส่วน โดยแต่ละส่วนจะมีคะแนนความยากง่ายจาก 1 ถึง 5 ผู้ฝึกสอนจะหาคะแนนเฉลี่ยเพื่อแบ่งแบบฝึกหัดที่จะฝึกพนักงานออกเป็นง่าย ปานกลาง และยาก สามารถดูวีดีโอได้จากข่าวเต็มครับ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NIST

 

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563

สิงคโปร์จะจ่ายเงินให้ผู้ที่ดูแลสุขภาพด้วย Apple Watch

Photo by Daniel Korpai on Unsplash

Apple และรัฐบาลสิงคโปร์ร่วมมือกันในโครงการเริ่มต้นสองปีที่ชื่อว่า LumiHealth ซึ่งจะติดตามและให้รางวัลพฤติกรรมของผู้ใช้ผ่านทาง Apple Watch และแอปพลิเคชันบน iPhone คนสิงคโปร์จะได้เงินมากถึง 380 เหรียญสิงคโปร์ ประมาณ 280 เหรียญสหรัฐ ในรูปแบบของเงินเพิ่มและบัตรกำนัลถ้าทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแอป LumiJealth ตัวแอป จะเสนอผู้ช่วยส่วนตัวและเตือนเรื่องการตรวจสุขภาพและการฉีดวัคซีน ยิ่งไปกว่านั้นยังมีโปรแกรมท้าทายด้านสุขภาพเช่นการจำกัดอาหาร และอุปนิสัยการนอน Apple บอกว่าข้อมูลของผู้ใช้จะถูกเข้ารหัสและจะไม่ถูกขายหรือเปิดเผยเพื่อจุดประสงค์ด้านการตลาด

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Bloomberg

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2563

การฝึกสอนเครื่องเพื่อให้เห็นภาพสามมิติในที่มืด

ภาพจาก ANU

นักวิจัยจาก Australian National University (ANU) ได้พัฒนาวิธีการใช้การเรียนรู้ของเครื่องในการสร้าง อ็อปติคัลโฮโลแกรม (optical hologram) ได้อย่างเกือบสมบูรณ์ในที่ที่เกือบมืดสนิท โดยปกติแล้วภาพโฮโลแกรมสามมิติจะเห็นเป็นจุดเล็กๆ  ในที่ที่มีแสงน้อย แต่ Holo-UNet ของ ANU ถูกฝึกสอนในวงจรการเรียนรู้เป็นพัน ๆ ครั้ง โดยหลังจากการฝึกสอนแต่ละครั้ง นักวิจัยจะแสดงให้ Holo-UNet ได้เห็นข้อมูลอ็อปติคัลที่หายไป จากนั้นเครื้องก็จะจำว่าจะเติมเต็มส่วนที่หายไปได้อย่างไรเพื่อให้ได้โฮโลแกรมที่เกือบสมบูรณ์ นักวิจัยบอกว่าด้วยวิธีการที่พัฒนาขึ้นมานี้ จะนำไปใช้ได้กับงานที่หลากหลายตั้งแต่ด้านความมั่นคงไปจนถึงการวาดภาพเซลล์ที่มีชีวิตได้ในแบบทันทีทันใด โดยใช้แสงน้อยกว่าที่เคยต้องใช้ สามารถดูวีดีโอตัวอย่างการทำงานได้จากข่าวเต็มครับ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Australian National University

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2563

IBM สร้างโปรแกรมการศึกษาและวิจัยด้าน Quantum แห่งแรก

ภาพจาก ACM

IBM ประกาศว่าได้สร้างโปรแกรมการศึกษาและวิจัยด้านควอนตัม (Quantum) ขึ้นเป็นแห่งแรกสำหรับ  Historically Black Colleges and Universities (HBCU) ซึ่งนำโดย  Howard University และ HBCU อีก 12 แห่ง IBM-HBCU Quantum Center จะให้การเข้าถึงคอมพิวเตอร์ควอนตัมของ IBM และจะมีส่วนร่วมด้านการศึกษา และความพยายามในการเข้าถึงประชาคม จุดประสงค์เริ่มต้นคือเตรียม และสร้างผู้มีความสามารถที่ HBCU ในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ให้พร้อมสำหรับยุคของควอนตัม

อ่านข่าวเต็มได้ที่: HPCwire