วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2568

การค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ของการโต้ตอบระหว่างสัตว์กับคอมพิวเตอร์

animal-computer-interaction
ภาพจาก University of Glasgow (U.K.)

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จาก University of Glasgow และเจ้าหน้าที่ดูแลสัตว์จากสวนสัตว์เปิด Blair Drummond Safari Park ในสกอตแลนด์ ได้ทดสอบระบบอินเทอร์แอกทีฟที่ช่วยให้ลิงลีเมอร์แดงและมนุษย์สามารถแบ่งปันประสบการณ์หลากหลายประสาทสัมผัส (multisensory experiences) ได้ 

ระบบ SensorySafari ซึ่งติดตั้งเซ็นเซอร์อินฟราเรด ช่วยให้ลิงลีเมอร์สามารถกระตุ้นวิดีโอ เสียง กลิ่น หรือการผสมผสานของสองอย่างขึ้นไป ลิงลีเมอร์กระตุ้นอุปกรณ์บ่อยขึ้นเมื่อองค์ประกอบอินเทอร์แอกทีฟทำงาน และชอบกลิ่นมากกว่าวิดีโออย่างเดียว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Glasgow (U.K.)

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2568

ฝึก AI ระดับความเร็วแสง

light-inside-the-chip
ภาพจาก Penn Engineering โดย Ian Scheffler

วิศวกรจาก University of Pennsylvania หรือ UPenn ได้พัฒนาชิปที่ตั้งโปรแกรมได้ ซึ่งสามารถฝึกโครงข่ายประสาทเทียมแบบไม่เชิงเส้นโดยใช้แสง ความก้าวหน้านี้อาศัยวัสดุเซมิคอนดักเตอร์พิเศษที่สามารถจัดการได้ด้วยแสงที่ป้อนเข้าไป 

“เราไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของชิป” Liang Feng จาก UPenn  อธิบาย “เราใช้ลำแสงเองในการสร้างรูปแบบภายในวัสดุ ซึ่งจากนั้นจะปรับรูปร่างการเคลื่อนที่ของแสงผ่านมัน” 

ในการทดสอบ แพลตฟอร์มนี้มีความแม่นยำมากกว่า 97% ในงานตัดสินใจแบบไม่เชิงเส้นอย่างง่าย และมากกว่า 96% ในชุดข้อมูลดอกไอริส ซึ่งเป็นข้อมูลมาตรฐานการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning)

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Penn Engineering โดย Ian Scheffler

 

วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2568

ประเทศไทยเปิดตัวตำรวจหุ่นยนต์

Thai-Robot-Police
ภาพจาก The Nation (Thailand)

ตำรวจไทย ได้เปิดตัวหุ่นยนต์ตำรวจ AI ตัวแรกของประเทศไทยในงานเทศกาลสงกรานต์ที่จังหวัดนครปฐมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (16 เมษายน 2568)  

"AI Police Cyborg 1.0" มีกล้อง AI 360 องศาที่เชื่อมโยงกับศูนย์บัญชาการและควบคุมของจังหวัด นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี AI ในตัวที่สามารถวิเคราะห์ภาพสดจากกล้องวงจรปิดและโดรนได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Nation (Thailand) 

วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2568

ทำให้โค้ดภาษาใด ๆ ที่สร้างขึ้นด้วย AI แม่นยำขึ้น

programming-code
ภาพจาก MIT News โดย Adam Zewe

ทีมนักวิจัยนานาชาติได้พัฒนาเฟรมเวอร์ก (framework) เพื่อปรับปรุงโค้ดที่สร้างโดย AI นักวิจัยได้ใส่ความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญจะมีลงในโมเดลภาษาขนาดใหญ่ เพื่อนำทางให้สร้างผลลัพธ์ที่มีแนวโน้มดีที่สุด และเป็นไปตามกฎของภาษาโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง 

โครงร่างนี้จะกำหนดน้ำหนักให้กับแต่ละผลลัพธ์ตามความน่าจะเป็นที่จะมีความแม่นยำในแง่ความหมาย และถูกต้องตามโครงสร้าง โดยกำจัดผลลัพธ์ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าในแต่ละขั้นตอนของการคำนวณ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News โดย Adam Zewe 

วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2568

ทารกเกิดมาด้วยระบบฉีดอสุจิด้วยหุ่นยนต์

ICSI-System
ภาพจาก Interesting Engineering โดย Srishti Gupta

นักวิจัยจาก Conceivable Life Sciences ได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อทำให้ระบบ intracytoplasmic sperm injection (ICSI) ซึ่งใช้ในการฉีดเซลล์อสุจิเข้าไปในไข่ที่โตเต็มวัย เป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งผลก็คือหญิงวัย 40 ปี ให้กำเนิดเด็กชายที่มีสุขภาพแข็งแรง 

ระบบนี้ใช้เลเซอร์ในการตรึงและนำทางเซลล์อสุจิเข้าไปในไข่ ซึ่งมีประสิทธิภาพด้านความแม่นยำเหนือกว่ากระบวนการที่ทำด้วยมือ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Interesting Engineering โดย Srishti Gupta