วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2567

อมยิ้มนำรสชาติสู่ VR

VR-Technology
ภาพจาก IEEE Spectrum โดย Gwendolyn Rak

นักวิจัยจาก City University of Hong Kong ได้พัฒนาอุปกรณ์รูปทรงอมยิ้มที่สามารถเลียได้ ซึ่งสามารถจำลองรสชาติในโลกเสมือนจริง (virtual reality) 

อุปกรณ์นี้บรรจุสารเคมีซึ่งกินได้ฝังอยู่ในเจลอะกาโรส (agarose gel) ซึ่งจะถูกส่งไปยังพื้นผิวของอุปกรณ์ในรูปของเหลวเมื่อใช้แรงดันไฟฟ้ากับเจล 

ของเหลวนี้จะผสมกับน้ำลายของผู้ใช้เพื่อสร้างรสชาติเก้ารสชาติ ได้แก่ น้ำตาล เกลือ กรดซิตริก เชอร์รี่ เสาวรส ชาเขียว นม ทุเรียน และเกรปฟรุต

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum โดย Gwendolyn Rak


วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2567

Starbucks (แอริโซนา) ต้องคำนวณค่าจ้างของบาริสตาเองหลังจากโดนโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่

Starbucks-logo
ภาพจาก CNN โดย Sean Lyngaas

Starbucks กล่าวว่าการโจมตีด้วย มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware) ที่ Blue Yonder ผู้ให้บริการคลาวด์ในรัฐแอริโซนาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทำให้บริษัทต้องติดตามและจัดการตารางเวลาของพนักงานบาริสตา (barista) ด้วยตนเอง เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาได้รับค่าจ้างอย่างถูกต้อง 

บริษัทข้ามชาติหลายแห่งใช้บริการคลาวด์ของ Blue Yonder เพื่อจัดการห่วงโซ่อุปทาน ผู้ผลิตรถยนต์ Ford และเครือข่ายร้านขายของชำชั้นนำในสหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในบริษัทที่อาจได้รับผลกระทบจากการโจมตีครั้งนี้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNN โดย Sean Lyngaas



วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

Uber ตอนนี้สามารถจ้างพนักงานชั่วคราวเป็นนักเขียนโปรแกรมเพื่อโครงการ AI ได้แล้ว

two-users-using-laptop
ภาพจาก Bloomberg โดย Natalie Lung

Uber Technologies บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านบริการเรียกรถโดยสาร ได้ขยายขอบเขตแรงงานในระบบเศรษฐกิจแบบกิ๊ก (gig economy) ให้ครอบคลุมถึงโปรแกรมเมอร์ ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ของ Uber สามารถจ้างงานนักพัฒนา AI แบบอิสระได้ 

ฝ่าย Scaled Solutions ซึ่งเป็นฝ่ายใหม่ที่รับผิดชอบด้านการฝึกอบรม AI และการติดฉลากข้อมูล ได้รับการพัฒนาต่อยอดจากทีมงานภายในที่จัดการงานติดฉลากข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับหน่วยงานเรียกรถ ส่งอาหาร และขนส่งสินค้าของ Uber 

จากข้อมูลในเว็บไซต์ Scaled Solutions กำลังให้บริการแก่บริษัทอื่น ๆ ที่ต้องการชุดข้อมูลคุณภาพสูงเช่นกัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Bloomberg โดย Natalie Lung


วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

จมูกอิเลกทรอนิกส์ดมกลิ่นได้ 60 ครั้งต่อวินาที

moujse-pictured-in-front-a-line-graph
ภาพจาก IEEE Spectrum โดย Liam Critchley

จมูกอิเล็กทรอนิกส์ (e-nose) ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก University of Hertfordshire ในสหราชอาณาจักร และเพื่อนร่วมงานจากที่อื่น ๆ สามารถวิเคราะห์ และถอดรหัสกลิ่นต่าง ๆ ได้มากถึง 60 ครั้งต่อวินาที 

นอกจากนี้ยังสามารถแยกแยะกลิ่นต่าง ๆ ได้ด้วยรูปแบบเฉพาะตามกลิ่นที่ปล่อยออกมาในขณะที่ทำปฏิกิริยากับเซ็นเซอร์ของจมูกอิเล็กทรอนิกส์  

จมูกอิเล็กทรอนิกส์นี้มีขนาดเล็กกว่าบัตรเครดิต และสร้างขึ้นด้วยส่วนประกอบสำเร็จรูป และอินเทอร์เฟซดิจิทัลที่ออกแบบเอง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum โดย Liam Critchley


วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

พระสันตปาปาจะทรงแต่งตั้งวัยรุ่นชาวอิตาลีผู้ล่วงลับให้เป็นนักบุญคนแรกในยุคดิจิทัล

vatican-city
Photo by Christian Lendl on Unsplash

สมเด็จพระสันตะปาปา Francis  ทรงประกาศว่าจะยกย่องให้ Carlo Acutis เป็นนักบุญในเดือนเมษายนปีหน้า โดยกำหนดวันให้วัยรุ่นผู้ล่วงลับผู้นี้กลายเป็นนักบุญยุคมิลเลนเนียลคนแรกของคริสตจักรคาทอลิก ในสมัยของโลกดิจิทัล 

Carlo Acutis เป็นนักออกแบบเว็บไซต์ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในประเทศอิตาลีเมื่อปี 2006 ขณะมีอายุเพียง 15 ปี 

เขาได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักบุญองค์อุปถัมภ์แห่งอินเทอร์เน็ต (patron saint of the Internet)” โดย Acutis ใช้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสร้างเว็บไซต์สำหรับรวบรวมปาฏิหาริย์ และดูแลเว็บไซต์ให้กับองค์กรคาทอลิกท้องถิ่นบางแห่งอีกด้วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Associated Press