วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ชุมชนการเขียนโค้ดในสิงคโปร์เติบโตเร็วที่สุดในเอเชียแปซิฟิก

github-access
ภาพจาก The Straits Times (Singapore)

ประมาณหนึ่งในหกของประชากร 5.9 ล้านคนของสิงคโปร์มีส่วนร่วมในการเขียนโค้ดคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ผู้ใช้ GitHub ที่ไม่ซ้ำกันจากเข้าสู่ระบบในสิงคโปร์ แสดงให้เห็นว่ามีอัตราส่วนที่สูงที่สุดในโลกและเพิ่มขึ้น 400% จากปี 2019 

ชุมชนการเขียนโค้ดของประเทศที่เป็นเกาะแห่งนี้ เติบโตเร็วที่สุดในเอเชียแปซิฟิก โดยเพิ่มขึ้น 39% ในช่วง 12 เดือนนับถึงเดือนกันยายน และแซงหน้าแม้แต่อินเดีย ซึ่งคาดว่าจะแซงหน้าสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีชุมชนผู้สร้างซอฟต์แวร์ที่ใหญ่ที่สุดภายในปี 2027 

มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ประมาณ 2000,000 รายในสิงคโปร์ แต่ข้อมูลของ GitHub รวมเอาสมาชิกที่อาจไม่ได้เขียนโค้ด แต่รวมเอาผู้วิเคราะห์ ออกแบบ หรืออัพโหลดโค้ดด้วย 

Sharryn Napier จาก GitHub กล่าวว่า "จากประสบการณ์ของผม สิงคโปร์ได้ทำเกินขีดจำกัดของตัวเองมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคส่วนเทคโนโลยี"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Straits Times (Singapore)

วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

เครื่องมือที่ช่วยทวนสอบซอฟต์แวร์ระบบอัตโนมัติ

Spoq-tool
ภาพจาก Columbia Engineering News

เครื่องมือ Spoq ที่พัฒนาโดยนักวิจัย Software Systems Laboratory (SSL)  ของ Columbia University ช่วยลดความยุ่งยากในการทวนสอบ (verification) ซอฟต์แวร์ระบบอย่างเป็นทางการ และช่วยให้สามารถยืนยันโค้ดของโปรแกรมระบบที่เขียนด้วยภาษา C ที่มีอยู่ได้โดยไม่ต้องแก้ไข

การทวนสอบระบบอย่างเป็นทางการแสดงให้เห็นถึงความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ในทุกสถานการณ์ในรูปแบบคณิตศาสตร์

Spoq ได้รับการออกแบบมาเพื่อลดความพยายามในการทวนสอบด้วยตนเองที่น่าเบื่อโดยทำให้การทวนสอบอย่างเป็นทางการหลายแง่มุมเป็นแบบอัตโนมัติ

Xupeng Li จากโคลัมเบียกล่าวว่า "Spoq สามารถสร้างผลลัพธ์ได้ภายในเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง เมื่อเทียบกับการทำด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนหรือหลายปีในการทวนสอบระบบอย่างเป็นทางการ"

SSL ตั้งใจที่จะเปิด Spoq ให้เป็นแบบโอเพ่นซอร์สในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเพื่อให้การทวนสอบอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นในวงกว้าง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Columbia Engineering News

วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

เด็กที่มีความพิการก็เป็นเกมเมอร์ได้นะ

child-disability
ภาพจาก Pursuit - The University of Melbourne (Australia)

นักศึกษาจาก University of Melbourne  แห่งออสเตรเลียได้พัฒนาเทคโนโลยีช่วยเหลือต้นแบบ 3 ชิ้นที่จะช่วยให้เด็กที่เป็นโรคสมองพิการสามารถเล่นวิดีโอเกมได้

นักวิจัยได้สร้างปุ่มสัมผัสที่ไม่ต้องใช้ทักษะการเคลื่อนไหวในการควบคุม เช่นปุ่มเตะ และซอฟต์แวร์ติดตามการเคลื่อนไหวที่ใช้ควบคุมเกมโดยใช้การเคลื่อนไหวของศีรษะ

ต้นแบบได้รับการพัฒนาจากเด็กชายอายุ 8 ขวบที่มีภาวะสมองพิการ เขาขาดทักษะการเคลื่อนไหวในการใช้ตัวควบคุมเกมแบบปกติ หรือแบบดัดแปลงและไม่พูด

หลังจากที่ปล่อยให้เขาทดสอบเทคโนโลยีต้นแบบทั้งสาม นักวิจัยพบว่าสมาธิของเขายาวขึ้นจากประมาณ 15 นาทีเป็นมากกว่าหนึ่งชั่วโมง ในระหว่างนั้นเขาก็มีส่วนร่วมและหัวเราะอย่างเต็มที่

นักวิจัยนักศึกษา Fidel Febri Halim กล่าวว่าประสบการณ์ดังกล่าว "ได้ตอกย้ำความเชื่อของฉันเกี่ยวกับความสำคัญของการออกแบบและเทคโนโลยีที่ครอบคลุมซึ่งสามารถเสริมศักยภาพบุคคลที่มีความพิการ ซึ่งจะนำไปสู่ชีวิตที่เติมเต็มได้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Pursuit - The University of Melbourne (Australia)

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

การเรียนรู้ของเครื่องอาจทำนายน้ำท่วมได้ดีขึ้น

flood
ภาพจาก IEEE Spectrum

ทีมนักอุทกวิทยาและนักวิจัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในอิตาลี สเปน และฟินแลนด์ได้พัฒนาตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ที่ใช้ 30 นาทีแรกของพายุ ในการคาดการณ์การเกิดน้ำไหลบ่าหรือน้ำท่วมได้นานถึงหนึ่งชั่วโมงก่อนที่จะเกิดขึ้น

นักวิจัยได้ฝึกตัวแบบด้วยพารามิเตอร์ข้อมูลเข้า เช่น ปริมาณน้ำฝนและความดันบรรยากาศที่ได้รับจากเซ็นเซอร์ของสถานีตรวจอากาศ พารามิเตอร์ข้อมูลผลลัพธ์ เช่น การดูดซับของดินและปริมาณน้ำไหลบ่า รวมกับข้อมูลที่รวบรวมและข้อมูลสังเคราะห์ที่สร้างขึ้นโดยใช้ตัวแบบทางทฤษฎีแบบดั้งเดิม

Andrea Zanella จากมหาวิทยาลัย Padova แห่งอิตาลี อธิบายว่าที่จำเป็นต้องมีข้อมูลสังเคราะห์ เนื่องจากมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสร้างตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่องที่เชื่อถือได้สำหรับอุทกวิทยา ซึ่งเป็นการศึกษาวัฏจักรของน้ำในโลก

นักวิจัยกล่าวว่าการเพิ่มเซ็นเซอร์และอัตราการรวบรวมข้อมูลที่หลากหลายอาจช่วยแก้ปัญหาได้

อ่านข่าวเต้มได้ที่: IEEE Spectrum

วันพุธที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

ส่วนขยาย Google Slide ช่วยให้ซอฟต์แวร์นำเสนอเข้าถึงได้มากขึ้นจากผู้พิการทางสายตา

A11yBoard
ภาพจาก UW News

นักวิจัยจาก University of Washington และ Stanford University ได้สร้างส่วนขยายเบราว์เซอร์สำหรับ Google Slides และแอปพลิเคชันโทรศัพท์ที่ติดตั้งในเครื่อง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ที่ตาบอดสามารถใช้งานเค้าโครงสไลด์และข้อความได้

A11yBoard ผสานรวมคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อให้ผู้ใช้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นสามารถทำงานกับเสียง การสัมผัส ท่าทาง การรู้จำเสียงพูด และการค้นหาเพื่อดูว่าวัตถุต่าง ๆ อยู่ที่ตำแหน่งใดบนสไลด์ และเคลื่อนย้ายวัตถุเหล่านั้นไปรอบ ๆ ในรูปแบบต่าง ๆ

นักวิจัยได้พัฒนา ปรับปรุง และทดสอบอินเทอร์เฟซกับผู้เข้าร่วมที่ตาบอด และแสดงให้เห็นว่า A11yBoard ปรับปรุงความสามารถในการเข้าใจเนื้อหาภาพและทำงานร่วมกันในการสร้างสไลด์โดยไม่ต้องเปลี่ยนสไลด์กลับไปกลับมา

อ่านข่าวเต็มได้ที่: UW News