วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

AI ค้นพบยาปฏิชีวนะที่ต้านเชื้อดื้อยา

 

woman-scientist
ภาพจาก BBC News

นักวิทยาศาสตร์ในแคนาดาและสหรัฐอเมริกาใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence ) หรือ AI ช่วยในการค้นพบยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ที่สามารถกำจัดเชื้อดื้อยาที่อันตรายถึงชีวิต ด้วยการจำกัดจำนวนผู้ทดสอบหลายพันคนให้เหลือเพียงไม่กี่คนเพื่อการทดสอบในห้องปฏิบัติการ

นักวิจัยได้ทดสอบยาหลายพันชนิดในสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะอย่าง Acinetobacter baumannii จากนั้นส่งข้อมูลผลลัพธ์ไปยัง AI เพื่อให้สามารถระบุคุณสมบัติทางเคมีของสารประกอบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการโจมตีแบคทีเรีย

AI วิเคราะห์ยา 6,680 รายการโดยไม่ทราบประสิทธิภาพของมัน และสร้างรายการที่สามารถนำมาใช้พิจารณาต่อไปได้ในเวลาเพียง 90 นาที 

นักวิจัยพบว่า 9 ใน 240 จากรายการยาปฏิชีวนะที่ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการเป็นยาปฏิชีวนะที่มีศักยภาพ โดยสารประกอบอะบาซิน (abaucin) แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำลายเชื้อดื้อยาในตัวอย่างจากผู้ป่วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: BBC News

วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ทางเลือกที่จะทำงานต่อไปถ้า GPS ทำงานไม่ได้

satellites-orbit
ภาพจาก IEEE Spectrum

ในการค้นหาทางเลือกอื่นนอกเหนือจากระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System) หรือ GPS นักวิจัยของ Ohio State University สามารถคำนวณตำแหน่งพื้นดินภายในหน่วยเป็นเมตรโดยใช้ดาวเทียมวงโคจรต่ำ ( low Earth orbit) หรือ LEO 

พวกเขาพัฒนาอัลกอริธึม STAN (simultaneous tracking and navigation) ซึ่งสามารถตรวจจับดาวเทียม LEO ถอดรหัสสัญญาณ ติดตามสัญญาณ และประเมินตำแหน่งของดาวเทียม

พวกเขายังได้พัฒนาเครื่องรับที่ติดตั้งบนยานพาหนะซึ่งสามารถทำงานร่วมกับกลุ่มดาวเทียมแทบทุกชนิด ในการทดลองขับ พวกเขาขับออกไป 100 เมตร ก่อนจะตัด GPS และขับต่อไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ระบบ GPS-INS มาตรฐาน ระบุตำแหน่งที่แท้จริงของนักวิจัยผิดไป 500 เมตร ในขณะที่ระบบ STAN ผิดไปเพียง 4.4 เมตร

Zak Kassas จากกระทรวงคมนาคมของสหรัฐฯ กล่าวว่า "เราสามารถใช้สัญญาณของดาวเทียมเพื่อค้นหาตำแหน่งของตนเองได้อย่างแม่นยำ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum

วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

AI ระบุวัสดุที่คล้ายกันจากรูป

MIT-Similarity-material-prediction
ภาพจาก MIT News

ตัวแบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ซึ่งพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ที่ Massachusetts Institute of Technology และ Adobe Research สามารถระบุพิกเซลทั้งหมดในภาพที่ใช้แสดงถึงวัสดุที่ระบุ

ตัวแบบจะแปลงคุณลักษณะด้านภาพทั่วไปที่ได้รับการฝึกอบรมล่วงหน้าให้เป็นคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ จากนั้นจึงคำนวณคะแนนความคล้ายคลึงกันของวัสดุของแต่ละพิกเซลในภาพ ความแม่นยำของการทำนายความคล้ายคลึงนี้อยู่ที่ 92 %

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News




วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

การเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับอินเทอร์เน็ตควอนตัม

telecomm-wavelength-quantum
ภาพจาก  Universitat Innsbruck (Austria)

นักวิจัยจาก University of Innsbruck ของออสเตรียส่งข้อมูลควอนตัมด้วยโหนดทวนสัญญาณควอนตัมที่ทำงานที่ความถี่มาตรฐานของเครือข่ายโทรคมนาคม

โหนดทวนสัญญาณประกอบด้วยไอออนแคลเซียมสองตัวที่อยู่ในกับดักไอออนภายในตัวสะท้อนแสง และแปลงโฟตอนเดียวเป็นความยาวคลื่นโทรคมนาคมมาตรฐาน

นักวิจัยสามารถส่งข้อมูลควอนตัมผ่านใยแก้วนำแสงยาว 50 กิโลเมตร (31 ไมล์) โดยที่ตัวทวนสัญญาณควอนตัมจะอยู่กึ่งกลางระหว่างจุดส่งสัญญาณและจุดรับสัญญาณ

นักวิจัยกล่าวว่าพวกเขาได้คำนวณการปรับปรุงสำหรับการออกแบบที่จำเป็นในการถ่ายโอนข้อมูลในระยะทาง 800 กิโลเมตร (เกือบ 500 ไมล์) แล้ว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Universitat Innsbruck (Austria)

วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

โรงเรียนจากการพิมพ์สามมิติแห่งแรกในยูโรปเป็นรูปเป็นร่างแล้วในยูเครน

3d-printing-school
ภาพจาก Radio Free Europe/Radio Free Liberty (Czech Republic)

กลุ่มเพื่อมนุษยธรรม Team4UA ได้ร่วมกันสร้างโรงเรียนประถมจากการพิมพ์สามมิติ แห่งแรกของยุโรปในเมือง Lviv ทางตะวันตกของยูเครน โดยใช้เทคโนโลยีจาก COBOD International ซึ่งเป็นบริษัทก่อสร้างที่ใช้การพิมพ์ 3 มิติของเดนมาร์ก

โรงเรียนจะรวมส่วนที่พิมพ์ 3 มิติและส่วนที่สร้างด้วยตนเองเข้าด้วยกัน ผู้จัดโครงการกล่าวว่า เป้าหมายหนึ่งคือนำเข้าเครื่องพิมพ์ 3 มิติหลายเครื่อง และรวมเศษซากของอาคารที่ถูกทำลายเข้าด้วยกันให้เป็นส่วนผสมคอนกรีตสำหรับโรงเรียน

พวกเขาหวังว่าโรงเรียนจะกลายเป็นต้นแบบสำหรับการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่คล้ายคลึงกันทั่วยูเครน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการฟื้นฟูครั้งใหญ่ ส่วนที่พิมพ์ 3 มิติของโรงเรียนมีกำหนดแล้วเสร็จในต้นเดือนมิถุนายน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Radio Free Europe/Radio Free Liberty (Czech Republic)