วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565

อัลกอริทึมคัดกรองพันธุกรรมช่วยระบุคนที่มีความเสี่ยงโรคไต

genetic-screening
ภาพจาก  Columbia University Irving Medical Center

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากหลายสถาบันที่นำโดย Columbia University ได้พัฒนาอัลกอริทึมมการตรวจคัดกรองทางพันธุกรรมที่สามารถประเมินความเสี่ยงของบุคคลที่จะเป็นโรคไตได้ อัลกอริทึมวิเคราะห์ตัวแปรต่าง ๆ ของยีน APOL1 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไตที่พบบ่อยในบุคคลที่มีเชื้อสายแอฟริกัน และตัวแปรอื่น ๆ อีกหลายพันชนิดที่มาจากบรรพบุรุษที่มีภูมิหลังแตกต่างกันหมดทุกเชื้อสาย 

นักวิจัยได้ทดสอบอัลกอริธึมกับกลุ่มคน 15 กลุ่ม ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีบรรพบุรุษมาจากยุโรป แอฟริกา เอเชีย และละติน ไม่ว่าจะมาจากบรรพบุรุษแบบไหน คนที่ได้คะแนนสูงสุดมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคไตมากกว่าคนทั่วไปถึงสามเท่า 

Krzysztof Kiryluk แห่ง Columbia กล่าวว่า "ด้วยวิธีการโพลีจีนิก (polygenic) นี้ เราสามารถระบุบุคคลที่มีความเสี่ยงก่อนที่จะเริ่มมีอาการของโรคไตได้เป็นเวลาหลายสิบปี ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงอาจเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อให้มีความระมัดระวังมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงนั้น"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Columbia University Irving Medical Center

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ความมั่นคงที่มากขึ้นสำหรับอุปกรณ์อัจฉริยะ

security-key
ภาพจาก  MIT News

นักวิจัยของ Massachusetts Institute of Technology  ได้สาธิตเทคนิคการรักษาความปลอดภัยสองแบบที่สกัดกั้นการโจมตีด้วยพลังงานและแม่เหล็กไฟฟ้าจากช่องสัญญาณด้าข้าง ที่มุ่งโจมตีตัวแปลงอนาล็อกเป็นดิจิทัล (analog-to-digital converter) หรือ ADC ในอุปกรณ์อัจฉริยะ

หลักการแก้ไขใช้การเพิ่มการสุ่มในการแปลง ADC ซึ่งวิธีที่หนึ่งจะใช้เครื่องกำเนิดตัวเลขสุ่มเพื่อตัดสินใจว่าเมื่อใดที่จะสลับตัวเก็บ ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ของอุปกรณ์จ่ายไฟกับข้อมูลเอาท์พุตมีความซับซ้อน วิธีการดังกล่าวยังช่วยให้ตัวเปรียบเทียบทำงานอย่างต่อเนื่อง ป้องกันไม่ให้แฮกเกอร์ทราบเมื่อขั้นตอนการแปลงแต่ละขั้นตอนเริ่มต้นและสิ้นสุด

วิธีที่สองใช้ตัวเปรียบเทียบสองตัวและอัลกอริธึมเพื่อสุ่มสร้างเกณฑ์ (threshold) สองเกณฑ์แทนที่จะเป็นหนึ่ง ซึ่งสร้างวิธีเป็นล้านวิธีที่ ADC จะสร้างเอาต์พุตดิจิทัลได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ชิป AI ที่ใช้พลังงานต่ำมาก

researchers-ai-chip-ultralow-power
ภาพจาก  IEEE Spectrum

นักวิจัยจาก Indian Institute of Technology, Bombay (IIT Bombay) ประเทศอินเดีย ได้ประกาศเปิดตัวชิปปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ที่มีพลังงานต่ำมาก ซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับโครงข่ายประสาทเทียม Spiking Neural Network (SNN)  ซึ่งจำลองการประมวลผลสัญญาณประสาทของสมอง

นักวิจัยได้พัฒนา SNN ที่ชาร์จตัวเก็บประจุโดยใช้อุโมงค์กระแสไฟแบบแบนด์ต่อแบนด์ (band-to-band-tunneling current) Udayan Ganguly ของ IIT Bombay อธิบายว่า "เมื่อเทียบกับเซลล์ประสาทเทียม อันล้ำสมัยที่ใช้ในโครงข่าย SNN แบบฮาร์ดแวร์ เราประหยัดพลังงานต่ำกว่า 5,000 เท่าต่อหนึ่งสไปก์ (spike) ในพื้นที่คล้าย ๆ กัน และพลังงานที่ใช้ในการสแตนด์บายก็ต่ำกว่า 10 เท่า"

เมื่อนักวิจัยได้นำ SNN ไปใช้กับตัวแบบการรู้จำคำพูด ซึ่งเลียนแบบจากเยื่อหุ้มหูของสมอง ตัวแบบดังกล่าวก็สามารถรู้จำคำพูดได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2565

สกุลเงินคริปโตที่อยู่บนฐานของฟิสิกส์ส่งพลังงานผ่านบล็อกเชน

e-stable-coin
ภาพจาก Lawrence Livermore National Laboratory

นักวิจัยจาก U.S. Department of Energy's Lawrence Livermore National Laboratory (LLNL) ได้พัฒนา E-Stablecoin ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลบนฐานของฟิสิกส์ซึ่งเชื่อมต่อพลังงานไฟฟ้ากับเทคโนโลยีบล็อกเชน 

Maxwell Murialdo และ Jon Belof แห่ง LLNL  กล่าวว่า E-Stablecoin เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับหลักประกันโดยตรงจากปริมาณไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง นั่นคือถ้าใครที่ถือเหรียญนี้หนึ่งเหรียญเท่ากับมีปริมาณไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง ทำให้ E-Stablecoin เป็นโทเค็นดิจิทัลตัวแรกที่มีหลักประกันเป็นสินทรัพย์ทางฟิสิกส์ หรือพูดง่าย ๆ คือในการสร้างเหรียญนี้หนึ่งเหรียญต้องใช้ไฟ 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง และถ้าเหรียญถูกทำลาย (ใช้) ก็จะได้ ปริมาณไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ชั่วโมงกลับมา 

ด้วยวิธีการนี้ E-Stablecoin เป็นเหรียญแบบมูลค่าเสถียร (stable coin) ตัวแรกที่ไม่ต้องใช้คนกลางมาเป็นผู้ตรวจสอบเหมือนเหรียญแบบมูลค่าเสถียรตัวอื่นที่ผูกกับเงินดอลลาร์สหรัฐ E-Stablecoin อาจถูกส่งไปยังที่ห่างไกลที่ไม่มีเครือข่ายไฟฟ้า หรืออาจกล่าวว่ามันเป็นพลังงานที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Belof กล่าวว่า "ด้วยการย้อนกลับทางอุณหพลศาสตร์ (thermodynamic reversibility) - ในขอบเขตของความเข้าใจด้านกลศาสตร์ทางสถิติ (statistical mechanics) สมัยใหม่ เรามองเห็นบล็อกเชนในอนาคตที่ไม่เพียงแต่ฝังรากในทรัพย์สินในชีวิตจริง เช่น การใช้พลังงาน แต่ยังเป็นผู้ดูแลทรัพยากรธรรมชาติที่รับผิดชอบมากขึ้นในด้านสิ่งแวดล้อม

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Lawrence Livermore National Laboratory


วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565

หุ่นยนต์ค้นหากุญแจในกระเป๋าได้ด้วยการฟังในขณะที่มันควานหา

a-key-putting-in-a-bag
ภาพจาก  New Scientist

Maximilian Du แห่ง Stanford University และเพื่อนร่วมงานได้ฝึกแขนหุ่นยนต์ที่ติดตั้งไมโครโฟนไว้เพื่อค้นหาสิ่งของต่างๆ เช่น กุญแจในกระเป๋าถือ โดยฟังเสียงที่มันกระทบกันในขณะค้นหา “โดยพื้นฐานแล้วในสภาพแวดล้อมแบบนั้น เหมือนกับว่าคุณเอื้อมมือลงไป คุณไม่รู้ว่ากุญแจอยู่ที่ไหน แต่แล้วเมื่อคุณได้ยินเสียงของกุญแจ คุณก็จะบอกตำแหน่งมันได้ จากนั้นเมื่อรู้ตำแหน่ง คุณก็จะหยิบมันออกมาได้" Du กล่าว

นักวิจัยฝึกหุ่นยนต์โดยให้คนสาธิตวิธีการการกระทำผ่านชุดหูฟังความจริง และตัวควบคุมความจริงเสมือน (virtual reality) ของ Oculus โดยมีคำแนะนำเพิ่มเติมจากคนเพื่อแก้ไขการทำงานของมัน Olivia Lee จากสแตนฟอร์ดกล่าวว่าวิธีการนี้เพิ่มประสิทธิภาพได้ 20%

อ่านข่าวเต็มได้ที่: New Scientist