วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2564

นักวิจัยพบช่องโหว่ด้านความมั่นคงในแอพที่ใช้คู่กับอุปกรณ์บ้านอัจฉริยะ

Iot-Lab-Florida-Tech
ภาพจาก Florida Institute of Technology

นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีฟลอริดาค้นพบ "ข้อบกพร่องที่ร้ายแรงในการเข้ารหัส" ในแอพของสมาร์ทโฟนที่ใช้กับอุปกรณ์สมาร์ทโฮมยอดนิยม 16 ตัว นักวิจัยทำการโจมตีแบบ "man-in-the-middle"" บนอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ( Internet of Things) หรือ IoT 20 เครื่อง และพบว่าผู้จำหน่ายอุปกรณ์ 16 รายไม่ได้ดำเนินมาตรการด้านความมั่นคงเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โจมตีดักจับการสื่อสารของอุปกรณ์ IoT อุปกรณ์ที่ได้รับผลกระทบส่วนหนึ่งได้แก่ Amazon Echo, Blink camera, Google Home camera, Hue lights, Lockly lock, Momentum camera, Nest camera, NightOwl doorbell, Roku TV, Schlage lock, Sifely lock, SimpliSafe alarm, SmartThings lock, UltraLoq lock, และ Wyze camera นักวิจัยพบว่าอุปกรณ์ของ Arlo, Geeni, TP-Link และ Ring ไม่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีนี้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Florida Institute of Technology

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564

NASA ส่งหุ่นยนต์ไปศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอาร์คติก

Saildrone
ภาพจาก NASA

สำนักงานบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ NASA ได้ส่งหุ่นยนต์สองตัวไปยังอาร์กติกในตอนต้นเดือนกรกฎาคมเพื่อรวบรวมข้อมูลอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเล และสามารถประมาณอุณหภูมิมหาสมุทรได้ดีขึ้นได้จากที่นั่น นักวิจัยของ NASA ร่วมมือกับ Saildrone ผู้ผลิตยานยนต์พื้นผิวไร้คนขับ (unmanned surface vehicle ) หรือ USV โดยหวังว่าจะใช้ข้อมูลที่รวบรวมโดยหุ่นยนต์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคนั้น เซ็นเซอร์แรงลมและพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ในการขับเคลื่อน Saildrone USV อัตโนมัติ ซึ่งบังคับทิศทางจากระยะไกลได้หลายร้อยไมล์ ยานพาหนะสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลดาวเทียม ซึ่งอาจนำไปใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงอัลกอริธึมที่จำลองการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ NASA Arctic Cruise 2021 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Multi-Sensor Improved Sea Surface Temperature (MISST) ซึ่งเป็นโครงการระดับนานาชาติ และความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อเพิ่มการวิจัยและการพยากรณ์อากาศและสภาพภูมิอากาศ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NASA


วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564

แผ่นแปะที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติให้วัคซีนได้โดยไม่ต้องฉีด

3d-vaccine-patch
ภาพจาก University of North Carolina at Chapel Hill

นักวิทยาศาสตร์จาก  Stanford University และ University of North Carolina at Chapel Hill (UNC) ได้ออกแบบแผ่นแปะ (patch) วัคซีนที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติ ซึ่งให้การป้องกันมากกว่าการฉีดวัคซีนที่แขนโดยทั่วไป แผ่นแปะพอลิเมอร์ที่มีเม็ดเข็มขนาดไมโครถูกนำไปใช้แปะผิวหนังโดยตรง ส่งผลให้การตอบสนองของภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น 10 เท่า และการตอบสนองของ T-cell และแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนเพิ่มขึ้น 50 เท่าเมื่อเทียบกับการฉีดปกติ Shaomin Tian แห่ง UNC กล่าวว่าเข็มขนาดไมโครนั้นถูกพิมพ์แบบ 3 มิติ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการออกแบบแผ่นแปะโดยเฉพาะสำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ โรคหัด ไวรัสตับอักเสบ หรือ COVID-19 Joseph M. DeSimone ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ กล่าวว่า "ในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ เราหวังว่าจะวางรากฐานสำหรับการพัฒนาวัคซีนทั่วโลกอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ใช้โดสที่น้อยลง และปราศจากความเจ็บปวดและความวิตกกังวล"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of North Carolina at Chapel Hill


วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564

เทคนิคการเข้ารหัสช่วยปกป้องรูปภาพบนคลาวด์

Cloud-encryption
ภาพจาก Scientific American

เครื่องมือ Easy Secure Photos (ESP) ที่สร้างขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ของ Columbia University สามารถเข้ารหัสภาพถ่ายที่จัดเก็บบนคลาวด์ได้ ในขณะที่ยังคงอนุญาตให้ผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตสามารถเรียกดูและแสดงภาพของพวกเขาได้ ESP จะสร้างบล็อกของพิกเซลไว้โดยเลื่อนพวกมันไปรอบ ๆ เพื่อปิดบังภาพ โดยจะแบ่งรูปภาพออกเป็นสามไฟล์แยกกันเพื่อให้มีข้อมูลสีแดง สีเขียว หรือสีน้ำเงิน จากนั้นจึงใส่บล็อกพิกเซลรบกวนรอบ ๆ ไฟล์เหล่านั้น ไฟล์ยังคงถุกต้อง แต่จะปรากฏเป็นภาพนิ่งขาวดำแบบเม็ดเล็กสำหรับผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาต ไฟล์ยังคงสามารถบีบอัดและเข้ากันได้กับแพลตฟอร์มเก็บข้อมูลบนคลาวด์จำนวนมาก ดังนั้นผู้ใช้ที่มีคีย์การถอดรหัสที่ถูกต้องจะสามารถดูรูปต้นฉบับได้ ผู้ใช้ยังสามารถเข้าถึงภาพถ่ายจากอุปกรณ์หลายเครื่องผ่าน ESP โดยใช้ระบบที่อุปกรณ์แต่ละเครื่องมีคู่คีย์ที่ไม่ซ้ำกัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Scientific American

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564

สองรัฐใหญ่สุดในออสเตรเลียทดลองซอฟต์แวร์รู้จำใบหน้า

Australia-Polices
ภาพจาก Reuters

รัฐ New South Wales (NSW)  และ Victoria ในออสเตรเลีย กำลังทดสอบระบบรู้จำใบหน้าเพื่อให้ตำรวจตรวจสอบว่าผู้คนอยู่บ้านในช่วงล็อกดาวน์หรือไม่ Genvis ซึ่งเป็นผู้ผลิตซอฟต์แวร์ได้พัฒนาเทคโนโลยีนี้เมื่อปีที่แล้วร่วมกับตำรวจรัฐ Western Australia เพื่อช่วยบังคับใช้ข้อจำกัดการเคลื่อนไหวในช่วงการระบาด ระบบจะให้คนตอบรับคำขอเช็คอินแบบสุ่มโดยถ่ายรูป "เซลฟี่" ซึ่งหากซอฟต์แวร์ตรวจแล้วไม่ตรงกับ "ลายเซ็นใบหน้า" อาจทำให้ตำรวจมาตรวจสอบที่บ้านได้ การทดสอบเทคโนโลยีที่คล้ายคลึงกันเมื่อเดือนที่แล้วในรัฐSouth Australia ได้กระตุ้นให้เกิดความโกรธเคืองจากผู้สนับสนุนความเป็นส่วนตัว เกี่ยวกับการสอดแนมที่มากเกินไป Edward Santow จาก University of Technology, Sydney กล่าวว่า "เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าอาจดูเหมือนเป็นวิธีที่สะดวกในการตรวจสอบผู้คนที่ถูกกักกัน แต่...หากมีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้นกับเทคโนโลยีนี้ จะมีความเสี่ยงที่่สูง"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters