วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2564

การปล่อยมลพิษจากการทำงานของคอมพิวเตอร์และ ICT อาจเลวร้ายกว่าที่คิด

data-center
ภาพจาก Lancaster University (U.K.)

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communication technology) หรือ ICT ทั่วโลก  อาจเลวร้ายกว่าที่คำนวณไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นคำแนะนำจากนักวิจัยจาก Lancaster University แห่งสหราชอาณาจักรและ Small World Consulting ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืน (sustainability)   ทีมงานกล่าวว่าการประมาณการก่อนหน้านี้ที่บอกว่า ICT มีส่วนในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกที่ 1.8% ถึง 2.8% มีแนวโน้มที่จะมองในแง่อนุรักษ์นิยมเกินไป เนื่องจากไม่ได้คำนึงถึงวงจรชีวิตที่สมบูรณ์และห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์และโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT นักวิจัยให้ความเห็นว่าว่าปริมาณ 2.1% ถึง 3.9% ของการปล่อยก๊าซน่าจะใกล้เคียงกว่าแม้ว่าอาจจะยังมีความไม่แน่นอนอยู่ในการคำนวณนี้ ทีมงานยังเตือนด้วยว่าแนวโน้มด้านการประมวลผลและไอซีทีแบบใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และบล็อคเชนและสกุลเงินดิจิทัล  สามารถเพิ่มการปล่อยมลพิษทางไอซีทีเพิ่มได้อีก

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Lancaster University (U.K.)

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564

ศิลปะและความน่ากลัวแสดงศักยภาพที่เวนิซ

VR-Playing
ภาพจาก France24

เทศกาลภาพยนตร์เวนิซฉายแสงไปที่ความเป็นจริงเสมือน (VR) ด้วยโปรเจ็กต์ภาพยนตร์ที่ช่วยให้ผู้ชมสามารถรับรู้ได้โดยไม่ต้องสัมผัสกับวัตถุ รวมถึงการที่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของอวาตาร์ (avatar) และดำดิ่งสู่โลกการโต้ตอบอย่างเต็มที่ โปรเจ็กต์เหล่านี้รวมถึง "โกลิอัท" ซึ่งแสดงภาพชายทีรับถ่ายทอดโรคจิตเภทมาจากบรรพบุรุษ ด้วยเอฟเฟกต์ภาพและประสบการณ์เชิงโต้ตอบ Michel Reilhac ของเทศกาลกล่าวว่า "เทคโนโลยีได้มาถึงจุดที่ผู้ผลิตไม่ได้ปลื้มในแง่เทคโนโลยีอีกต่อไปแล้ว ... แต่มันสามารถเรียกตัวเองว่ารูปแบบศิลปะที่เต็มเปี่ยม" Reilhac ให้ความสำคัญกับการพัฒนาในนด้านนี้อย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในด้าน "โซเชียล VR" เช่น เกมดิจิทัล Reilhac กล่าวว่า "มันจะกลายเป็นที่แพร่หลายเมื่อชุดหูฟังอยู่ในรูปแบบของแว่นตา"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: France24


วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2564

เทคโนโลยีนี้สามารถทำนายโรคอัลไซเมอร์ขั้นต้นได้แม่นยำเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

brain-images
ภาพจาก EuroNews

วิธีการวิเคราะห์ภาพสมองที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก Kaunas University of Technology (KTU) ในลิทัวเนีย มีความแม่นยำกว่า 99% ในการทำนายความน่าจะเป็นของการเริ่มมีอาการของโรคอัลไซเมอร์  วิธีการนี้ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI และการเรียนรู้เชิงลึกเพื่อวิเคราะห์ภาพ MRI ที่ใช้งานได้จาก 138 ตัวอย่าง นักวิจัยระบุว่าเทคนิคของพวกเขาทำงานได้ดีกว่าวิธีการแบบเดิมในแง่ของความแม่นยำ ความไว และความจำเพาะเจาะจง  Rytis Maskeliunas จาก KTU กล่าวว่า "เห็นได้ชัดว่าตัวเลขที่สูงเช่นนี้ไม่ใช่ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพที่จะใช้ได้ในชีวิตจริง แต่เรากำลังทำงานร่วมกับสถาบันทางการแพทย์เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติม"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: EuroNews


วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564

นักวิจัยของ AWS ใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัม 2 เครื่องช่วยกันทำให้คีย์การเข้ารหัสแข็งแกร่งขึ้น

computer
ภาพจาก ZDNet

Mario Berta ของ Amazon Web Services หรือ AWS ได้รวมเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์ควอนตัมสองเครื่องเข้าด้วยกันเพื่อสร้างตัวเลขสุ่มอย่างแท้จริง เพื่อให้คีย์ที่ใช้การเข้ารหัสมีความแข็งแรงขึ้น Berta ใช้โปรเซสเซอร์ควอนตัมจาก Rigetti และ IonQ เพื่อใช้ประโยชน์จากสถานะของการซ้อนทับของอนุภาคควอนตัม และปรากฏการณ์ที่จำนวนบิตควอนตัมที่เท่ากันสามารถให้สตริงของบิตที่มีค่าสุ่มเท่ากัน โปรเซสเซอร์ทั้งสองสร้างสตริงบิตอิสระสองสตริงที่จะถูกประมวลผลโดยอัลกอริธึม Randomness Extractor (RE) เพื่อรวมบิตที่สุ่มขึ้นมาแบบอ่อนแอจากหลาย ๆ แหล่ง ให้เป็นสตริงสุ่มหนึงตัวที่เกือบสมบูรณ์แบบ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564

ระบบที่เป็นสากลถอดรหัสประเภทอะไรก็ได้ที่ถูกส่งผ่านเครือข่าย

MIT-GRAND
ภาพจาก MIT News

นักวิทยาศาสตร์จาก Massachusetts Institute of Technology (MIT), Boston University, และ Maynooth University ของไอร์แลนด์ ได้ตั้งพัฒนาอัลกอริธึมสากลเพื่อให้ชิปซิลิกอนสามารถถอดรหัสข้อมูลที่ส่งผ่านเครือข่ายได้ โดยไม่ต้องสนใจว่าโครงสร้างเป็นอย่างไร อัลกอริธึม Guessing Random Additive Noise Decoding (GRAND) ขจัดความต้องการตัวถอดรหัสที่ต้องใช้การคำนวณที่ซับซ้อนหลาย ๆ ครั้ง GRAND เดาสัญญาณรบกวน หรือพลังงานที่ส่งผลต่อข้อมูลที่เข้ารหัสระหว่างทาง และใช้รูปแบบนี้ในการอนุมานข้อมูลต้นฉบับ อัลกอริธึมจะสร้างลำดับสัญญาณรบกวนในลำดับที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น กำจัดมันออกจากข้อมูลที่ได้รับ และยืนยันว่ารหัสที่เป็นผลลัพธ์นั้นอยู่ในสมุดรหัส (codebook)  นักวิจัยกล่าวว่าชิป GRAND สามารถถอดรหัสซ้ำซ้อน (redundancy code) ระดับปานกลางใด ๆ ที่มีความยาวสูงสุด 128 บิต โดยใช้เวลาประมาณ 1 ไมโครวินาที

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News