วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2564

ระบบที่เป็นสากลถอดรหัสประเภทอะไรก็ได้ที่ถูกส่งผ่านเครือข่าย

MIT-GRAND
ภาพจาก MIT News

นักวิทยาศาสตร์จาก Massachusetts Institute of Technology (MIT), Boston University, และ Maynooth University ของไอร์แลนด์ ได้ตั้งพัฒนาอัลกอริธึมสากลเพื่อให้ชิปซิลิกอนสามารถถอดรหัสข้อมูลที่ส่งผ่านเครือข่ายได้ โดยไม่ต้องสนใจว่าโครงสร้างเป็นอย่างไร อัลกอริธึม Guessing Random Additive Noise Decoding (GRAND) ขจัดความต้องการตัวถอดรหัสที่ต้องใช้การคำนวณที่ซับซ้อนหลาย ๆ ครั้ง GRAND เดาสัญญาณรบกวน หรือพลังงานที่ส่งผลต่อข้อมูลที่เข้ารหัสระหว่างทาง และใช้รูปแบบนี้ในการอนุมานข้อมูลต้นฉบับ อัลกอริธึมจะสร้างลำดับสัญญาณรบกวนในลำดับที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น กำจัดมันออกจากข้อมูลที่ได้รับ และยืนยันว่ารหัสที่เป็นผลลัพธ์นั้นอยู่ในสมุดรหัส (codebook)  นักวิจัยกล่าวว่าชิป GRAND สามารถถอดรหัสซ้ำซ้อน (redundancy code) ระดับปานกลางใด ๆ ที่มีความยาวสูงสุด 128 บิต โดยใช้เวลาประมาณ 1 ไมโครวินาที

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News



วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2564

PHP ยังคงรักษาความเป็นผู้นำอย่างยิ่งใหญ่ในภาษาการเขียนโปรแกรมฝั่งเซิร์ฟเวอร์

w3tech-charts
ภาพจาก Ars Technica

รายงานจากแพลตฟอร์มสารสนเทศเทคโนโลยีเว็บ W3Techs พบว่า PHP ยังคงเป็นผู้นำภาษาฝั่งเซิร์ฟเวอร์ชั้นนำที่มีการใช้งานอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน แบบสำรวจเว็บเซิร์ฟเวอร์ของ W3Techs ทบทวนเทคโนโลยีที่ใช้บนเว็บไซต์ในรายชื่อ 10 ล้านอันดับแรกของ Alexa และรวมแผนภูมิปีต่อปีที่เริ่มในเดือนมกราคม 2010 PHP มีส่วนแบ่ง 78.9% ณ วันที่ 13 กันยายน เพิ่มขึ้นจาก 72.5% ในปี 2010 ภาษาอื่นที่แสดงการขยายตัวอย่างมีนัยสำคัญคือ Ruby โดยมีส่วนแบ่ง 5.2% ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่าไม่มีผู้ท้าชิงที่ชัดเจนสำหรับ PHP โดยที่ การลดลงของ ASP.NET ไม่สามารถเพิ่มจำนวนการใช้ PHP หรือภาษาอื่น ๆ ได้อย่างมีนัยสำคัญ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica


วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2564

Raspberry Pi มุ่งหน้าสู่อวกาศด้วยการท้าทายการเขียนโปรแกรมภาษา Python

raspberry-pi-to-space
ภาพจาก ZDNet

คอมพิวเตอร์ Raspberry Pi ที่อัปเกรดแล้วจะกลับไปที่สถานีอวกาศนานาชาติ ( International Space Station) หรือ ISS เพื่อใช้ในสิ่งที่หน่วยงานอวกาศยุโรป (European Space Agency) หรือ ESA เรียกว่าความท้าทาย  Mission Zero และ Mission Space Lab โดย Mission Zero เชิญผู้เขียนโค้ดให้เขียนอัลกอริธึม Python เพื่ออ่านค่าความชื้นบน ISS เพื่อแสดงต่อนักบินอวกาศโดยใช้ข้อความส่วนตัว ESA กล่าวว่า Mission Space Lab ท้าทายทีมเยาวชน "ในการออกแบบและเขียนโปรแกรมสำหรับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยเพิ่มความเข้าใจของเราเกี่ยวกับชีวิตบนโลกหรือชีวิตในอวกาศ" Astro Pi ใหม่ คือ Raspberry Pi 4 Model B ที่มีหน่วยความจำ 8 GB, กล้อง, เครื่องเร่งการเรียนรู้ของเครื่อง, เซ็นเซอร์, ไจโรสโคป (gyroscope), มาตรความเร่ง (accelerometer), เครื่องวัดความเข้มข้นของสนามแม่เหล็ก (magnetometer)  และเมทริกซ์ไดโอดเปล่งแสง ( a light-emitting diode matrix) สำหรับการตอบกลับด้วยภาพ ESA กล่าวว่าตัวเร่งความเร็วจะช่วยให้ทีมต่างๆ "สามารถพัฒนาตัวแบบการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) ที่มีการประมวลที่มีความเร็วสูง และเป็นแบบเรียลไทม์ (real-time) ได้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  ZDNet

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2564

ศาลตัดสินว่าคนเท่านั้นที่จดสิทธิบัตรในสหรัฐได้ไม่ใช่เครื่อง AI

AI-robot
Photo by Possessed Photography on Unsplash

ผู้พิพากษาของศาลเขตของสหรัฐอเมริกา Leonie Brinkema ในเมืองอเล็กซานเดรีย รัฐเวอร์จิเนีย ได้ตัดสินว่ามีเพียงมนุษย์จริงๆ เท่านั้นที่สามารถถูกระบุว่าเป็นผู้ประดิษฐ์สิทธิบัตรภายใต้กฎหมายของสหรัฐอเมริกา ในขณะที่คอมพิวเตอร์ที่ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ไม่สามารถทำได้ Brinkema ตัดสินว่าภายใต้กฎหมายของรัฐบาลกลาง "บุคคล" ซึ่งถูกนิยามว่าเป็นบุคคลธรรมดาจะต้องสาบานว่าพวกเขาเป็นผู้ประดิษฐ์ในการขอรับสิทธิบัตร คดีนี้เกี่ยวข้องกับโครงการประดิษฐ์ประดิษฐ์ที่ University of Surrey แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งได้ดำเนินการด้วยความพยายามระดับโลกเพื่อให้มีคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่าเป็นนักประดิษฐ์ ศาลในแอฟริกาใต้และออสเตรเลียได้ตัดสินด้วยความที่ชอบโครงการนี้ Ryan Abbott แห่ง University of Surrey กล่าวว่าจะอุทธรณ์คำตัดสินของศาลสหรัฐฯ รวมถึงคำตัดสินในสหราชอาณาจักรและยุโรปด้วย Abbott กล่าวว่า "เราเชื่อว่าการระบุ AI ในฐานะนักประดิษฐ์นั้นสอดคล้องกับทั้งภาษาและวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติสิทธิบัตร"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Bloomberg

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2564

แพลตฟอร์มการวินิจฉัยโรคแบบเคลื่อนย้ายได้ "Lab-on-a-chip" สามารถทดสอบโควิด-19 ให้หลายสิบคนได้อย่างรวดเร็ว

virus-molecule
ภาพจาก UT News

ต้นแบบแพลตฟอร์มการวินิจฉัยโรคแบบเคลื่อนย้ายได้ที่สร้างโดยวิศวกรของ University of Texas at Austin (UTA) และ Omega Optics ซึ่งเป็นบริษัทที่แตกตัวออกมา สามารถช่วยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงโรคอื่นๆ ที่ยากต่อการตรวจพบ นักวิจัยกล่าวว่าแพลตฟอร์ม "lab-on-a-chip" สามารถตรวจจับความเข้มข้นของไวรัสที่มีเพียงเล็กน้อยจากตัวตัวอย่างได้ และสามารถทดสอบผู้ป่วยหลายสิบหรือหลายร้อยคนได้เร็วกว่า และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเทคนิคปัจจุบัน ระบบนี้มีราคาไม่แพงในการผลิต และการพึ่งพาชิปซิลิกอนทำให้สามารถปรับขยายได้ง่าย Ray Chen แห่ง UTA กล่าวว่า "แทนที่จะต้องพาคนไปโรงพยาบาล ซึ่งไม่สามารถทำได้เสมอไปในพื้นที่ห่างไกล เราสามารถนำโรงพยาบาลไปหาผู้คนได้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: UT News