วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2564

รัสเซียตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อทดสอบด้านความปลอดภัย

Moscow
Photo by Alex Zarubi on Unsplash

มีรายงานว่ารัสเซียได้ยกเลิกการเชื่อมต่อจากอินเทอร์เน็ตโลกในระหว่างการทดสอบในเดือนมิถุนายนและกรกฎาคม ตามรายงานของ RBC รายวันที่อ้างถึงเอกสารจากคณะทำงานที่รับผิดชอบในการเสริมสร้างความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตของรัสเซียภายใต้กฎหมาย "ราชันอินเทอร์เน็ต (sovereign Internet)" ปี 2019 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันไม่ให้รัสเซียถูกตัดขาดจากโครงสร้างพื้นฐานของต่างประเทศ แหล่งข่าวของคณะทำงานกล่าวว่าจุดประสงค์ของการทดสอบคือ "เพื่อกำหนดความสามารถของ 'RUNET' ในการทำงานในกรณีที่เกิดการบิดเบือน บล็อก และภัยคุกคามอื่นๆ จากภายนอก" Karen Kazaryan แห่งสถาบันวิจัยอินเทอร์เน็ตกล่าวว่า "ด้วยความลับอันเป็นเรื่องปกติของกระบวนการ และการขาดเอกสารสาธารณะที่เผยแพร่ในเรื่องนี้ จึงยากที่จะบอกว่าเกิดอะไรขึ้นในการทดสอบเหล่านี้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2564

โหมดมืดไม่ได้ช่วยประหยัดแบตเตอรีมากนัก

phone-dark-mode
ภาพจาก Tech Explorist

นักวิจัยจาก Purdue University  พบในการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าการใช้สมาร์ทโฟนในโหมดมืด (dark mode) ไม่น่าจะช่วยประหยัดแบตเตอรี่ได้มากนัก นักวิจัยได้สร้างเครื่องมือเพื่อวัดได้แม่นยำยิ่งขึ้นว่าแต่ละพิกเซลของโทรศัพท์ใช้พลังงานมากแค่ไหน และตรวจสอบแอปพลิเคชันของโทรศัพท์ Android ที่ถูกดาวน์โหลดมากที่สุด 6 แอปจาก Google Play จากนั้นพวกเขาวิเคราะห์ผลกระทบของโหมดมืดใน 60 วินาทีของกิจกรรมภายในแต่ละแอพบนโทรศัพท์ Pixel 2, Moto Z3, Pixel 4 และ Pixel 5 เทคโนโลยี Per-Frame OLED Power Profiler ของนักวิจัยแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนจากโหมดสว่างเป็นโหมดมืดช่วยประหยัดพลังงานโดยเฉลี่ย เพียง 3% ถึง 9% สำหรับรุ่นที่มีหน้าจอ OLED 

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  Tech Explorist

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2564

อัลกอริธึมบินโดรนได้เร็วกว่านักบินที่เป็นคน

drone-smoke
ภาพจาก University of Zurich (Switzerland)

โดรนแบบควอดโรเตอร์ที่บินอัตโนมัติชนะโดรนที่บังคับด้วยคนเป็นครั้งแรก โดยใช้อัลกอริธึมใหม่ที่ออกแบบโดยนักวิจัยจาก University of Zurich (UZH) ในสวิตเซอร์แลนด์ อัลกอริธึมจะคำนวณเส้นทางบินที่เร็วที่สุดและนำทางผ่านชุดของจุดอ้างอิง (waypoint) บนวงจร Davide Scaramuzza แห่ง UZH กล่าวว่าอัลกอริธึม "เป็นสิ่งแรกที่สร้างวิถีเวลาที่เหมาะสมที่สุดโดยพิจารณาข้อจำกัดของโดรนอย่างเต็มที่" เขากล่าวว่าอัลกอริธึมช่วยให้โดรนอัตโนมัติเอาชนะนักบินมนุษย์ระดับโลกสองคนบนเส้นทางทดลอง ในระหว่างการแข่งขัน กล้องภายนอกจะจับการเคลื่อนไหวของโดรน และส่งข้อมูลตามเวลาจริงไปบอกอัลกอริธึมว่าโดรนอัตโนมัติอยู่ที่ใดในตอนนั้น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Zurich (Switzerland)

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2564

หัวใจเทียมเต็มรูปแบบถูกปลูกถ่ายแล้วในอเมริกา

artificial-heart
ภาพจาก Duke Medical School

ศัลยแพทย์จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย Duke ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายหัวใจเทียมเต็มรูปแบบ (total artificial heart) หรือ TAH ที่พัฒนาโดย CARMAT ของฝรั่งเศสให้กับผู้ป่วยอายุ 39 ปีที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวกะทันหัน TAH มีรูปร่างและฟังก์ชันการทำงานเหมือนหัวใจมนุษย์ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยต้องพกกระเป๋าหนักเกือบเก้าปอนด์ ที่มีตัวควบคุมและแบตเตอรีที่ชาร์จได้สองก้อน TAH ได้รับการอนุมัติเบื้องต้นให้ทดสอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา และได้รับการอนุมัติให้ใช้ในยุโรปสำหรับผู้ป่วยที่คาดว่าจะได้รับการปลูกถ่ายหัวใจภายใน 180 วัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Interesting Engineering

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ฐานข้อมูลสาธารณะของโครงสร้างโปรตีนที่ทำนายโดย AI อาจเปลี่ยนโฉมของชีววิทยา

fruit-fly-proteine
ภาพสามมิติของโปรตีนของแมลงวันผลไม้ ภาพจาก Science

ทีมนักวิจัยกล่าวว่าได้ใช้อัลกอริธึมปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI แบบใหม่เพื่อคาดการณ์โครงสร้างสามมิติของโปรตีน 350,000 ตัวจากมนุษย์ และตัวแบบสิ่งมีชีวิต 20 ชนิด ทีมงานนักพัฒนา AI ในสหราชอาณาจักรจาก DeepMind (ซึ่ง Alphabet ที่เป็นบริษัทแม่ของ Google เป็นเจ้าของ)  ได้พัฒนาตัวแบบคอมพิวเตอร์ AlphaFold ซึ่งสร้างโครงสร้างเกือบ 44% ของโปรตีนมนุษย์ ครอบคลุมเกือบ 60% ของกรดอะมิโนที่ถูกเข้ารหัสโดยจีโนมของมนุษย์ นักวิจัยจาก European Molecular Biology Laboratory (EMBL) ในเยอรมนีได้รวบรวมฐานข้อมูลการทำนายโปรตีนใหม่ของ DeepMind โดยเปิดเป็นสาธารณะและให้ใช้งานฟรีซึ่งน่าจะช่วยให้นักชีววิทยาสามารถบอกได้ว่าโปรตีนหลายพันชนิดที่ยังไม่รู้จักทำงานอย่างไร Edith Heard แห่ง EMBL กล่าวว่า "เราเชื่อว่าสิ่งนี้จะเปลี่ยนแปลงวิธีทำความเข้าใจว่าชีวิตทำงานอย่างไร"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Science