วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2564

อยากนัดฉีดวัคซีน (ในอเมริกา) ไหม ถ้ารู้จักนักเขียนโปรแกรมภาษา python ช่วยได้

Anjali Nair / NBC News; Getty Images

ชุมชนออนไลน์ของนักเขียนโปรแกรมได้ช่วยให้ครอบครัวและเพื่อน ๆ ได้เปรียบในการแย่งกันนัดหมายฉีดวัคซีน นักเขียนโปรแกรมเหล่านี้เขียนสคริปต์ง่าย ๆ เพื่อขูด (scrape) ข้อมูลหน้าเว็บไซต์ของรัฐหรือของร้านขายยาในทุก ๆ หนึ่งหรือสองวินาทีเพื่อดูว่าเปิดให้นัดหรือยัง จากนั้นส่งข้อความไปเพื่อจองฉีดวัคซีนเมื่อพบว่าเปิดให้นัดแล้ว (ประเด็นคือถ้าไม่ใช้สคริปต์นี้ คนที่ต้องการจองจะต้องคอยรีเฟรชหน้าเว็บไซต์เอง: ผู้สรุป)  มีการอัปโหลดสคริปต์เหล่านี้เป็นโหล ๆ บน GitHub บางคนตั้งคำถามว่ากิจกรรมนี้ผิดจริยธรรมหรือผิดกฎหมายหรือไม่ ทนายความในบรูคลินนิวยอร์ก Tor Ekeland กล่าวว่า "การขูดข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งไม่ได้ใช้โปรโตคอลการตรวจสอบสิทธิ์ใด ๆ เช่นชื่อผู้ใช้หรือรหัสผ่านเป็นเรื่องที่ทำได้ เป็นที่รับรู้กันอยู่แล้วว่าการขูดข้อมูลเป็นองค์ประกอบขนาดใหญ่ของเศรษฐกิจและชีวิตของเรา เราใช้มันเพื่อให้ได้ข้อมูลราคา ข่าว และการสื่อสารในเครือข่ายสังคมของเรา" 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NBC News

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2564

ภาษาการเขียนโปรแกรมแปลงกฎหมายเป็นโค้ดคอมพิวเตอร์ที่ 'พิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง'

Credit: Sergii Gnatiuk/Shutterstock

ความพยายามร่วมกันของนักวิจัยจาก National Institute for Research in Digital Science and Technology  (Inria) ของฝรั่งเศส และ Microsoft Research ทำให้เกิด Catala ซึ่งเป็นภาษาเขียนโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อเก็บ และดำเนินการตามอัลกอริทึมทางกฎหมาย ผู้สร้างกล่าวว่า Catala แปลกฎหมายเป็นรหัสคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้อย่างโปร่งใส ซึ่งสิ่งนี้น่าจะส่งเสริมความไว้วางใจของสาธารณต่อระบบ ที่บางครั้งถูกปกปิดและเกี่ยวข้องกับโค้ดที่คลุมเครือและถูกปรับแต่งหลายบรรทัด  Denis Merigoux จาก  Inria และเพื่อนร่วมงานของเขากล่าวว่า มันสามารถเอาชนะปัญหาหลัก ๆ ที่เกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างชุมชนด้านกฎหมายและชุมชนการเขียนโปรแกรม

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Discover

เพิ่มเติมเสริมข่าว: ใครที่อยากดูว่าโค้ดภาษาโปรแกรมหน้าตาเป็นยังไง ดูได้จาก GitHub นี้ ครับ ถ้าใช้ได้จริง นำมาใช้กับกฎหมายไทย ไม่รู้จะกำจัดพวกเนติบริกรไปได้บ้างหรือเปล่า




วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564

อัลตร้าซาวด์อ่านสมองลิงเปิดเส้นทางสู่การควบคุมเครื่องจักรด้วยความคิด

ภาพจาก Science

นักวิจัยจาก California Institute of Technology ได้พัฒนาวิธีการทำนายการเคลื่อนไหวของตาหรือมือของลิงโดยใช้การถ่ายภาพอัลตราซาวนด์ การค้นพบนี้สามารถช่วยให้ผู้ที่เป็นอัมพาตสามารถควบคุมขาเทียมได้โดยไม่ต้องมีการปลูกถ่ายในสมอง (แต่เทคนิคนี้ยังคงต้องผ่ากะโหลกศีรษะชิ้นเล็ก ๆ ออกบ้าง) เนื่องจากอัลตราซาวนด์ให้สัญญาณได้แรงน้อยกว่าอิเล็กโทรดที่ฝังไว้ นักวิจัยจึงทดสอบว่าสัญญาณดังกล่าวให้ข้อมูลที่เพียงพอสำหรับคอมพิวเตอร์ในการตีความการเคลื่อนไหวที่ตั้งใจไว้หรือไม่ โดยการใส่เครื่องแปลงสัญญาณอัลตราซาวนด์เข้าไปในกะโหลกของลิงสองตัว นักวิจัยพบว่าอัลกอริทึมมีความแม่นยำในการทำนายการเคลื่อนไหวของตาลิงอยู่ที่ 78%  และ 89% ในการทำนายการเหยียดแขน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Science

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564

เทคโนโลยีจะสร้างงานมากมายปัญหาอยู่ที่จะหาคนที่มาทำงานได้หรือไม่

image: Getty Images/iStockphoto

การวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจโดย Boston Consulting Group (BCG) ระบุว่าเทคโนโลยีใหม่จะสร้างงานหลายสิบล้านตำแหน่งภายในปี 2030 แต่ไม่น่าจะชดเชยการสูญเสียงานจากระบบอัตโนมัติในช่วงเวลาเดียวกันได้ ตัวแบบของการเปลี่ยนแปลงที่คาดหมายของอุปสงค์และอุปทานด้านแรงงานในเยอรมนี ออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา คาดการณ์ว่าการสูญเสียงานในทศวรรษหน้าจะถูกจับคู่กับการสร้างงานที่ใหญ่กว่าเดิม Miguel Carrasco จาก BCG กล่าวว่า "มันเป็นไปไม่ได้ที่จะคาดหวังการแทนที่ที่สมบูรณ์แบบ - แรงงานส่วนเกินไม่สามารถนำไปใช้เพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ ๆ หรือที่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้ทั้งหมด" อาชีพที่ประสบปัญหาการขาดแคลนมากที่สุด ได้แก่ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ BCG แนะนำให้ยกระดับทักษะ และให้การฝึกอบรมใหม่กับพนักงาน เพื่อให้แน่ใจว่าสามารถตอบสนองความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถได้อย่างทันท่วงที

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet

วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2564

ระบบตรวจจับข้อผิดพลาดสำหรับคนไข้ที่รักษาตัวเอง

ภาพจาก MIT News

นักวิจัยของ Massachusetts Institute of Technology (MIT) ได้พัฒนาระบบเพื่อตรวจจับและลดข้อผิดพลาดเมื่อผู้ป่วยใช้ยาด้วยตนเอง โซลูชันนี้รวมการตรวจจับแบบไร้สายเข้ากับปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อตรวจสอบว่าผู้ป่วยใช้ปากกาฉีดอินซูลิน หรือเครื่องช่วยหายใจเมื่อใด และบ่งชี้ข้อผิดพลาดที่สำคัญที่เกิดขึ้น จากการที่คนไข้รักษาตนเอง เซ็นเซอร์ติดตามการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยภายในรัศมี 10 เมตร (32 ฟุต) จากอุปกรณ์ทางการแพทย์ผ่านคลื่นวิทยุ จากนั้น AI จะตีความคลื่นที่สะท้อนกลับ เพื่อดูท่าทางของผู้ป่วยที่ใช้ยาสูดพ่นหรือปากกาฉีดอินซูลินด้วยตนเอง ขั้นตอนสุดท้ายคือการแจ้งเตือนผู้ป่วย หรือผู้ให้บริการด้านการแพทย์เมื่อตรวจพบข้อผิดพลาด Mingmin Zhao จาก MIT กล่าวว่า“ เราไม่เพียงสามารถดูได้ว่าผู้ป่วยใช้อุปกรณ์บ่อยเพียงใด แต่ยังประเมินวิธีการใช้งานของเขา เพื่อดูว่าพวกเขาทำได้ดีแค่ไหน”

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News