วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2563
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ Windows ตกเป็นเป้าหมายของมัลแวร์ 83% ใน Q1
วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2563
Apple และ Google ขยายความสามารถของซอฟต์แวร์เตือนโคโรนาไวรัส
Apple และ Google ประกาศการขยายความสามารถของโปรแกรมเตือนโคโรนาไวรัส เพื่อให้หน่วยงานสาธารณสุขของรัฐ (ในสหรัฐ) นำไปใช้ได้ โดยไม่ต้องปรับปรุงอะไร โปรแกรมนี้จะถูกใส่มากับระบบปฏิบัติการแอนดรอย์ และ iOS และใช้บลูทูช (bluetooth) เพื่อดูว่าคนสองคนอยู่ใกล้กันในเวลาที่นานอย่างมีนัยสำคัญ (คือนานพอที่จะมีการติดต่อของโรค) หรือไม่ โดยจะเรียกคุณสมบัตินี้ว่า “exposure notifications express”
Covidwise ที่ Apple และ Google ติดตั้งมาในระบบปฏิบัติการของตัวเอง (Jonathan Baran/The Washington Post) |
การติดตั้งระบบแจ้งเตือนแบบนี้มาในระบบปฏิบัติการเลย ทำให้รัฐไม่ต้องไปออกแบบโปรแกรมติดตามของตัวเอง ประชาชนที่อาศัยอยู่ในรัฐ (ในสหรัฐ) จะได้รับข้อความแจ้งเตือนว่าจะเข้าร่วมโปรแกรมหรือไม่ ถ้าจะเข้าร่วมก็ทำตามไม่กี่ขั้นตอน ก็จะสามารถแชร์ข้อมูลบลูทูช และได้รับการแจ้งเตือน ถ้าเขาเข้าไปใกล้กับผู้เข้าร่วมโปรแกรมที่มีผลการตรวจเป็นบวก โดยวิธีการที่จะรู้ว่าใครมีผลเป็นบวกก็คือหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐจะเป็นผู้พิมพ์หมายเลขของคนที่มีผลเป็นบวกเข้าไปในระบบ โดยหมายเลขนี้จะไม่ซ้ำกัน ต่อข้อถามที่ว่าทำไม Apple กับ Google ไม่ทำทางเลือก "express" นี้ตั้งแต่แรก ๆ ก็ได้รับคำตอบว่า พวกเขาชอบที่จะเห็นเวอร์ชันสองของซอฟต์แวร์ของเขาดีกว่าเวอร์ชันแรก
อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Washington Post
วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2563
การสรุปความที่น่าจะเก่งมาก ๆ จากวรณคดีไทย
เมื่อหลายวันก่อน ช่วยภรรยาขนของ คุณภรรยาก็ทวนว่าครบเจ็ดชิ้นแล้วใช่ไหม ก็มีอาขยานบทที่เคยท่องมาตั้งแต่เด็กแว่บขึ้นมาในหัว ก็เลยตอบไปว่า "เป็นเจ็ดชิ้นสิ้นเรื่องอรทัย" จำได้ไหมครับว่ามาจากเรื่องอะไร หรือไม่เคยเรียนกันแล้ว แต่สงสัยเด็กรุ่นหลัง ๆ จะไม่ได้เรียนกันจริง ๆ เพราะลูก ๆ ตอนเรียนอยู่ก็ไม่เคยมาท่องให้ฟัง บทอาขยานนี้มาจากเรื่องสังข์ทองครับ ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 2
พอนึกถึงอาขยานนี้ได้ก็เลยทำให้นึกถึงสิ่งที่น่าจะเป็นความสามารถหนึ่งที่นักวิจัยน่าจะมีกันก็คือความสามารถในการสรุปความครับ การเขียนบทคัดย่อในการวิจัย การเขียนบทการทบทวนวรรณกรรมก็ต้องใช้ความสามาถในการสรุปความ หรือการเขียนบทสรุปในงานวิจัยก็เช่นกัน
สำหรับคนที่ไม่เคยท่องบทอาขยานนี้มาก่อนนะครับ มาดูกันครับ
ชิ้นหนึ่งทรงครรภ์กัลยา
คลอดลูกออกมาเป็นหอยสังข์
ชิ้นสองต้องขับเที่ยวเซซัง
อุ้มลูกไปยังพนาลัย
ชิ้นสามเมื่ออยู่ด้วยยายตา
ลูกยาออกช่วยขับไก่
ชิ้นสี่กัลยามาแต่ไพร
ทุบสังข์ป่นไปกับนอกชาน
ชิ้นห้าบิตรุงค์ทรงศักดิ์
ให้จับตัวลูกรักมาจากบ้าน
ชิ้นหกจองจำทำประจาน
ให้ประหารฆ่าฟันไม่บรรลัย
ชิ้นเจ็ดเพชฌฆาตเอาลูกยา
ไปถ่วงลงคงคาน้ำไหล
เป็นเจ็ดชิ้นสิ้นเรื่องอรไท
ใครใครไม่ทันจะสงกา
ซึ่งเหตุการณนี้เป็นตอนที่พระนางจันเทวีแม่ของพระสังข์ ซึ่งทำงานเป็นแม่ครัวอยู่ในวังของท้าวสามล (พ่อตาพระสังข์) สลักชิ้นฟักทำอาหารให้พระสังข์ เพื่อให้รู้ว่าแม่อยู่ที่นี่
ซึ่งจะเห็นนะครับว่าเป็นการสรุปความช่วงชีวิตของพระสังข์ได้ชัดเจนและกระชับที่สุด และสำหรับคนอ่านอย่างเรา ๆ ต่อให้ไม่ได้อ่านเรื่องพระสังข์มาตั้งแต่ต้น มาอ่านแค่ตรงนี้ก็แทบจะรู้เรื่องทั้งหมดแล้ว จริงไหมครับ นอกจากนี้ผู้ประพันธ์ยังคงแสดงความประชดประชันของเมียหลวง ที่ต่อว่าพ่อกลาย ๆ ให้ลูกฟังด้วยนะครับ อย่าง
"ชิ้นห้าบิตรุงค์ทรงศักดิ์
ให้จับตัวลูกรักมาจากบ้าน
ชิ้นหกจองจำทำประจาน
ให้ประหารฆ่าฟันไม่บรรลัย
ชิ้นเจ็ดเพชฌฆาตเอาลูกยา
ไปถ่วงลงคงคาน้ำไหล"
ซึ่งถ้าจะพูดภาษาชาวบ้าน ๆ ก็คือ ดูพ่อผู้ยิ่งใหญ่ของลูกสิ และดูเขาทำกับลูกสิ
ถ้าจะว่าไปพระเอกอย่างพระสังข์นี่เอาจริง ๆ ก็ชอบซุกตัวอยู่ในเปลือกเพื่อหนีปัญหานะครับ ตอนเด็กก็แอบอยู่ในหอยสังข์ ทั้ง ๆ ที่ควรจะออกมาแสดงตัวกับแม่ จนสุดท้ายแม่ต้องมาทุบหอยสังข์ทิ้งไป และสุดท้ายก็ยังมาซุกตัวอยู่ในชุดเจ้าเงาะอีก จนเดือดร้อนไปถึงพระอินทร์ต้องแปลงกายมาทำท่าจะยึดเมืองท้าวสามล ถึงยอมถอดรูปเงาะออกมา
แต่จะว่าไปก็ยังดีกว่าคนที่แอบย่องเข้าหาผู้หญิงทั้งที่ยังอยู่ในผ้าเหลือง เจ้าชู้ไปทั่ว แล้วยังผ่าท้องเมียเอาลูกมาทำกุมารทองอีก
อ้าวว่าจะพูดเรื่องความสามารถในการสรุปความ ทำไมกลายเป็นวิจารณ์พระเอกในวรณคดีไทยได้ จบดีกว่า ขอให้มีความสุขในวันหยุดยาวนี้ครับ
เมื่อนักบิน F16 มาสุ้กับ AI ใครจะชนะ
Photo by Kyaw Tun on Unsplash |
กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้จัดการแข่งขันที่เรียกว่า "AlphaDogFight Trials" ขึ้น โดยเป็นการแข่งขันการบินต่อสู้กันระหว่างนักบินจริง ๆ ที่บังคับเครื่องบินผ่านอุปกรณ์ VR กับโปรแกรม AI โดยเครื่องบินจะมีอาวุธคือเครื่องยิงแสงเลเซอร์ ซึ่งสมมติว่าเป็นปืนกล ซึ่งผลการแข่งขันพบว่า AI เอาชนะไปได้อย่างง่ายดายทั้งห้ารอบ โดยใช้เวลาต่ำกว่าสองนาที อย่างไรก็ตามกระทรวงกลาโหมบอกว่า การชนะนี้ไม่ได้หมายความว่า AI จะสามารถชนะได้ในการต่อสู้กันจริง ๆ เพราะในการแข่งขันนี้มีข้อจำกักและข้อยกเว้นมากมาย โปรแกรมที่ชนะนี้เป็นโปรแกรมของ Heron Systems ซึ่งสามารถเล็งเป้าหมายได้แม่นยำกว่านักบินที่เป็นคน และยังชนะโปรแกรมที่พัฒนาโดยบริษัทอื่น ๆ อย่างเช่น โปรแกรมที่พัฒนาโดย Georgia Institute of Technology และ Lockheed Martin
อ่านข่าวเต็มได้ที่: Fortune
วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563
เงินเดือนของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลไม่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19
Salaries of data science individual contributors |
Salaries of data science managers |