วันเสาร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2568

AI สร้างสรรค์ในรูปแบบส่วนขยายเว็บเบราว์เซอร์ส่งข้อมูลไปยังคลาวด์

Laptop-external-screen
Photo by Domenico Loia on Unsplash

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์นำโดย Yash Vekaria ที่ University of California, Davis พบว่า ส่วนขยายเบราว์เซอร์ (browser extension) ที่ใช้ AI สร้างสรรค์ (Generative AI) โดยทั่วไปแล้วจะเก็บรวบรวมข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของผู้ใช้ และแบ่งปันข้อมูลเหล่านั้นกับเซิร์ฟเวอร์ของตนเอง และตัวติดตามบุคคลที่สาม (third-party tracker) 

ในบางกรณี สิ่งนี้ละเมิดข้อผูกพันด้านความเป็นส่วนตัวของส่วนขยายเบราว์เซอร์และกฎระเบียบของสหรัฐฯ ที่ควบคุมข้อมูลด้านสุขภาพและข้อมูลนักเรียน 

การศึกษาเกี่ยวกับส่วนขยาย Chrome ด้าน AI สร้างสรรค์ 10 รายการ พบว่าบางส่วนขยายจะรวบรวมข้อมูลที่ละเอียดอ่อนจากแบบฟอร์มเว็บ หรือ document object model (DOM) ของหน้าที่ผู้ใช้เข้าชม

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Register (U.K.) โดย Thomas Claburn

วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568

ความก้าวหน้าของ AI ทำให้การดึงข้อมูล DNA เร็วขึ้นและแม่นยำยิ่งขึ้น

DNA
ภาพจาก Tom's Hardware โดย Anton Shilov

เครื่องมือ AI ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก Technion – Israel Institute of Technology มีความเร็วในการดึงข้อมูลดิจิทัลที่จัดเก็บไว้ใน DNA เร็วและแม่นยำกว่าวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบัน โดยเร็วกว่า 3,200 เท่า และแม่นยำกว่า 40% 

ด้วยแนวทาง DNAformer ใหม่นี้ สามารถประมวลผลข้อมูล 100MB ได้ในเวลาเพียง 10 นาที เทียบกับที่ต้องใช้เวลาหลายวันด้วยเทคนิคปัจจุบัน 

แม้ว่าเครื่องมือใหม่นี้จะยังช้าเกินไปสำหรับตลาดเชิงพาณิชย์ แต่นักวิจัยเชื่อว่าพวกเขากำลังเดินไปในทิศทางที่ถูกต้อง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Tom's Hardware โดย Anton Shilov

วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2568

เราจะทำให้ AI ใช้พลังงานน้อยลงได้ไหม? นักวิจัยกำลังหาทางอยู่

power-grid
ภาพจาก Ars Technica โดย Jacek Krywko

นักวิจัยที่ทำงานร่วมกับ ML Energy Initiative กำลังพยายามลดการใช้พลังงานของ AI โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพ 

เพื่อเปลี่ยนแปลงการทำงานภายในของโมเดล AI นักวิจัยได้ใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อลดพารามิเตอร์ของโมเดลและปรับปรุงวิธีการให้เหมาะสมเพื่อลดปริมาณหน่วยความจำที่พารามิเตอร์ที่เหลือต้องการ 

เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของศูนย์ข้อมูลที่รันโมเดล AI พวกเขาได้พัฒนาเครื่องมือซอฟต์แวร์ที่สามารถชะลอความเร็วของ GPU บางตัวในคลัสเตอร์เพื่อให้ใช้พลังงานน้อยลง ในขณะที่ยังคงมั่นใจได้ว่า GPU จะประมวลผลงานเสร็จพร้อมกัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica โดย Jacek Krywko

วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2568

จีนออกแนวทางการใช้ระบบรู้จำใบหน้า

woman-scanning-face
ภาพจาก Global Times (China) โดย Yin Yeping

Cyberspace Administration of China และ Ministry of Public Security ของจีน ได้ร่วมกันออกข้อกำหนดโดยละเอียดสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 

มาตรการดังกล่าวระบุว่าการใช้เทคโนโลยีนี้ควรมีวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงและมีความจำเป็นเพียงพอ ในขณะเดียวกันก็ลดผลกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคลให้น้อยที่สุด และดำเนินการตามมาตรการป้องกันที่เข้มงวด

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Global Times (China) โดย Yin Yeping 

วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2568

Europol เตือนเรื่องการคุกคามจากอาญชากรรมที่ใช้ AI เป็นตัวขับเคลื่อน

hacker
Photo by Nahel Abdul Hadi on Unsplash

Europol กล่าวในรายงานที่เผยแพร่เมื่อวันอังคารว่า องค์กรอาชญากรรมกำลังย้ายระบบการสรรหา การสื่อสาร และการชำระเงินของพวกเขาไปเป็นแบบออนไลน์ และใช้ประโยชน์จาก AI เพื่อขยายการดำเนินงานของิงค์กรไปทั่วโลก และป้องกันการตรวจจับ 

ตามรายงาน อาชญากรใช้ AI เพื่อสร้างข้อความในภาษาต่างๆ และสร้างการปลอมแปลงบุคคลที่เหมือนจริง รวมถึงการกระทำอื่น ๆ หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของสหภาพยุโรปกล่าวว่า AI ที่เป็นทำงานโดยอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์ "อาจปูทางไปสู่เครือข่ายอาชญากรรมที่ควบคุมโดย AI ทั้งหมด ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นยุคใหม่ขององค์กรอาชญากรรม"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters โดย Michal Aleksandrowicz


วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2568

เครื่องมือค้นหาที่ใช้ AI อ้างอิงแหล่งข้อมูลผิดถึง 60%

wromg-search-result-of-AI
ภาพจาก Ars Technica โดย Benj Edwards


นักวิจัยจาก Tow Center for Digital Journalism ของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียพบว่าตัวแบบ  (model) AI ให้คำตอบที่ไม่ถูกต้องต่อคำถามเกี่ยวกับแหล่งข่าวมากกว่า 60% 

นักวิจัยได้ป้อนข้อความตัดตอนจากข่าวเข้าไปในเครื่องมือค้นหาที่ขับเคลื่อนด้วย AI แปดเครื่อง และพบว่าตัวแบบที่ทดสอบทั้งหมดมีการแต่งข้อมูลขึ้นมา แทนที่จะไม่ตอบสนองเมื่อข้อมูลของพวกเขาไม่น่าเชื่อถือ

การศึกษายังแสดงให้เห็นว่าตัวแบบมีแนวโน้มที่จะพาผู้ใช้ไปยังเนื้อหาเวอร์ชันที่ทำซ้ำ มากกว่าเว็บไซต์ต้นฉบับ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica โดย Benj Edwards


วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2568

Tim Berners-Lee ต้องการรู้ว่า AI ทำงานให้ใครกันแน่

Tim-Berners-Lee
Tim Berners-Lee
ภาพจาก CNet โดย Jon Reed

ในการประชุม South by Southwest,  Tim Berners-Lee ผู้ประดิษฐ์ World Wide Web และผู้ได้รับรางวัล ACM A.M. Turing Award ได้ตั้งคำถามว่า AI ทำงานเพื่อใคร 

แม้ว่าโมเดล AI จะมีความน่าเชื่อถือ แม่นยำ และเป็นกลาง ก็จะยังคงมีความกังวลว่าผลประโยชน์ของบริษัทหรือผู้ใช้กันแน่ที่มีความสำคัญสูงสุด Berners-Lee กล่าวว่า "ผมต้องการให้ AI ทำงานเพื่อผม เพื่อทำการเลือกที่ผมต้องการ ผมไม่ต้องการ AI ที่พยายามขายอะไรให้ผม"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNet โดย Jon Reed

วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2568

NIST เลือก HQC เป็นอัลกอริทึมที่ห้าสำหรับการเข้ารหัสหลังควอนตัม

encryption-standards
ภาพจาก NIST News

สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Institute of Standards and Technology) หรือ NIST ของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศการเลือกอัลกอริทึมที่ห้าสำหรับการเข้ารหัสหลังควอนตัม 

อัลกอริทึม HQC จะทำหน้าที่เป็นตัวสำรองสำหรับ ML-KEM ซึ่งเป็นอัลกอริทึมหลักสำหรับการเข้ารหัสทั่วไป 

HQC อิงตามหลักคณิตศาสตร์ที่แตกต่างจาก ML-KEM ซึ่งอาจมีความสำคัญหากมีการค้นพบช่องโหว่ใน ML-KEM 

NIST วางแผนที่จะออกร่างมาตรฐานที่รวมอัลกอริทึม HQC เข้าไปในปีหน้า โดยคาดว่ามาตรฐานฉบับสุดท้ายจะแล้วเสร็จในปี 2027

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NIST News

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2568

สหรัฐฯ จะใช้ AI เพื่อตรวจสอบผู้ถือวีซ่านักเรียนต่างชาติว่าแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้ก่อการร้ายหรือไม่

Macro-Rubio
Marco Rubio
ภาพจาก Axios โดย Marc Caputo

มีแหล่งข่าวกล่าวว่า Marco Rubio รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กำลังเปิดตัวโครงการ "Catch and Revoke" ที่ใช้ AI เพื่อยกเลิกวีซ่าของชาวต่างชาติที่แสดงออกว่าสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายที่ถูกเพ่งเล็งไว้ 

โครงการนี้รวมถึงการตรวจสอบบัญชีโซเชียลมีเดียของผู้ถือวีซ่านักเรียนหลายหมื่นคนโดยใช้ AI โดยมุ่งเน้นที่หลักฐานการแสดงความเห็นอกเห็นใจผู้ก่อการร้ายที่ถูกกล่าวหา

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Axios โดย Marc Caputo

วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2568

ชิปใช้ลำแสงเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

Alphabet
ภาพจาก Engadget โดย Mariella Moon

Taara หน่วยงานของ Alphabet ได้ประกาศเทคโนโลยีชิปใหม่ที่ใช้แสงในการส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านอากาศ 

ชิปรุ่นล่าสุดมีขนาดเท่าเล็บมือ และใช้ซอฟต์แวร์เพื่อนำทางแสงไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ชิปนี้ซึ่งมีชื่อว่า Taara เช่นกัน ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกสำหรับ Project Loon บอลลูนกระจายสัญญาณอินเทอร์เน็ตของ X ซึ่งเป็นโรงงาน moonshot ของ Alphabet

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Engadget โดย Mariella Moon