วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2565

นักวิจัยพบช่องโหว่ในชิป M1 ซึ่งสร้างแพทช์แก้ไขไม่ได้

m1-chip
ภาพจาก TechCrunch

นักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology พบว่าชิป M1 ของ Apple มีข้อบกพร่องด้านฮาร์ดแวร์ที่ "ไม่สามารถแพทช์แก้ไขได้ (unpatchable)" ซึ่งอาจทำให้แฮกเกอร์ฝ่าแนวป้องกันสุดท้ายไปได้

ข้อบกพร่องดังกล่าวมีรากฐานมาจาก pointer authentication codes (PACs) ที่ออกแบบมาเพื่อบล็อกผู้โจมตีไม่ให้ใส่รหัสที่เป็นอันตรายลงในหน่วยความจำของอุปกรณ์ เพื่อป้องกันการใช้ช่องโหว่ของบัฟเฟอร์โอเวอร์โฟลว์ (buffer overflow) 

"Pacman" ของนักวิจัยใช้การจู่โจมหน่วยความจำ และการโจมตีเชิงคาดเดาเพื่อหลีกเลี่ยงคุณลักษณะด้านความปลอดภัยไปแบบไร้ร่องรอย ทำให้ซอฟต์แวร์แพตช์นั้นใช้งานไม่ได้ การโจมตีเป็นการ "คาดเดา" บรรทัดของการทำงานเพื่อแสดงให้เห็นถึงการรั่วไหลของผลการตรวจสอบ PAC ในขณะที่ฮาร์ดแวร์ที่ทำงานเป็นช่องข้างเคียง (side-channel) แสดงให้เห็นว่าการเดานั้นถูกต้องหรือไม่

“หากไม่แก้ปัญหานี้ การโจมตีของเราจะส่งผลกระทบต่ออุปกรณ์พกพาส่วนใหญ่ และอาจรวมถึงอุปกรณ์เดสก์ท็อปในปีต่อๆ ไปด้วย” นักวิจัยเตือน

อ่านช่าวเต็มได้ที่: TechCrunch

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ขอแนะนำหุ่นยนต์ที่วาดได้เหมือนคน

robot-painting
ภาพจาก Georgia Tech Research

นักวิจัยของ Georgia Institute of Technology (Georgia Tech) ได้สร้าง GTGraffiti ซึ่งเป็นหุ่นยนต์วาดภาพที่เลียนแบบการเคลื่อนไหวของมนุษย์ที่ถูกบันทึกผ่านการจับภาพเคลื่อนไหวด้วยงานศิลปะกราฟฟิตี้แบบพ่นสี 

นักวิจัยจับการเคลื่อนไหวของศิลปินสองคนขณะที่พวกเขาพ่นภาพวาดกราฟฟิตี้ จากนั้นจึงรวมข้อมูลความเร็ว ความเร่ง และขนาดของข้อมูล ไว้ในการออกแบบของหุ่นยนต์ที่ใช้สายเคเบิลควบคุมการเคลื่อนไหว 

ทีมงานได้แปลงการวางองค์ประกอบของศิลปินให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า เพื่อสร้างคลังอักขระดิจิทัลที่หุ่นยนต์สามารถถูกโปรแกรมให้สร้างงานศิลปได้ทุกขนาด มุมมอง และการผสมผสาน

Gerry Chen แห่ง Georgia Tech กล่าวว่า "เราหวังว่าการวิจัยของเราจะสามารถช่วยศิลปินสร้างงานศิลปะที่ดำเนินการโดยหุ่นยนต์ที่เหนือมนุษย์ สื่อสารข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าชิ้นงานใดๆ ที่พวกเขาวาดเองได้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Georgia Tech Research

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ทำให้โปรแกรมเร็วขึ้นโดยไม่ต้องกลัวผิดพลาด

ีunix-shell
ภาพจาก  MIT News

ทีมนักวิจัยจากหลายสถาบันได้พัฒนา PaSh ซึ่งเป็นระบบที่สามารถเพิ่มความเร็วของโปรแกรมคอมพิวเตอร์บางประเภทได้อย่างมากในขณะที่รับรองความถูกต้องของผลลัพธ์ ระบบเร่งความเร็วของโปรแกรมหรือสคริปต์ที่ทำงานในเชลล์ Unix โดยแยกวิเคราะห์ส่วนประกอบออกเป็นส่วนๆ ที่สามารถรันบนโปรเซสเซอร์หลายตัว

PaSh ทำให้องค์ประกอบของโปรแกรมทำงานขนานกัน "ในเวลาที่ต้องการ (just-in-time)" เพื่อทำนายพฤติกรรมของโปรแกรม โดยเพิ่มความเร็วองค์ประกอบมากกว่าวิธีการแบบเดิมที่พยายามคิดการทำงานขนานกันเอาไว้ล่วงหน้า ในขณะที่ยังคงให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ

นักวิจัยทดสอบ PaSh กับสคริปต์หลายร้อยตัวโดยไม่แก้ไขสคริปต์ ระบบรันโปรแกรมได้เร็วกว่าสคริปต์ที่ไม่มีการให้ทำงานขนานกันโดยเฉลี่ยหกเท่า และทำให้ความเร็วสูงสุดเพิ่มขึ้นเกือบ 34 เท่า

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  MIT News

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2565

VR ช่วยผู้สูงอายุที่ต้องกักตัวในศูนย์ผู้สูงอายุในช่วงโควิด-19

old-people-wear-VR
ภาพจาก ABC News (Australia)

นักวิจัยจาก Queensland University of Technology ของออสเตรเลียได้ทำการทดสอบเทคโนโลยีความจริงเสมือน (virtual reality) หรือ VR ที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุสามแห่งใน Queensland และพบว่ามันช่วยให้ผู้สูงอายุ "เดินทาง" ไปยังจุดหมายปลายทางที่ระบุไว้ในรายการความต้องการ ระหว่างต้องกักตัวเพราะโควิด 

Vicki Cain แห่ง Arcare Aged Care Centre เรียกเทคโนโลยีนี้ว่า "ตัวเปลี่ยนเกม" Cain กล่าวว่า "มันพาพวกเขาออกไปจากความรู้สึกวิตกกังวล และพาพวกเขาไปที่ที่สวยงาม" Cain กล่าวว่า VR ช่วยปรับปรุงความแข็งแรงทางกายภาพและความคล่องตัวของผู้อยู่อาศัยด้วย

นักวิจัยวางแผนที่จะขยายโครงการไปยัง Victoria และได้สร้างชุดเครื่องมือออนไลน์ ซึ่งสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการส่วนบุคคลของผู้สูงอายุในศูนย์ เพื่อช่วยให้จำนวนศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่ใช้ VR มีมากขึ้น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ABC News (Australia)

วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2565

มาดูกันว่าสมองประมวลกลิ่นอย่างไร

woman-test-order-EEG
ภาพจาก University of Tokyo (Japan)

นักวิจัยจาก University of Tokyo (UTokyo) ประเทศญี่ปุ่น  ได้สร้างอุปกรณ์ส่งกลิ่น จากนั้นจึงใช้การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) หรือ ML ในการวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าสมอง EEG เพื่อพิจารณาว่าสมองประมวลผลกลิ่นอย่างไร 

อุปกรณ์ของพวกเขากระจายกลิ่น 10 อย่างให้กับผู้เข้าร่วมทดลอง ซึ่งจะให้คะแนนความพอใจแต่ละกลิ่น ในขณะที่เครื่องบันทึก EEG ของพวกเขา การวิเคราะห์ ML สามารถตรวจสอบได้ว่าช่วงของกลิ่นต่าง ๆ ได้รับการประมวลผลเมื่อใดและที่ใดในสมอง ด้วยความละเอียดที่สูงในชั่วขณะนั้น

Mugihiko Kato แห่ง UTokyo กล่าวว่า "เรารู้สึกประหลาดใจที่เราสามารถตรวจจับสัญญาณจากกลิ่นที่นำเสนอ ด้วยการตอบสนองของในช่วงต้น ๆ ของ EEG  ได้เร็วถึง 100 มิลลิวินาทีหลังจากที่เริ่มส่งกลิ่น ซึ่งบ่งบอกว่าการเกิดขึ้นของข้อมูลกลิ่นในสมองนั้นมีความรวดเร็ว"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Tokyo (Japan)