วันพฤหัสบดีที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2567

การพิมพ์ 3 มิติสร้างผลงานชิ้นเอก ฝีแปรงต่อฝีแปรง

reproduction-painting-3d-printer
ภาพจาก CNN

บริษัทผลิตผลงานพิมพ์จากออสเตรีย Lito Masters ได้ร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์ชั้นนำหลายแห่ง เพื่อดำเนินการสแกนภาพวาดของศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ด้วยรายละเอียดอันประณีต 

โดยนำข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างสรรค์เป็นงานศิลป์พิมพ์ 3 มิติ บนผืนผ้าใบหรือกระดาษ ที่มีความหนาและรอยแปรงเหมือนกับต้นฉบับอย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นจุดบกพร่องหรือรอยตำหนิ  

ล่าสุด Lito Masters ได้ร่วมมือกับ Musée de l’Orangerie ในกรุงปารีส ใช้เวลา 1 สัปดาห์ในการสแกนภาพวาดชุด "Water Lilies" ของ Claude Monet ผลงานแรกจากความร่วมมือนี้เปิดตัวในเดือนธันวาคม เป็นการนำส่วนเล็กๆ ของภาพมาพิมพ์ซ้ำลงบนแผ่นขนาด 900 ตารางเซนติเมตร (140 ตารางนิ้ว) เพื่อให้เหมาะสำหรับสะสม

อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNN

วันพุธที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2567

หุ่นยนต์เหมือนคนในอวกาศ: พรมแดนต่อไป

humanoid
Photo by Adam Lukomski on Unsplash

องค์การนาซา (NASA) จับมือกับบริษัทหุ่นยนต์ Apptronik จากรัฐเท็กซัส เพื่อไขความลับว่าหุ่นยนต์สองขาที่พัฒนาขึ้นมาใช้งานบนโลก จะสามารถนำไปปรับใช้กับหุ่นยนต์สองขาที่จะส่งไปปฏิบัติภารกิจในอวกาศได้อย่างไร

Apptronik กำลังพัฒนาหุ่นยนต์สองขาชื่อว่า "Apollo" โดยเบื้องต้นมีเป้าหมายให้ Apollo ไปทำงานในโกดังและโรงงานต่าง ๆ แต่ Jeff Cardenas ซีอีโอของ Apptronik เชื่อมั่นว่าในอนาคต เมื่อมีการพัฒนาซอฟต์แวร์และระบบควบคุมเพิ่มเติม Apollo จะสามารถทำงานใน "อวกาศไร้โครงสร้าง" ได้ 

Shaun Azimi จากองค์การนาซากล่าวว่า เป้าหมายของความร่วมมือครั้งนี้คือ "การค้นหาจุดอ่อนสำคัญ เพื่อให้เราทราบว่าจะต้องลงทุนอะไรในอนาคต เพื่อนำระบบที่ใช้งานบนโลกไปปรับใช้ในสภาพแวดล้อมของอวกาศ และผ่านการรับรองให้ปฏิบัติภารกิจในอวกาศได้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

วันอังคารที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2567

เปียโนที่มี AI เป็นตัวช่วยทำให้นักดนตรีพิการเล่นเพลง Beethoven ได้

anybody-paino
ภาพจาก Japan Today

"เปียโนสำหรับทุกคน (Anybody's Piano)" ติดตามตัวโน้ตดนตรี และเติมเต็มการแสดงของผู้เล่นด้วยคีย์ใด ๆ ที่ต้องถูกกดแต่ผู้เล่นไม่ได้กด 

ในการแสดงล่าสุดที่โตเกียว Kiwa Usami  ผู้มีภาวะสมองพิการ เป็นหนึ่งในสามนักดนตรีพิการที่ร่วมบรรเลงซิมโฟนีหมายเลข 9 กับเปียโนที่ขับเคลื่อนด้วย AI 

Usami เป็นผู้จุดประกายแรงบันดาลใจให้กับเครื่องดนตรีชิ้นนี้ ความมุ่งมั่นในการฝึกซ้อมด้วยนิ้วเดียวทำให้ครูของเธอทำงานร่วมกับยามาฮ่า บริษัทดนตรีขนาดใหญ่ของญี่ปุ่น 

ผลลัพธ์ของความร่วมมือคือ เปียโนแบบเล่นเองของยามาฮ่ารุ่นใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงจากตัวที่เปิดตัวในปี 2015

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Japan Today

วันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567

ผลงานชิ้นเอกของ Raphael ไม่ได้เป็นอย่างที่คิด

madoona-of-the-rose
ภาพจาก CNN

ทีมที่นำโดยนักวิทยาศาสตร์จาก University of Bradford ประเทศอังกฤษ ทำการศึกษาโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) วิเคราะห์ภาพ “Madonna della Rosa” (“Madonna of the Rose”) ผลงานจิตรกรรมอายุ 500 ปีของ Raphael ศิลปินชาวอิตาลี พบว่าใบหน้าของ Joseph ไม่ใช่ฝีมือของ Raphael

ปัญญาประดิษฐ์นี้มีความแม่นยำในการแยกแยะภาพวาดของราฟาเอลแท้ได้ถึง 98% ทำงานโดยการวิเคราะห์รายละเอียดต่างๆ มากถึง 4,000 จุดเพื่อพิจารณาความเป็นของแท้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNN

วันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566

หุ่นยนต์ช่างเจรจาช่วยผู้สูงอายุต่อสู้กับความเหงา

ElliQ-robot
ภาพจาก Associated Press

ElliQ หุ่นยนต์ผู้ช่วยคลายเหงาที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อบรรเทาความเหงาและโดดเดี่ยวของผู้สูงอายุ ผลงานจาก Intuition Robotics บริษัทในอิสราเอล  

ElliQ  มีลักษณะเหมือนโคมไฟตั้งโต๊ะขนาดเล็ก  บนหัวแบน ๆ ไม่มีตาและปากมีไฟส่องสว่างหมุนได้ รู้จักจดจำความสนใจ และบทสนทนาของผู้ใช้เพื่อปรับแต่งบทสนทนาในอนาคต  

ถ้าใช้ร่วมกับหน้าจอ มันสามารถแสดงภาพสถานที่ท่องเที่ยว เมือง  หรือพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ นอกจากนั้นยังคอยเป็นเพื่อนชวนออกกำลังกาย สอบถามสุขภาพ  และเตือนผู้ใช้ทานยาหรือดื่มน้ำ เป็นต้น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Associated Press