วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2566

Microsoft ค้นพบบั๊กของ macOS ที่ทำให้แฮกเกอร์สามารถเลี่ยง SIP ได้

Apple-Logo
ภาพจาก  BleepingComputer

Security Response Center ของ Microsoft ได้ระบุจุดบกพร่องที่สำคัญใน macOS ซึ่งทำให้แฮ็กเกอร์สามารถหลีกเลี่ยงข้อจำกัดรูทของ System Integrity Protection หรือ SIP ได้

ช่องโหว่นี้เรียกว่า CVE-2023-4567 ช่วยให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถใช้คำสั่งอะไรก็ได้ด้วยสิทธิ์ขั้นสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของอุปกรณ์ macOS

SIP ได้รับการออกแบบมาเพื่อป้องกันการแก้ไขไฟล์ระบบที่สำคัญโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ข้อบกพร่องนี้ทำให้ผู้โจมตีสามารถข้ามการป้องกันเหล่านี้ได้

Microsoft ได้รายงานปัญหาไปยัง Apple โดยทันที และบริษัทได้เผยแพร่การอัปเดตความปลอดภัยเพื่อแก้ไขช่องโหว่ดังกล่าว

ผู้ใช้ควรอัปเดตระบบ macOS เป็นเวอร์ชันล่าสุดเพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตี

อ่านข่าวเต็มได้ที่: BleepingComputer

วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2566

EPFL ปกป้องความเป็นส่วนตัวในปฏิบัติการด้านมนุษยชน

ICRC-Help
ภาพจาก EPFL (Switzerland)

นักวิจัยจาก Swiss Federal Institute of Technology, Lausanne (EPFL) ได้ร่วมมือกับสภากาชาดสากล (International Committee of the Red Cross) หรือ ICRC เพื่อพัฒนาระบบดิจิทัลที่ใช้สนันสนุนงานกระจายความช่วยเหลือด้านสิทธิมในุษยชนขึ้่นเป็นครั้งแรก 

มีการใช้โทเค็น (token) เพื่อกระจายศูนย์ (decentralize) ของหน่วยจัดเก็บข้อมูล และข้อมูลของผู้รับการช่วยเหลือ เพื่อทำให้แน่ใจว่ามีการรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่อ่อนไหว

ระบบด้านมนุษยชนที่เน้นการรักษาความเป็นส่วนตัวนี้พบกับความท้าทายหลายประการที่ถูกระบุโดย ICRC โดยโปรแกรมกระจายความช่วยเหลือจากสถานการณ์วิกฤติ มักจะเกิดในที่ซึ่งไม่มีฮาร์ดแวร์รุ่นล่าสุด หรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ดังนั้นจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงจากเงื่อนไขเหล่านี้ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: EPFL (Switzerland)


วันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ส่วนเสริมสมาร์ตโฟนราคาถูกช่วยวัดความดันเลือดจากปลายนิ้ว

blood-pressure-phone-clip
ภาพจาก  UC San Diego Today

คลิปหนีบปลายนิ้วที่พลาสติกราคาไม่แพง และแอปสมาร์ฟตโฟนที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัย University of California, San Diego ใช้งานกล้องและแฟลชของสมาร์ตโฟนเพื่อวัดความดันโลหิตของผู้ใช้

เป้าหมายคือการทำให้เครื่องวัดความดันโลหิตมีราคาไม่แพงและสามารถเข้าถึงได้ คลิปวางอยู่เหนือกล้องและแฟลชของสมาร์ตโฟน โดยไม่จำเป็นต้องทาบกับข้อมือ 

แอปสมาร์ตโฟนสามารถวัดปริมาณแรงกดที่ปลายนิ้วและปริมาณเลือดที่เข้าและออกจากปลายนิ้ว จากนั้นจะแปลงข้อมูลนี้เป็นค่าความดันโลหิตซิสโตลิก (systolic) และไดแอสโตลิก (diastolic) โดยใช้อัลกอริทึม

นักวิจัยทดสอบคลิปกับอาสาสมัคร 24 คน จาก UC San Diego Medical Center และเปรียบเทียบผลลัพธ์กับเครื่องวัดปกติ 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: UC San Diego Today

วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

AI ค้นพบยาปฏิชีวนะที่ต้านเชื้อดื้อยา

 

woman-scientist
ภาพจาก BBC News

นักวิทยาศาสตร์ในแคนาดาและสหรัฐอเมริกาใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence ) หรือ AI ช่วยในการค้นพบยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ที่สามารถกำจัดเชื้อดื้อยาที่อันตรายถึงชีวิต ด้วยการจำกัดจำนวนผู้ทดสอบหลายพันคนให้เหลือเพียงไม่กี่คนเพื่อการทดสอบในห้องปฏิบัติการ

นักวิจัยได้ทดสอบยาหลายพันชนิดในสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะอย่าง Acinetobacter baumannii จากนั้นส่งข้อมูลผลลัพธ์ไปยัง AI เพื่อให้สามารถระบุคุณสมบัติทางเคมีของสารประกอบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการโจมตีแบคทีเรีย

AI วิเคราะห์ยา 6,680 รายการโดยไม่ทราบประสิทธิภาพของมัน และสร้างรายการที่สามารถนำมาใช้พิจารณาต่อไปได้ในเวลาเพียง 90 นาที 

นักวิจัยพบว่า 9 ใน 240 จากรายการยาปฏิชีวนะที่ผ่านการทดสอบในห้องปฏิบัติการเป็นยาปฏิชีวนะที่มีศักยภาพ โดยสารประกอบอะบาซิน (abaucin) แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำลายเชื้อดื้อยาในตัวอย่างจากผู้ป่วย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: BBC News

วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ทางเลือกที่จะทำงานต่อไปถ้า GPS ทำงานไม่ได้

satellites-orbit
ภาพจาก IEEE Spectrum

ในการค้นหาทางเลือกอื่นนอกเหนือจากระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System) หรือ GPS นักวิจัยของ Ohio State University สามารถคำนวณตำแหน่งพื้นดินภายในหน่วยเป็นเมตรโดยใช้ดาวเทียมวงโคจรต่ำ ( low Earth orbit) หรือ LEO 

พวกเขาพัฒนาอัลกอริธึม STAN (simultaneous tracking and navigation) ซึ่งสามารถตรวจจับดาวเทียม LEO ถอดรหัสสัญญาณ ติดตามสัญญาณ และประเมินตำแหน่งของดาวเทียม

พวกเขายังได้พัฒนาเครื่องรับที่ติดตั้งบนยานพาหนะซึ่งสามารถทำงานร่วมกับกลุ่มดาวเทียมแทบทุกชนิด ในการทดลองขับ พวกเขาขับออกไป 100 เมตร ก่อนจะตัด GPS และขับต่อไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตร ระบบ GPS-INS มาตรฐาน ระบุตำแหน่งที่แท้จริงของนักวิจัยผิดไป 500 เมตร ในขณะที่ระบบ STAN ผิดไปเพียง 4.4 เมตร

Zak Kassas จากกระทรวงคมนาคมของสหรัฐฯ กล่าวว่า "เราสามารถใช้สัญญาณของดาวเทียมเพื่อค้นหาตำแหน่งของตนเองได้อย่างแม่นยำ"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: IEEE Spectrum