วันอังคารที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

เทคโนโลยีเพื่อเลียนแบบการทำงานของผิวหนัง

e-skin
ภาพจาก  UNSW Sydney Newsroom (Australia)

นักวิทยาศาสตร์แห่ง University of New South Wales, Sydney (UNSW Sydney) ของออสเตรเลีย ได้ออกแบบผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์ (e-skin) โดยการรวมไซแนปส์ (synapes) เทียมเข้ากับเซ็นเซอร์ที่ซับซ้อน 

อุปกรณ์สามารถตรวจจับสิ่งเร้าเชิงกลสำหรับการประมวลผลข้อมูลในขณะที่ใช้พลังงานเพียงเล็กน้อย Dewei Chu จาก UNSW Sydney กล่าวว่า "กระแสไฟฟ้าที่จ่ายพลังงานให้กับอุปกรณ์ของเรานั้นสอดคล้องกับความแรงของการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทสองตัว และเราได้ใช้สิ่งเร้าไฟฟ้าเพื่อควบคุมสื่อนำไฟฟ้าของอุปกรณ์เพื่อเลียนแบบพฤติกรรมของซินแนปติกในมนุษย์"

Chu กล่าวว่าเซ็นเซอร์สามารถรับรู้ความเครียดที่เกิดขึ้นและสร้างสัญญาณไฟฟ้าที่แตกต่างกันเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนรูปในแบบต่าง ๆ

เซ็นเซอร์สามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวที่ละเอียดอ่อนของมนุษย์และตรวจสอบสัญญาณทางสรีรวิทยา เช่น ชีพจรที่ข้อมือ การหายใจ และการสั่นสะเทือนของสายเสียง

อ่านข่าวเต็มได้ที่: UNSW Sydney Newsroom (Australia)

วันเสาร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2566

หนึ่งในสี่ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประสบปัญหาความหน่วงในเว็บเบราว์เซอร์

cartoon,am-sweeping-browser-tab
ภาพจาก Aalto University (Finland)

นักวิจัยจาก Aalto University ของฟินแลนด์พบว่าประมาณ 25% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมองว่าความหน่วงของเบราว์เซอร์เป็นปัญหาร้ายแรง

ในการรีวิวผลการสำรวจออนไลน์และการสัมภาษณ์ นักวิจัยสังเกตเห็นความเครียดที่เกี่ยวข้องกับความหน่วงที่เพิ่มขึ้นในกลุ่มบุคคลที่มีแท็บและหน้าต่างเบราว์เซอร์เปิดไว้เป็นจำนวนมาก

นักวิจัยพิจารณาพฤติกรรมการท่องเว็บที่ก่อให้เกิดความหน่วง และระบุว่าทางแก้ที่เน้นไปที่ปัญหา เช่น การกำหนดขีดจำกัดสูงสุดสำหรับจำนวนแท็บที่เปิดได้ในครั้งเดียว ประสบความสำเร็จมากที่สุดในการลดความหน่วงของเบราว์เซอร์

นักวิจัยยังพบว่ากลยุทธ์ที่เน้นเรื่องอารมณ์ เช่น การเปลี่ยนทัศนคติต่อความหน่วงของเบราว์เซอร์ อาจป้องกันผู้ใช้จากการได้ประโยชน์จากทางแก้ปัญหาที่สามารถขจัดปัญหาได้จริง และเทคนิคการจัดระเบียบ เช่น เครื่องมือจัดการแท็บ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Aalto University (Finland)

วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2566

หุ่นยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ไล่ล่าหาวัสดุชนิดใหม่

AI-Lab
ภาพจาก Science

นักวิจัยของ Lawrence Berkeley National Laboratory (LBNL) กำลังใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์เพื่อทำให้การทำนายวัสดุชนิดใหม่ และสร้างตัวอย่างทางกายภาพเป็นไปโดยอัตโนมัติ

ใน A-Lab ของ LBNL ตัว AI จะใช้ความเข้าใจด้านเคมีเพื่อกำหนดวิธีการที่น่าเชื่อถือในการสังเคราะห์วัสดุ จากนั้นจึงนำทางแขนกลให้เลือกจากวัสดุเริ่มต้นที่เป็นผงประมาณ 200 ชนิด

หุ่นยนต์อีกตัวจะกระจายส่วนผสมลงในถ้วยใส่ตัวอย่างที่ใส่ลงในเตาหลอมและผสมกับก๊าซต่าง ๆ AI คำนวณเวลาในการอบ อุณหภูมิ และเวลาในการอบแห้ง 

ตัวอย่างที่สร้างเสน็จแล้วจะถูกเคลื่อนย้ายโดยแขนกลไปยังอุปกรณ์อื่นเพื่อวิเคราะห์ กระบวนการจะเริ่มต้นอีกครั้งหากผลลัพธ์ไม่ตรงกับที่ทำนายไว้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Science

วันศุกร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2566

Mac ของ Apple อาจไม่ปลอดภัยจากซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่

apple-mac-book
ภาพจาก Ars Technica

นักวิจัยด้านความปลอดภัยกำลังวิเคราะห์ตัวอย่างแรนซัมแวร์ Mac ที่เพิ่งค้นพบจากแก๊งค์ LockBit ในรัสเซีย ซึ่งเป็นตัวอย่างแรกของกลุ่มซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware) รายใหญ่ที่ปรับแต่งมัลแวร์เวอร์ชันสำหรับ macOS

ดูเหมือนว่าจะมีการพบกลุ่มตัวอย่างครั้งแรกในพื้นที่เก็บข้อมูลการวิเคราะห์มัลแวร์ของ VirusTotal ในเดือนพฤศจิกายน/ธันวาคม 2022 แต่เพิ่งสังเกตเห็นชัดในวันที่ 17 เมษายน ที่ผ่านมา ตัวอย่างหนึ่งดูเหมือนจะเป็นเวอร์ชันของตัวเข้ารหัส (encryptor) ที่กำหนดเป้าหมายไปยัง Mac รุ่นใหม่ที่ใช้โปรเซสเซอร์ของ Apple และ Mac รุ่นเก่าที่ขับเคลื่อนด้วยชิป PowerPC

Patrick Wardle จาก The Objective-See Foundation กล่าวว่า “ในแง่หนึ่ง Apple นำหน้าภัยคุกคาม เนื่องจาก macOS เวอร์ชันล่าสุดมาพร้อมกับกลไกการรักษาความปลอดภัยในตัวมากมายที่มีเป้าหมายเพื่อขัดขวางโดยตรงหรืออย่างน้อยก็ลดผลกระทบจากการโจมตีของซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่

อย่างไรก็ตาม กลุ่มซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ที่ได้รับทุนสนับสนุนอย่างดีจะยังคงปรับปรุงผลงานที่เป็นอันตรายต่อไป”

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica

วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2566

วิศวกรซอฟต์แวร์มีความสร้างสรรค์ขึ้นขณะเฝ้ารอการมาถึงของคอมพิวเตอร์ควอนตัม

molecule-simulation
ภาพจาก Reuters

บริษัทสตาร์ตอัพกำลังพัฒนาซอฟต์แวร์ประเภทใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากควอนตัมอัลกอริทึมที่สามารถนำมาปรับใช้กับคอมพิวเตอร์แบบคลาสสิกที่มีหน่วยประมวลผลกราฟิก หรือ GPU ในขณะที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัมดำเนินต่อไป

Matt Johnson จาก QC Ware กล่าวว่าบริษัทใช้ GPU ของ Nvidia เพื่อนำเสนอ "การเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพครั้งใหญ่" แก่ลูกค้า ในขณะเดียวกันก็เป็น "สะพานเชื่อมสู่การประมวลผลแบบควอนตัมในอนาคต"

Promethium แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากควอนตัมของ QC Ware ใช้ GPU เพื่อจำลองโมเลกุลของสารเคมีในคอมพิวเตอร์แบบดั้งเดิม

Robert Parrish จาก QC Ware กล่าวว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวสามารถลดเวลาการจำลองให้เหลือในหลักนาทีสำหรับโมเลกุลที่มีอะตอมไม่เกิน 100 อะตอม และหลักชั่วโมงสำหรับโมเลกุลที่มีอะตอมไม่เกิน 2,000 อะตอม

ในขณะเดียวกัน Alphabet spinoff SandBoxAQ นำเสนออัลกอริทึมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากควอนตัม ซึ่งอำนวยความสะดวกในการจำลองทางเภสัชโดยใช้ชิปปัญญาประดิษฐ์ Tensor Processing Unit (TPU) ของ Google

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters