วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ระบบนำทางจะมีความแม่นยำในระดับ 10 เซ็นติเมตร

car-with-gps
Photo by Brecht Denil on Unsplash

นักวิจัยจาก Delft University of Technology (TU Delft), Vrije Universiteit Amsterdam, และ VSL National Metrology  จากเนเเธอร์แลนด์ ได้พัฒนาระบบนำทางที่มีความแม่นยำได้ถึงในระยะ 10 เซนติเมตร (3.9 นิ้ว) 

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ SuperGPS เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานการระบุตำแหน่งทางเลือกที่ใช้เครือข่ายโทรคมนาคมเคลื่อนที่มากกว่าดาวเทียม เครือข่ายของระบบเชื่อมโยงกับนาฬิกาแบบอะตอมิก (atomic clock) เพื่อส่งข้อความที่กำหนดเวลาได้อย่างสมบูรณ์แบบสำหรับการระบุตำแหน่ง

ระบบยังใช้สัญญาณวิทยุที่มีแบนด์วิดท์ขนาดใหญ่ผิดปกติ ซึ่ง Gerard Janssen แห่ง TU Delft กล่าวว่า "ช่วยให้ระบุตำแหน่งได้แม่นยำยิ่งขึ้น"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: TU Delft (Netherlands)


วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์คล้ายผิวหนังอาจติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

AI-Skin
ภาพจาก Argonne National Laboratory

นักวิทยาศาสตร์จาก Argonne National Laboratory ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ, University of Chicago, Tongji University ของจีน, และ University of Southern California กำลังพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สวมใส่ได้และมีความยืดหยุ่นซึ่งสามารถตรวจสอบสุขภาพของผู้สวมใส่ได้

นักวิจัยได้สร้างชิป neuromorphic ที่มีลักษณะคล้ายผิวหนังจากฟิล์มเซมิคอนดักเตอร์พลาสติกที่รวมเข้ากับอิเล็กโทรดลวดนาโนทองคำที่ยืดหยุ่นได้ ในการทดลองหนึ่ง นักวิจัยได้รวบรวมและฝึกอุปกรณ์ปัญญาประดิษฐ์เพื่อแยกสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่แข็งแรงออกจากสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ ซึ่งทำได้ด้วยความแม่นยำมากกว่า 95%

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Argonne National Laboratory

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

FIFA บอกว่าเทคโนโลโยีจะช่วยการจัดสินใจเรื่องการล้ำหน้าได้แม่นยำและเร็วขึ้นในบอลโลกคราวนี้

Pierluigi-Collina
Pierluigi Collina ภาพจาก Reuters 

Pierluigi Collina  จากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือ FIFA บอกว่าเทคโนโลยี VAR จะช่วยให้การตัดสินในเรื่องลูกล้ำหน้าได้แม่นยำขึ้นฝนฟุตบอลโลกที่การ์ตาร์ 

"เทคโนโลยีล้ำหน้ากึ่งอัตโนมัติ" จะตัดสินได้แม้กระทั่งในสถานการณ์ที่ยากที่สุดได้เร็วกว่าระบบก่อนหน้า โดยใช้เหตุการณ์ที่เป็นภาพเคลื่อนไหวสามมิติที่แสดงในสนามกีฬาและในทีวี กล้องหลายสิบตัวรอบสนามจะตรวจสอบ 29 จุดในร่างกายนักฟุตบอล ในขณะที่เซ็นเซอร์ที่อยู่ในลูกบอลจะส่งข้อมูลไปยังควบคุม VAR 500 ครั้งต่อวินาที 

ระบบ VAR ได้รับการทดสอบในทัวร์นาเมนต์ FIFA สองรายการและใช้ทดสอบในสนามที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกทั้งหมด Johannes Holzmueller ของ FIFA กล่าวว่า "ผลลัพธ์เป็นไปในเชิงบวกอย่างมาก"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

กลุ่มของแม็คบุ๊กอาจมีประสิทธิภาพเท่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์

Macbook
ภาพจาก New Scientist

Collin Capano และ Connor Kenyon จาก University of Massachusetts, Dartmouth ได้สร้างคลัสเตอร์ของแล็ปท็อป ของ Apple เพื่อให้สามารถทำหน้าที่เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ได้ 

แล็ปท็อปใช้โพรเซสเซอร์ M1 จาก Arm ผู้ผลิตชิปในสหราชอาณาจักร ซึ่งรวมเอาองค์ประกอบทั้งหมดที่คอมพิวเตอร์ต้องการเอาไว้ในโพรเซสเซอร์ 

Capano ใช้เกณฑ์มาตรฐานการประมวลผลแบบต่างกันที่ปรับขนาดได้ (Scalable Heterogeneous Computing Benchmark) เพื่อเปรียบเทียบชิป M1 และ M1 Ultra ของ Apple กับหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ที่ทันสมัย ชิป M1 มีประสิทธิภาพเหนือกว่า NVIDIA GPU สามเวอร์ชันในสามประเด็นหลัก 

การใช้เทคโนโลยีที่เฉพาะตัวของอุปกรณ์ M1 นั้นต้องการวิธีการเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ และกระจายการคำนวณขนาดใหญ่ไปให้ทั่วทั้งคลัสเตอร์ "นี่หมายถึงต้องเขียนโค้ดสำหรับโปรเซสเซอร์เหล่านี้โดยเฉพาะ" Capano กล่าว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: New Scientist

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ตัวตรวจจับ Deepfake สามารถแยกวีดีโอจริงหรือปลอมได้จากการไหลเวียนของเลือด

Fake-Text
Photo by Markus Spiske on Unsplash

ยักษ์ใหญ่ด้านเซมิคอนดักเตอร์ Intel อ้างว่าเทคโนโลยี FakeCatcher ของตัวเอง สามารถตรวจจับได้ว่าวิดีโอเป็นของแท้หรือของปลอม (deepfake) ด้วยความแม่นยำ 96% แบบเรียลไทม์ 

จากการกล่าวอ้างของบริษัท เทคโนโลยีนี้ประเมิน "สิ่งที่ทำให้เราเป็นมนุษย์นั่นคือ—'การไหลเวียนเลือด' ในพิกเซลของวิดีโอ" 

Intel อธิบายว่า FakeCatcher สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของสีในเส้นเลือดของบุคคลโดยพิจารณาจากการไหลเวียนของเลือดทั่วร่างกาย เทคโนโลยีนี้รวบรวมสัญญาณการไหลเวียนของเลือดจากใบหน้า ซึ่งอัลกอริธึมจะวัดเพื่อระบุความถูกต้องของวิดีโอ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: ZDNet