วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ข้อมูลที่ไม่มีขื่อไม่ได้หมายความว่าจะมีความเป็นส่วนตัว

neural-network
ภาพจาก Illinois Institute of Technology

นักวิจัยของ Illinois Institute of Technology (Illinois Tech) ใช้การเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning) และอัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) เพื่อกรองข้อมูลส่วนบุคคลจากข้อมูลมือถือที่ไม่ระบุชื่อ

ตัวแบบโครงข่ายประสาทเทียมประเมินเพศ และอายุของผู้ใช้แต่ละราย ผ่านการสื่อสารส่วนตัวโดยนำข้อมูลมาจากบริษัทโทรศัพท์มือถือในละตินอเมริกา 

อัลกอริทึมคาดเดาเพศของบุคคลด้วยความแม่นยำ 67% และตาดเดาอายุด้วยความแม่นยำ 78% ซึ่งทำได้ดีกว่าโมเดลปัจจุบันอย่างมาก 

นักวิจัยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่หาได้ทั่วไปเพื่อดึงข้อมูลนี้ และแม้ว่าชุดข้อมูลที่พวกเขาใช้จะไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ แต่คนร้ายก็สามารถรวบรวมชุดข้อมูลที่คล้ายกันได้โดยการรวบรวมข้อมูลผ่านฮอตสปอต Wi-Fi สาธารณะ หรือมุ่งเป้าไปที่ผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านการประมวลผล Vijay จาก Illinois Tech กล่าว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Illinois Institute of Technology


วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2565

จะเก็บข้อมูลไว้เป็นพันปีได้อย่างไร

storage-center
ภาพจาก BBC News

นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษา DNA เพื่อใช้เป็นสื่อบันทึกข้อมูลสำหรับเก็บรักษาข้อมูลดิจิทัลให้อยู่ได้นานกว่าอายุของฮาร์ดแวร์ในปัจจุบัน นักวิจัยระบุว่า DNA มีประสิทธิภาพและความทนทานที่เหนือกว่า ถ้าเก็บไว้ในที่เย็นและแห้งจะอยู่ได้เป็นเวลาหลายศตวรรษ

ความหนาแน่นอย่างมากของโมเลกุลจะทำให้มีความจุจำนวนมหาศาล หมายความว่าข้อมูลที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดในปี 2025 สามารถบรรจุอยู่ในห้องสมุดดีเอ็นเอขนาดเท่าลูกปิงปองเท่านั้น 

การห่อหุ้ม DNA ในวัสดุอย่างเช่น ลูกแก้ว ยังช่วยเพิ่มการป้องกันได้ และนักวิจัยแนะนำว่าการจัดเก็บ DNA ที่ห่อหุ้มไว้ในตู้น้ำแข็งอาจทำให้มันเป็นอมตะ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: BBC News


วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2565

AI บอกได้ว่าตึกไหนมีการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพได้จากการดูจากภายนอก

buildings
ภาพจาก New Scientist

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Stanford และ IBM Research Europe ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ  AI เพื่อวัดประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอาคารจากภายนอกตึก 

นักวิจัยได้ฝึกอบรมและทดสอบ AI ในการสำรวจระยะไกล และการใช้ข้อมูลสาธารณะของอาคารเกือบ 40,000 แห่งในสหราชอาณาจักร โดยได้รวม Google Street View และภาพถ่ายทางอากาศ การวัดการสูญเสียความร้อนในอาคารโดยใช้ดาวเทียม และข้อมูลเกี่ยวกับขนาดอาคารและวัสดุก่อสร้างแต่ละรายการ

ทีมงานมอบหมายให้ AI คาดการณ์ระดับพลังงานของอาคาร 3,700 แห่งโดยใช้ข้อมูลสาธารณะ โดยได้คะแนนประสิทธิภาพประมาณ 70% เทียบกับ 45% ที่สร้างโดยตัวแบบที่สร้างขึ้นเพื่อคาดการณ์สิ่งเดียวกัน

Qunshan Zhao จากมหาวิทยาลัย Glasgow แห่งสหราชอาณาจักรกล่าว "ประโยชน์ของการใช้ภาพเหล่านี้คือคุณจะสามารถขยายการวิเคราะห์ด้วน AI นี้ ไปใช้งานในระดับโลกได้"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: New Scientist

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจเป็นภัยคุกตามต่อซุปเปอร์คอมพิวเตอร์

cover-computer-with-umbrella
ภาพจาก  Science

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเป็นอันตรายต่อการทำงานของอุปกรณ์ประมวลผลประสิทธิภาพสูง (high performance computing) หรือ HPC 

Natalie Bates จากห้อง Lawrence Livermore National Laboratory (LLNL) ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ กล่าวว่าอุปกรณ์ดังกล่าว ซึ่งรวมถึงซุปเปอร์คอมพิวเตอร์และศูนย์ข้อมูล มีความเสี่ยงเนื่องจากความต้องการระบบหล่อเย็นที่มีประสิทธิภาพสูง และการใช้พลังงานจำนวนมาก

ความชื้นที่เพิ่มขึ้นซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสามารถลดประสิทธิภาพของเครื่องทำความเย็นแบบระเหยที่ศูนย์ HPC หลายแห่งต้องพึ่งพา และยังอาจทำให้ระบบมีความเสี่ยงที่จะระเบิด 

Nicolas Dubé ของ Hewlett Packard Enterprise กล่าวว่าค่าใช้จ่ายในการอัพเกรดอุปกรณ์ให้มีความสามารถสูงขึ้นเพื่อปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้ผลักดันให้ศูนย์ HPC บางแห่งไปยังสถานที่ที่เย็นกว่าและแห้งกว่า เช่น แคนาดาและฟินแลนด์

Anna-Maria Bailey แห่ง LLNL กล่าวว่าค่าใช้จ่ายในการย้ายที่ตั้งอาจสูงมากจนจ่ายไม่ไหว ดังนั้นโรงงานในแคลิฟอร์เนียจึงกำลังพิจารณาที่จะย้ายคอมพิวเตอร์ไปไว้ใต้ดิน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Science

เพิ่มเติมเสริมข่าว: อนาคตคงได้ลงไปอยู่ใต้ดินกันจริง ๆ ละมั้งครับแบบนี้ ไม่ใช่แค่ในหนังอีกต่อไปแล้ว

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2565

แอปสมาร์ตโฟนอาจช่วยตรวจจับอาการโรคพาร์กินสันในระยะเริ่มต้นและโควิด-19 ที่ร้ายแรง

human-using-smartphone
Photo by Jonas Leupe on Unsplash

แอปที่พัฒนาโดยทีมวิจัยที่นำโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย RMIT ของออสเตรเลีย สามารถปรับปรุงการจัดการโรคพาร์กินสันและโควิด-19 ที่รุนแรงได้ผ่านการตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น

แอปตรวจคัดกรองใช้การบันทึกเสียงโดยใช้เวลา 10 วินาที เพื่อดูว่าผู้ใช้ควรได้รับการส่งต่อไปยังผู้ให้บริการดูแลสุขภาพเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาหรือไม่

แอปสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของเสียงของบุคคลอันเนื่องมาจากการแข็งเกร็ง การสั่น และความช้า ซึ่งเกิดจากโรคพาร์กินสัน และการเปลี่ยนแปลงของเสียงของบุคคลอันเนื่องมาจากการติดเชื้อในปอดจากโควิด-19

เครื่องมือนี้ได้รับการฝึกฝนโดยใช้เสียงที่บันทึกไว้จากผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสันและโรคปอด และกลุ่มบุคคลที่มีสุขภาพดี พบว่าทำได้เร็วและแม่นยำกว่าวิธีการที่คล้ายกัน

Dinesh Kumar จาก RMIT กล่าวว่า "การวิจัยครั้งนี้จะช่วยให้ทำการทดสอบในรูปแบบที่ไม่ต้องสัมผัส ใช้งานง่าย และราคาประหยัด ซึ่งสามารถทำได้เป็นประจำที่ใดก็ได้ในโลก โดยที่แพทย์สามารถติดตามผู้ป่วยได้จากระยะไกล"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: News-Medical Life Sciences