วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2568

อิสราเอลเตรียมเปิดครูสอนพิเศษที่ขับเคลื่อนด้วย AI ในระดับประเทศ

e-Self-AI
ภาพจาก The Jerusalem Post (Israel)

ความร่วมมือระหว่าง Center for Educational Technology ผู้ผลิตหนังสือเรียน K-12 ของอิสราเอล และแพลตฟอร์ม AI eSelf จะช่วยให้นักเรียนทุกคนในอิสราเอลสามารถเข้าถึงครูสอนพิเศษ AI ส่วนตัวได้ 

อวตารแบบอินเทอร์แอกทีฟซึ่งสามารถปรับแต่งรูปลักษณ์และบุคลิกภาพได้เหล่านี้ จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหา ฝึกทำโจทย์ และเตรียมตัวสอบ อวตารเหล่านี้จะปรับตัวให้เข้ากับจุดแข็งและจุดอ่อนของนักเรียนแต่ละคน และปรับปรุงบทเรียนตามความจำเป็น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Jerusalem Post (Israel)

วันอาทิตย์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2568

FBI บอกว่าอาชญากรรมไซเบอร์สร้างความเสียหายเกินหมื่นหกพันล้านเหรียญในปี 2024

FBI
Photo by David Trinks on Unsplash

ศูนย์รับแจ้งความอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตของสำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ FBI กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ทั่วโลกสูงถึงหมื่นหกพันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2024 เพิ่มขึ้นหนึ่งในสามจากปีก่อนหน้า 

รายงานของ FBI ซึ่งอิงจากการร้องเรียนเกือบ 860,000 รายการ ส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกา ระบุว่า กลโกงที่ไม่ซับซ้อน กลโกงที่อ้างการสนับสนุนด้านเทคนิค และกลโกงเกี่ยกับการหลอกให้รักคิดเป็นมูลค่าความเสียหายส่วนใหญ่ 

FBI ยังบอกว่า การคำนวณของพวกเขายังไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware)


อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters โดย Raphael Satter

วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2568

การค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ของการโต้ตอบระหว่างสัตว์กับคอมพิวเตอร์

animal-computer-interaction
ภาพจาก University of Glasgow (U.K.)

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จาก University of Glasgow และเจ้าหน้าที่ดูแลสัตว์จากสวนสัตว์เปิด Blair Drummond Safari Park ในสกอตแลนด์ ได้ทดสอบระบบอินเทอร์แอกทีฟที่ช่วยให้ลิงลีเมอร์แดงและมนุษย์สามารถแบ่งปันประสบการณ์หลากหลายประสาทสัมผัส (multisensory experiences) ได้ 

ระบบ SensorySafari ซึ่งติดตั้งเซ็นเซอร์อินฟราเรด ช่วยให้ลิงลีเมอร์สามารถกระตุ้นวิดีโอ เสียง กลิ่น หรือการผสมผสานของสองอย่างขึ้นไป ลิงลีเมอร์กระตุ้นอุปกรณ์บ่อยขึ้นเมื่อองค์ประกอบอินเทอร์แอกทีฟทำงาน และชอบกลิ่นมากกว่าวิดีโออย่างเดียว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Glasgow (U.K.)

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2568

ฝึก AI ระดับความเร็วแสง

light-inside-the-chip
ภาพจาก Penn Engineering โดย Ian Scheffler

วิศวกรจาก University of Pennsylvania หรือ UPenn ได้พัฒนาชิปที่ตั้งโปรแกรมได้ ซึ่งสามารถฝึกโครงข่ายประสาทเทียมแบบไม่เชิงเส้นโดยใช้แสง ความก้าวหน้านี้อาศัยวัสดุเซมิคอนดักเตอร์พิเศษที่สามารถจัดการได้ด้วยแสงที่ป้อนเข้าไป 

“เราไม่ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของชิป” Liang Feng จาก UPenn  อธิบาย “เราใช้ลำแสงเองในการสร้างรูปแบบภายในวัสดุ ซึ่งจากนั้นจะปรับรูปร่างการเคลื่อนที่ของแสงผ่านมัน” 

ในการทดสอบ แพลตฟอร์มนี้มีความแม่นยำมากกว่า 97% ในงานตัดสินใจแบบไม่เชิงเส้นอย่างง่าย และมากกว่า 96% ในชุดข้อมูลดอกไอริส ซึ่งเป็นข้อมูลมาตรฐานการเรียนรู้ของเครื่อง (machine learning)

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Penn Engineering โดย Ian Scheffler

 

วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2568

ประเทศไทยเปิดตัวตำรวจหุ่นยนต์

Thai-Robot-Police
ภาพจาก The Nation (Thailand)

ตำรวจไทย ได้เปิดตัวหุ่นยนต์ตำรวจ AI ตัวแรกของประเทศไทยในงานเทศกาลสงกรานต์ที่จังหวัดนครปฐมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (16 เมษายน 2568)  

"AI Police Cyborg 1.0" มีกล้อง AI 360 องศาที่เชื่อมโยงกับศูนย์บัญชาการและควบคุมของจังหวัด นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยี AI ในตัวที่สามารถวิเคราะห์ภาพสดจากกล้องวงจรปิดและโดรนได้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Nation (Thailand) 

วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2568

ทำให้โค้ดภาษาใด ๆ ที่สร้างขึ้นด้วย AI แม่นยำขึ้น

programming-code
ภาพจาก MIT News โดย Adam Zewe

ทีมนักวิจัยนานาชาติได้พัฒนาเฟรมเวอร์ก (framework) เพื่อปรับปรุงโค้ดที่สร้างโดย AI นักวิจัยได้ใส่ความรู้ที่ผู้เชี่ยวชาญจะมีลงในโมเดลภาษาขนาดใหญ่ เพื่อนำทางให้สร้างผลลัพธ์ที่มีแนวโน้มดีที่สุด และเป็นไปตามกฎของภาษาโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง 

โครงร่างนี้จะกำหนดน้ำหนักให้กับแต่ละผลลัพธ์ตามความน่าจะเป็นที่จะมีความแม่นยำในแง่ความหมาย และถูกต้องตามโครงสร้าง โดยกำจัดผลลัพธ์ที่มีน้ำหนักต่ำกว่าในแต่ละขั้นตอนของการคำนวณ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News โดย Adam Zewe 

วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2568

ทารกเกิดมาด้วยระบบฉีดอสุจิด้วยหุ่นยนต์

ICSI-System
ภาพจาก Interesting Engineering โดย Srishti Gupta

นักวิจัยจาก Conceivable Life Sciences ได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อทำให้ระบบ intracytoplasmic sperm injection (ICSI) ซึ่งใช้ในการฉีดเซลล์อสุจิเข้าไปในไข่ที่โตเต็มวัย เป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งผลก็คือหญิงวัย 40 ปี ให้กำเนิดเด็กชายที่มีสุขภาพแข็งแรง 

ระบบนี้ใช้เลเซอร์ในการตรึงและนำทางเซลล์อสุจิเข้าไปในไข่ ซึ่งมีประสิทธิภาพด้านความแม่นยำเหนือกว่ากระบวนการที่ทำด้วยมือ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Interesting Engineering โดย Srishti Gupta

วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2568

ยุโรปเปิดเผยแผนการที่จะเป็น "ทวีปแห่ง AI"

artificial-intelligence
ภาพจาก CNBC โดย Ryan Browne

เมื่อวันที่ 9 เมษายน คณะกรรมาธิการยุโรปได้เปิดตัว "แผนปฏิบัติการทวีป AI" เพื่อช่วยให้กลุ่มประเทศในยุโรปสามารถแข่งขันกับสหรัฐฯ และจีนในด้าน AI ได้ดียิ่งขึ้น 

คณะกรรมาธิการกล่าวว่า แผนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ "เปลี่ยนอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่แข็งแกร่งของยุโรป และกลุ่มผู้มีความสามารถพิเศษ ให้กลายเป็นเครื่องยนต์ที่ทรงพลังในด้านนวัตกรรม และการเร่งการเติบโตของ AI" 

แผนนี้เรียกร้องให้มีการพัฒนาเครือข่ายโรงงาน AI, "gigafactories" และห้องปฏิบัติการเฉพาะทางเพื่อเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลการฝึกอบรมคุณภาพสูงของสตาร์ทอัพ

อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNBC โดย Ryan Browne

วันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2568

สหประชาชาติเตือน AI อาจส่งผลกระทบต่องาน 40% ทั่วโลกในทศวรรษหน้า

robot-using-computing-device
ภาพจาก Euronews โดย Anna Desmarais

จากรายงานของ U.N. Department of Trade and Development ระบุว่า 40% ของงานทั่วโลกอาจได้รับผลกระทบจาก AI ในทศวรรษหน้า 

รายงานยังตั้งข้อสังเกตว่าเกือบครึ่งหนึ่งของการใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาทั่วโลกใน AI เกี่ยวกับกับบริษัท 100 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐฯ และจีน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Euronews โดย Anna Desmarais


วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2568

นักวิจัยศึกษาภัยคุกคาม AI ในการพัฒนาซอฟต์แวร์

coding-man
ภาพจาก UTSA Today โดย Ari Castañeda

นักวิจัยนำโดย Joe Spracklen นักศึกษาปริญญาเอกสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จาก University of Texas at San Antonio ได้วิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับ package hallucinations ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model) หรือ LLM สร้างโค้ดที่เชื่อมโยงไปยังไลบรารีซอฟต์แวร์ของบุคคลที่สามที่ไม่มีอยู่จริง 

สิ่งนี้จะทำให้แฮ็กเกอร์สามารถสร้าง package ใหม่ที่มีชื่อเดียวกับ package ที่ hallucinate และแทรกโค้ดที่เป็นอันตรายได้ นักวิจัยพบว่า LLM แบบโอเพนซอร์สมีแนวโน้มที่จะสร้าง package hallucinations มากกว่าโมเดล GPT ถึงสี่เท่า และ JavaScript มีแนวโน้มที่จะเกิด hallucinations มากกว่า Python

อ่านข่าวเต็มได้ที่: UTSA Today โดย Ari Castañeda


วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2568

ทรัมป์ขยายเส้นตายให้ TikTok เป็นครั้งที่สอง

TikTok
Photo by Nik on Unsplash

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐฯ ได้ขยายกำหนดเส้นตายอีกครั้ง โดยกำหนดให้ ByteDance ของจีนขายกิจการ TikTok ในสหรัฐฯ หรือไม่ก็ต้องถูกห้ามใช้งานในประเทศอย่าง 

Trump กล่าวว่าข้อตกลง TikTok "ต้องมีการทำงานเพิ่มเติมเพื่อให้แน่ใจว่าข้ออนุญาตที่จำเป็นทั้งหมดจะถูกเซ็น" 

การขยายกำหนดเส้นตายล่าสุดนี้เลื่อนกำหนดเส้นตายของ TikTok ไปจนถึงกลางเดือนมิถุนายน เส้นตายเดิมที่ ByteDance ถูกกำหนดให้ขาย TikTok คือวันที่ 5 เมษายน 

ภายใต้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติที่อดีตประธานาธิบดีไบเดนของสหรัฐฯ ลงนามเมื่อปีที่แล้ว กำหนดเส้นตายเริ่มต้นคือวันที่ 19 มกราคม แต่คำสั่งพิเศษของทรัมป์ให้เวลาบริษัทเพิ่มอีก 75 วัน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: CNBC โดย Jonathan Vanian