วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

โลกเราสร้างข้อมูลมหาศาลจนต้องคิดหน่วยเก็บข้อมูลใหม่

data-visualization
ภาพจาก NPR

คำนำหน้าใหม่สี่ตัวของระบบหน่วยวัดสากล (International System of Units) ถูกประกาศในงาน General Conference on Weights and Measures  ครั้งที่ 27 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการขยายหน่วยวัดมาตราเมตริกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 

คำนำหน้าใหม่ได้แก่ ronna (ศูนย์ 27 ตัวตามหลังเลขตัวแรก) quetta (ศูนย์ 30 ตัว) สำหรับด้านบนสุดของช่วงการวัด และ ronto (ศูนย์ 27 ตัวหลังจุดทศนิยม) และ quecto (ศูนย์ 30 ตัว) ที่ด้านล่างของหน่วยวัด 

ห้องปฏิบัติการทางกายภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร (National Physical Laboratory) หรือ NPL กล่าวว่า "การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ได้รับแรงผลักดันจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของวิทยาศาสตร์ข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลดิจิทัล ซึ่งใช้คำนำหน้าที่ด้านบนสุดของช่วงที่มีอยู่แล้วไปแล้ว (yottabytes และ zettabytes สำหรับการแสดงข้อมูลดิจิทัลปริมาณมาก)

NPL ระบุว่า ronto และ quecto จะมีประโยชน์ในวิทยาศาสตร์ควอนตัมและฟิสิกส์ของอนุภาค

อ่านข่าวเต็มได้ที่: NPR

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ระบบนำทางจะมีความแม่นยำในระดับ 10 เซ็นติเมตร

car-with-gps
Photo by Brecht Denil on Unsplash

นักวิจัยจาก Delft University of Technology (TU Delft), Vrije Universiteit Amsterdam, และ VSL National Metrology  จากเนเเธอร์แลนด์ ได้พัฒนาระบบนำทางที่มีความแม่นยำได้ถึงในระยะ 10 เซนติเมตร (3.9 นิ้ว) 

งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ SuperGPS เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานการระบุตำแหน่งทางเลือกที่ใช้เครือข่ายโทรคมนาคมเคลื่อนที่มากกว่าดาวเทียม เครือข่ายของระบบเชื่อมโยงกับนาฬิกาแบบอะตอมิก (atomic clock) เพื่อส่งข้อความที่กำหนดเวลาได้อย่างสมบูรณ์แบบสำหรับการระบุตำแหน่ง

ระบบยังใช้สัญญาณวิทยุที่มีแบนด์วิดท์ขนาดใหญ่ผิดปกติ ซึ่ง Gerard Janssen แห่ง TU Delft กล่าวว่า "ช่วยให้ระบุตำแหน่งได้แม่นยำยิ่งขึ้น"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: TU Delft (Netherlands)


วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์คล้ายผิวหนังอาจติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

AI-Skin
ภาพจาก Argonne National Laboratory

นักวิทยาศาสตร์จาก Argonne National Laboratory ของกระทรวงพลังงานสหรัฐ, University of Chicago, Tongji University ของจีน, และ University of Southern California กำลังพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สวมใส่ได้และมีความยืดหยุ่นซึ่งสามารถตรวจสอบสุขภาพของผู้สวมใส่ได้

นักวิจัยได้สร้างชิป neuromorphic ที่มีลักษณะคล้ายผิวหนังจากฟิล์มเซมิคอนดักเตอร์พลาสติกที่รวมเข้ากับอิเล็กโทรดลวดนาโนทองคำที่ยืดหยุ่นได้ ในการทดลองหนึ่ง นักวิจัยได้รวบรวมและฝึกอุปกรณ์ปัญญาประดิษฐ์เพื่อแยกสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่แข็งแรงออกจากสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพ ซึ่งทำได้ด้วยความแม่นยำมากกว่า 95%

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Argonne National Laboratory

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

FIFA บอกว่าเทคโนโลโยีจะช่วยการจัดสินใจเรื่องการล้ำหน้าได้แม่นยำและเร็วขึ้นในบอลโลกคราวนี้

Pierluigi-Collina
Pierluigi Collina ภาพจาก Reuters 

Pierluigi Collina  จากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติหรือ FIFA บอกว่าเทคโนโลยี VAR จะช่วยให้การตัดสินในเรื่องลูกล้ำหน้าได้แม่นยำขึ้นฝนฟุตบอลโลกที่การ์ตาร์ 

"เทคโนโลยีล้ำหน้ากึ่งอัตโนมัติ" จะตัดสินได้แม้กระทั่งในสถานการณ์ที่ยากที่สุดได้เร็วกว่าระบบก่อนหน้า โดยใช้เหตุการณ์ที่เป็นภาพเคลื่อนไหวสามมิติที่แสดงในสนามกีฬาและในทีวี กล้องหลายสิบตัวรอบสนามจะตรวจสอบ 29 จุดในร่างกายนักฟุตบอล ในขณะที่เซ็นเซอร์ที่อยู่ในลูกบอลจะส่งข้อมูลไปยังควบคุม VAR 500 ครั้งต่อวินาที 

ระบบ VAR ได้รับการทดสอบในทัวร์นาเมนต์ FIFA สองรายการและใช้ทดสอบในสนามที่เป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกทั้งหมด Johannes Holzmueller ของ FIFA กล่าวว่า "ผลลัพธ์เป็นไปในเชิงบวกอย่างมาก"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Reuters

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

กลุ่มของแม็คบุ๊กอาจมีประสิทธิภาพเท่าซุปเปอร์คอมพิวเตอร์

Macbook
ภาพจาก New Scientist

Collin Capano และ Connor Kenyon จาก University of Massachusetts, Dartmouth ได้สร้างคลัสเตอร์ของแล็ปท็อป ของ Apple เพื่อให้สามารถทำหน้าที่เป็นซูเปอร์คอมพิวเตอร์ได้ 

แล็ปท็อปใช้โพรเซสเซอร์ M1 จาก Arm ผู้ผลิตชิปในสหราชอาณาจักร ซึ่งรวมเอาองค์ประกอบทั้งหมดที่คอมพิวเตอร์ต้องการเอาไว้ในโพรเซสเซอร์ 

Capano ใช้เกณฑ์มาตรฐานการประมวลผลแบบต่างกันที่ปรับขนาดได้ (Scalable Heterogeneous Computing Benchmark) เพื่อเปรียบเทียบชิป M1 และ M1 Ultra ของ Apple กับหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) ที่ทันสมัย ชิป M1 มีประสิทธิภาพเหนือกว่า NVIDIA GPU สามเวอร์ชันในสามประเด็นหลัก 

การใช้เทคโนโลยีที่เฉพาะตัวของอุปกรณ์ M1 นั้นต้องการวิธีการเชื่อมโยงเข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ และกระจายการคำนวณขนาดใหญ่ไปให้ทั่วทั้งคลัสเตอร์ "นี่หมายถึงต้องเขียนโค้ดสำหรับโปรเซสเซอร์เหล่านี้โดยเฉพาะ" Capano กล่าว

อ่านข่าวเต็มได้ที่: New Scientist