วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

เฟรมเวอร์ก Lightning ที่เพิ่งถูกค้นพบมีความสามารถมากมายในการแฮกลินุกซ์

malware
ภาพจาก Ars Technica

นักวิจัยจากบริษัทรักษาความปลอดภัย Intezer ได้เผยให้รู้จักเฟรมเวอร์ก Lightning ซึ่งเป็นเฟรมเวิร์กมัลแวร์แบบโมดูลาร์ที่ไม่มีเคยมีบันทึกเป้นเอกสารก่อนหน้านี้ โดยเฟรมเวอร์กนี้มุ่งโจมตีลินุกซ์ (Linux) หลังจากผู้โจมตีเข้าถึงระบบเป้าหมายแล้วก็จะติดตั้ง Lightning ลงไป โดย Lightning นำเสนอประสิทธิภาพและความเร็วที่เหมือนกันกับที่เฟรมเวิร์ก Djang มีให้สำหรับการพัฒนาเว็บ 

"Lightning มีความสามารถมากมาย และความสามารถในการติดตั้ง root kit มากมายหลายตัว รวมถึงความสามารถในการรันส่วนเสริม" Ryan Robinson จาก Intezer เขียน 

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Ars Technica

วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

นักวิจัยสร้างเซ็นเซอร์สำหรับดาวเทียมที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติ

censor-for-satellite
ภาพจาก  MIT News

นักวิทยาศาสตร์จาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ได้สร้างเครื่อง วิเคราะห์ศักยภาพการหน่วงเวลา (retarding potential analyzers) หรือ RPA ที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติทั้งหมด ซึ่งเป็นเซ็นเซอร์พลาสม่าที่ใช้โดยดาวเทียมเพื่อกำหนดองค์ประกอบทางเคมีและการกระจายพลังงานไอออนของบรรยากาศ 

เซ็นเซอร์ทำงานเช่นเดียวกับเซ็นเซอร์พลาสม่าเซมิคอนดักเตอร์ล้ำสมัยที่ผลิตในห้องปลอดเชื้อ ซึ่งทำให้มีราคาแพงและต้องใช้เวลาในการผลิตที่ซับซ้อนหลายสัปดาห์ ในทางตรงกันข้าม เซ็นเซอร์ที่พิมพ์ 3 มิติของ MIT สามารถผลิตได้ในหลักสิบดอลลาร์ในเวลาไม่กี่วัน ทำให้เหมาะสำหรับดาวเทียมขนาดเล็ก CubeSat 

นักวิจัยได้พัฒนาเซ็นเซอร์โดยใช้วัสดุแก้วเซรามิกซึ่งมีความทนทานมากกว่าวัสดุเซ็นเซอร์แบบเดิม เช่น ซิลิกอนและสารเคลือบฟิล์มบาง Luis Fernando Velásquez-García จาก MIT กล่าวว่า "การผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุสามารถสร้างความแตกต่างอย่างมากในอนาคตของฮาร์ดแวร์สำหรับอวกาศ บางคนคิดว่าเมื่อใช้เครื่องพิมพ์3 มิติ ก็ต้องได้ประสิทธิภาพน้อยลง แต่เราได้แสดงให้เห็นแล้วว่ามันไม่เป็นอย่างนั้นเสมอไป"

อ่านข่าวเต็มได้ที่: MIT News

วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

หุ่นยนต์เรียนงานบ้านด้วยการดูคนทำ

whirl-robot
ภาพจาก Carnegie Mellon University School of Computer Science

Shikhar Bahl, Deepak Pathak และ Abhinav Gupta แห่ง Carnegie Mellon University พัฒนาอัลกอริธึมการเรียนรู้หุ่นยนต์ด้วยการเลียนแบบมนุษย์ในธรรมชาติ (In-the-Wild Human Imitating Robot Learning) หรือ  WHIRL เพื่อสอนหุ่นยนต์ให้ทำงานโดยการสังเกตสิ่งที่คนทำ 

WHIRL ช่วยให้หุ่นยนต์ได้รับความรู้จากวิดีโอที่แสดงปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งต่าง ๆ และนำข้อมูลนั้นไปใช้กับงานใหม่ ทำให้เหมาะสมกับการเรียนรู้การทำงานบ้าน นักวิจัยได้ติดตั้งกล้องให้กับหุ่นยนต์ และใช้อัลกอริธึม เพื่อให้หุ่นยนต์ได้เรียนรู้การทำงานมากกว่า 20 งานในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

ในแต่ละกรณี หุ่นยนต์จะเฝ้าดูมนุษย์ทำงานหนึ่งครั้ง จากนั้นจึงฝึกฝนและเรียนรู้ที่จะทำงานให้เสร็จด้วยตัวเอง “แทนที่จะรอให้หุ่นยนต์ถูกตั้งโปรแกรมหรือฝึกให้ทำงานต่าง ๆ ให้สำเร็จก่อนที่จะนำไปใช้ในบ้านคน เทคโนโลยีนี้ช่วยให้เราส่งหุ่นยนต์ไปที่บ้าน และให้พวกมันเรียนรู้วิธีการทำงานให้ลุล่วง พร้อมทั้งปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมด้วยการมองเท่านั้น" Pathak อธิบาย

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Carnegie Mellon University School of Computer Science

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

การเขียนโค้ดที่ผิดพลาดทำให้ผู้คนเป็นล้านเข้าถึงบริการไม่ได้

routers
Photo by Kenny Eliason on Unsplash

ชาวแคนาดาหลายล้านคนไม่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต หรือบริการโทรศัพท์บ้านอย่างน้อยหนึ่งวันเนื่องจากข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม เมื่อ Rogers Communications กำลังอัปเกรดโครงสร้างพื้นฐานไร้สาย/บรอดแบนด์

บริษัทโทรคมนาคมมีเครือข่ายหลักเพียงเครือข่ายเดียวที่รองรับบริการทั้งหมดของตน และเอกสารของบริษัทระบุว่าโค้ดบางส่วนได้ลบตัวกรองการกำหนดเส้นทางระหว่างระยะที่หกของการอัพเกรดโครงสร้างพื้นฐานที่มีทั้งหมดเจ็ดระยะ

การลบโค้ดดังกล่าว ทำให้ช่องสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่เป็นไปได้ทั้งหมดส่งผ่านเราเตอร์ ส่งผลให้อุปกรณ์หลายเครื่องใช้หน่วยความจำและการประมวลผลเกินกว่าขอบเขตของตัวเอง ทำใหเครือข่ายหยุดทำงาน Rogers ใช้อุปกรณ์จากผู้ผลิตหลายรายในเครือข่าย และซัพพลายเออร์ของเราเตอร์มีการจัดการทราฟฟิกและการป้องกันโอเวอร์โหลดที่แตกต่างกัน ซึ่งจากเอกสารระบุว่าเป็นสาเหตุของการหยุดทำงาน

อ่านข่าวเต็มได้ที่: The Globe and Mail (Canada)

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

การเขียนโค้ดที่ผิดพลาดทำให้ตัวประมวลผลกราฟิกของอินเทลทำงานช้าลงร้อยเท่าในการทำเรย์เทรซซิง

GPU
Photo by Nana Dua on Unsplash

ข้อผิดพลาดในการเขียนโค้ดของไดรเวอร์ของหน่วยประมวลผลกราฟิก (graphic processing unit) หรือ GPU ของอินเทล (Intel) บนระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux) ซึ่งตั้งใจจะทำให้การทำเรย์เทรซซิง (ray tracing) เร็วขึ้น 100 เท่า กลับทำงานช้าลง ท่ามกลางข่าวที่ว่าไดรเวอร์ของ Arc GPU ของอินเทลก็มีปัญหากับวินโดวส์ (Windows) 

ไดรเวอร์ Mesa Vulkan ซึ่งเป็นแบบเปิดเผยโค้ดต้นฉบับ (open source) ของอินเทล มักจะรับประกันว่าหน่วยความจำชั่วคราวที่ใช้สำหรับการทำเรย์เทรซซิงของ Vulkan จะอยู่ในหน่วยความจำภายใน แต่โค้ดที่ขาดหายไปข้ามการจัดสรรหน่วยความจำในลักษณะนี้

สิ่งนี้ทำให้โปรแกรมควบคุมเปลี่ยนเอาข้อมูลที่ใช้ในการทำเรย์เทรซซิงไปใช้หน่วยความจำระบบภายนอกที่ช้า แล้วจึงย้อนกลับมาใช้หน่วยความจำภายใน เว็บไซต์ข่าวลินุกซ์ชื่อ Phoronix กล่าวว่าวิศวกรที่พัฒนาไดรเวอร์กราฟิกของอินเทลบนลินุกซ์ Lionel Landwerlin ได้ปล่อยโปรแกรมแก้ไข Mesa 22.2 ที่รวมเข้าไปในไดรเวอร์ Vulkan ซึ่งจะให้ผู้ใช้ทั่วไปได้ใช้งานภายในสิ้นเดือนสิงหาคม

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Tom's Hardware