วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

หุ่นยนต์ช่วยตอบคำถามว่าทำไมปลาต้องว่ายน้ำเป็นฝูง


ภาพจาก: University of Konstanz

นักวิจัยที่  Max Planck Institute of Animal Behavior (MPI-AB) ของเยอรมัน และ University of Konstanz ร่วมมือกับนักวิจัยจาก Peking University ของจีน ในการใช้หุ่นยนต์ที่เหมือนปลาสาธิตการประยัดพลังงานการว่ายน้ำของฝูงปลา โดยที่ไม่ต้องเฝ้าดูพวกมันจากที่ไกล ๆ หุ่นยนต์ปลานี้ช่วยให้นักวิจัยวัดพลังงานที่ต้องใช้ไปในการว่ายน้ำของปลาที่ว่ายไปด้วยกัน และว่ายไปตามลำพัง นักวิจัยบอกว่าจากการทดลองกว่า 10,000 ครั้ง พบว่าปลาตัวที่ว่ายนำฝูงจะทำให้เกิดผลกระทบกับการเคลื่อนที่ของน้ำของปลาตัวที่ว่ายตามมา เพื่อประหยัดพลังงานปลาตัวที่ตามจะโบกหางโดยใช้จังหวะเดียวกับตัวนำ นักวิจัยบอกว่าก่อนหน้าที่จะจำลองฝูงปลาโดยใช้หุ่นยนต์ ก็เคยมีการสังเกตว่าปลามีพฤติกรรมที่ตัวตามจะว่ายโดยใช้จังหวะเดียวกับตัวนำ แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไม จนกระทั่งได้เข้าใจจากการใช้หุ่นยนต์นี้

อ่านข่าวเต็มได้ที่: University of Konstanz

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ตัวแบบ AI เพื่อตรวจหาคนที่ติด COVID-19 แต่ไม่แสดงอาการจากเสียงไอ

ภาพจาก MIT

นักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ได้พัฒนาตัวแบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ เอไอ (AI) ที่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเสียงไอของคนที่ติด COVID-19 แต่ไม่มีอาการกับคนที่ปกติ โดยเสียงไอนั้นจะถูกอัดจากเว็บเบราเซอร์ โทรศัพท์มือถือ และเครื่องโน้ตบุ๊ก ทีมนักวิจัยฝึกสอนตัวแบบจากตัวอย่างเสียงไอ และเสียงพูดปกติ โดยมันสามารถระบุเสียงไอจากผู้ที่มีไวรัสได้ด้วยความแม่นยำถึง 98.5% (100% จากคนที่ไม่มีอาการ) นักวิจัยกำลังจะนำตัวแบบนี้เข้าไปในแอปพลิเคชันที่ทำให้ผู้ใช้ใช้ง่าย โดยตั้งใจจะให้เป็นแอปที่ฟรี ใช้งานง่าย และไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัว เพื่อระบุตัวคนที่ติด COVID-19 แต่ไม่แสดงอาการ ผู้ใช้สามารถล็อกอินเข้าระบบทุกวัน ไอผ่านมือถือ และได้ผลลัพธ์อย่างทันทีว่าตัวเองติดเชื้อหรือไม่ และไปทดสอบอย่างเป็นทางการอีกทีหนึ่ง

อ่านข่าวเต็มได้ที่:  MIT News

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

นักวิจัยพัฒนาเทคนิคในการเขียนประโยคเพื่อหลอกตัวแยกประเภทข้อความ

 

Image Credit: raindrop74 / Shutterstock

นักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) สร้างเฟรมเวอร์กเพื่อเขียนประโยคขึ้นมาใหม่โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำให้ตัวแยกประเภทข้อความทำงานผิดพลาด โดยการจู่โจมนี้จะมีผลต่ออุตสาหกรรมอย่างเช่นการให้กู้ยืมเงิน ซึ่งใช้ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ในการประมวลผลเอกสาร โดยการจู่โจมนี้ใช้การสร้างประโยคซึ่งทำให้การจู่โจมได้ผลกว่าการใช้คำ โดยให้นักวิจัยได้ใช้โปรแกรมแต่งประโยคขึ้นมาใหม่ โดยให้มีความหมายเหมือนับประโยคเดิม อย่างเช่น ประโยคเดิมคือ "Turkey is put on track for EU membership,” โปรแกรมแยกข้อความจะจัดกลุ่มของประโยคต้นฉบับอยู่ในกลุ่ม "World"  ถ้าเปลี่ยนเป็น “EU puts Turkey on track for full membership” ประโยคนี้จะถูกจัดกลุ่มอยู่ในกลุ่ม "Business" นักวิจัยบอกว่าถึงแม้วิธีการนี้จะถูกนำไปใช้แบบผิด ๆ เพื่อการโจมตี แต่มันก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในการฝึกให้โมเดลที่มีอยู่ต่อสู้กับการโจมตีในลักษณะนี้ได้ดีขึ้น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: VentureBeat

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

เทคโนโลยีโดรนเพื่อปรับปรุงความสามารถในการทำนายการประทุของภูเขาไฟ

ภาพจาก UCL News

ทีมวิจัยนานาชาตินำโดย University College London ประเทศอังกฤษ ได้ปรับปรุงโดรนระยะไกลที่รวบรวมข้อมูลจากภูเขาไฟที่ยังไม่ดับ เพื่อทำนายการปะทุได้ดีขึ้น โครงการนี้มีชื่อว่า ABOVE ใช้ข้อมูลจากโดรนที่เก็บข้อมูลจากภูเขาไฟ Manam ของประเทศ Papua New Guinea เพื่อสาธิตให้เห็นถึงความสามารถในการได้มาซึ่งข้อมูลเชิงลึกที่ใช้ในการคาดการณ์ โดยการนำข้อมูลจากอากาศ จากพื้นโลก และข้อมูลจากดาวเทียมมาใช้ร่วมกัน นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคนิคที่ใช้วัดการปล่อยแก๊ซจากภูเขาไฟโดยใช้โดรน ร่วมกับการใช้ข้อมูลจาการวัดจากแหล่งอื่น ๆ เช่นจากดาวเทียม และเซ็นเซอร์บนพื้นโลก นักวิจัยบอกว่าเมื่อสิบปีก่อนเราทำได้แค่จ้องและเดาว่าภูเขาไป Manam ปล่อย CO2 ออกมาเท่าใด

อ่านข่าวเต็มได้ที่: UCL News

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

AI ทำนายไข้หวัดใหญ่ได้แม่นยำขึ้น

ภาพจาก Stevens Institute of Technology

เครื่องมือทำนายไข้หวัดใหญ่ที่ใช้พลังของปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ เอไอ (AI) ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจาก Stevens Institute of Technology ได้ใช้ข้อมูลตำแหน่ง ที่ทำให้เพิ่มความแม่นยำของการทำนายได้สูงขึ้นกว่าเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบันถึง 11% โดยสามารถทำนายการแพร่ระบาดได้ล่วงหน้าถึง 15 สัปดาห์ ทีมนักวิจัยฝึกสอน AI ด้วยข้อมูลในปัจจุบันและข้อมูลในภูมิภาคจากสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น จากนั้นทดสอบการทำนายกับข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงในอดีต นักวิจัยบอกว่าขั้นตอนวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถ้ามีการจัดเก็บข้อมูลใหม่เข้าไป ทำให้สามารถทำนายได้แม่นยำมากขึ้นในช่วงเวลาที่ยาวนานขึ้น

อ่านข่าวเต็มได้ที่: Stevens Institute of Technology