วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หุ่นยนตร์หกขาสำหรับตลุยดาวอังคาร

NASA กำลังพัฒนาหุ่นยนตร์หกขามีชื่อว่า Athlete ซึ่งจะเดินหรือเลื่อนไปก็ได้ ซึ่งจุดเด่นของมันก็คือสามารถที่จะเคลื่อนที่ได้บนสภาพแวดล้อมได้หลากหลายรูปแบบ โดยจุดประสงค์หลักในการสร้างมันขึ้นมาคือนำไปใช้ช่วยสร้างที่อยู่สำหรับนักบินอวกาศที่บนดาวอังคาร ใครสนใจดูรูปหุ่นยนต์ตัวนี้ดูได้จากบทความที่มาครับ

Computer World

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แนวคิดการโปรแกรมให้ทำงานแบบพอเพียง

สำหรับนักเขียนโปรแกรมทุกคนคงทราบดีนะครับว่าโปรแกรมที่มีการทำงานนาน ๆ มักจะมีการทำงานแบบวนรอบ (loop) นักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ได้คิดวิธีการที่จะลดเวลาในการทำงานของโปรแกรมโดยพัฒนาระบบอัจฉริยะซึ่งจะหาจุดในส่วนของการวนรอบในโปรแกรมที่สามารถที่จะข้ามไปได้โดยไม่เกิดความเสียหาย วิธีนี้มีชื่อว่า "loop perforiation" โดยนักวิจัยได้ทดสอบวิธีการกับการส่งวีดีโอผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งวิธีการดังกล่าวสามารถลดเวลาในการเข้ารหัสลงไปได้ถึงครึ่งหนึ่งโดยไม่มีผลที่เห็นได้ชัดกับคุณภาพของวีดีโอ นักวิจัยบอกว่าระบบนี้ยังสามารถนำไปใช้กับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่เช่นกลไกการให้คำแนะนำบนเว็บไซต์

ที่มา MIT News

หุ่นยนตร์ชีวภาพ

นักวิจัยที่ทำงานเป็นอิสระจากกันสองทีม ทีมแรกหัวหน้าทีมคือคุณ Milan Stojanovic ซึ่งเป็นนักชีวเคมีจาก Columbia University ทีมที่สองนำโดยคุณ Nadrian Seeman นักเคมีจาก New York University ได้พัฒนาแนวคิดที่คล้าย ๆ กันคือสร้างหุ่นยนต์จากโมเลกุล DNA คือเป็นหุ่นยนตร์ชีวภาพที่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามคำสั่งที่ได้รับมา โดยคำสั่งจะสร้างจากองค์ประกอบทางเคมี

ที่มา The Wall Street Journal

วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลดิจิทัลจะมีขนาดถึง 1.2 Zettabytes ภายในปีนี้

จากรายงานประจำปีของ IDC พบว่าปริมาณข้อมูลดิจิทัลอาจจะมีปริมาณมากถึง 1.2 Zettabytes ภายในปีนี้ หลายคนอาจมีคำถามว่าแล้วเจ้า Zettabytes นี่มันมีขนาดเท่าไรกันแน่ 1 Zettabytes มีขนาดเท่ากับ 1 ล้าน petabytes ส่วน 1 petabytes คือ 1 ล้าน gigabytesก็ลองไปคำนวณกันดูแล้วกันนะครับว่าข้อมูลจะมีขนาดใหญ่เท่าไรกันแน่ ปัญหาก็คือเราอาจจะไม่สามารถเก็บข้อมูลทั้งหมดได้ คือมีที่เก็บไม่พอนั่นเอง สิ่งที่จะต้องจัดการก็คือการลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูล ในบทความบอกว่าร้อยละ 75 ของข้อมูลทั้งหมดเป็นสำเนา ดังนั้นเราก็ไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลที่ซ้ำกัน เราต้องลดโอกาสที่ข้อมูลจะสูญหาย และใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้มากที่สุด

ขอเพิ่มความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมคิดว่าตอนนี้พวกเรากำลังถูกทำให้เสียนิสัยจากฟรีอีเมลที่แข่งกันให้เนื้อที่แบบไม่จำกัด และบอกว่าเราไม่จำเป็นต้องลบอีเมลอะไรเลย ซึ่งผมคิดว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่ดีเลย จริง ๆ เราควรสร้างนิสัยให้ใช้ทรัพยากรทุกอย่างที่มีอย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุด ซึ่งตรงนี้ก็น่าจะช่วยบรรเทาสถานการณ์ดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ไม่มากก็น้อยนะครับ

ที่มา KurzweilAI.net

หุ่นยนต์สำรวจความแข็งแรงของที่เกิดเหตุ

นักวิจัยจาก University of Missouri ได้พัฒนาโปรแกรมสำหรับหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการตรวจสอบความแข็งแรงของสถานที่เกิดเหตุ โปรแกรมดังกล่าวจะทำให้หน่วยกู้ภัยสามารถสำรวจสภาพของที่เกิดเหตุก่อนที่จะเข้าไปยังที่เกิดเหตุจริง นอกจากนี้โปรแกรมนี้ยังอาจนำไปใช้กับการสำรวจสภาพโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างอีกด้วย ซึ่งข้อมูลจากการสำรวจนี้จะบอกให้วิศวกรทราบว่าถึงเวลาต้องซ่อมแซมหรือยัง โดยบทความต้นฉบับได้ยกตัวอย่างของสะพาน Minneapolis ที่ถล่มลงมาในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งถ้ามีเครื่องมือนี้ตรวจสอบสภาพสะพานก็อาจไม่เกิดโศกนาฏกรรมดังกล่าวขึ้น

ที่มา University of Missouri News Bureau