วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หุ่นยนตร์หกขาสำหรับตลุยดาวอังคาร

NASA กำลังพัฒนาหุ่นยนตร์หกขามีชื่อว่า Athlete ซึ่งจะเดินหรือเลื่อนไปก็ได้ ซึ่งจุดเด่นของมันก็คือสามารถที่จะเคลื่อนที่ได้บนสภาพแวดล้อมได้หลากหลายรูปแบบ โดยจุดประสงค์หลักในการสร้างมันขึ้นมาคือนำไปใช้ช่วยสร้างที่อยู่สำหรับนักบินอวกาศที่บนดาวอังคาร ใครสนใจดูรูปหุ่นยนต์ตัวนี้ดูได้จากบทความที่มาครับ

Computer World

วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แนวคิดการโปรแกรมให้ทำงานแบบพอเพียง

สำหรับนักเขียนโปรแกรมทุกคนคงทราบดีนะครับว่าโปรแกรมที่มีการทำงานนาน ๆ มักจะมีการทำงานแบบวนรอบ (loop) นักวิจัยจาก Massachusetts Institute of Technology (MIT) ได้คิดวิธีการที่จะลดเวลาในการทำงานของโปรแกรมโดยพัฒนาระบบอัจฉริยะซึ่งจะหาจุดในส่วนของการวนรอบในโปรแกรมที่สามารถที่จะข้ามไปได้โดยไม่เกิดความเสียหาย วิธีนี้มีชื่อว่า "loop perforiation" โดยนักวิจัยได้ทดสอบวิธีการกับการส่งวีดีโอผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งวิธีการดังกล่าวสามารถลดเวลาในการเข้ารหัสลงไปได้ถึงครึ่งหนึ่งโดยไม่มีผลที่เห็นได้ชัดกับคุณภาพของวีดีโอ นักวิจัยบอกว่าระบบนี้ยังสามารถนำไปใช้กับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่เช่นกลไกการให้คำแนะนำบนเว็บไซต์

ที่มา MIT News

หุ่นยนตร์ชีวภาพ

นักวิจัยที่ทำงานเป็นอิสระจากกันสองทีม ทีมแรกหัวหน้าทีมคือคุณ Milan Stojanovic ซึ่งเป็นนักชีวเคมีจาก Columbia University ทีมที่สองนำโดยคุณ Nadrian Seeman นักเคมีจาก New York University ได้พัฒนาแนวคิดที่คล้าย ๆ กันคือสร้างหุ่นยนต์จากโมเลกุล DNA คือเป็นหุ่นยนตร์ชีวภาพที่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามคำสั่งที่ได้รับมา โดยคำสั่งจะสร้างจากองค์ประกอบทางเคมี

ที่มา The Wall Street Journal

วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลดิจิทัลจะมีขนาดถึง 1.2 Zettabytes ภายในปีนี้

จากรายงานประจำปีของ IDC พบว่าปริมาณข้อมูลดิจิทัลอาจจะมีปริมาณมากถึง 1.2 Zettabytes ภายในปีนี้ หลายคนอาจมีคำถามว่าแล้วเจ้า Zettabytes นี่มันมีขนาดเท่าไรกันแน่ 1 Zettabytes มีขนาดเท่ากับ 1 ล้าน petabytes ส่วน 1 petabytes คือ 1 ล้าน gigabytesก็ลองไปคำนวณกันดูแล้วกันนะครับว่าข้อมูลจะมีขนาดใหญ่เท่าไรกันแน่ ปัญหาก็คือเราอาจจะไม่สามารถเก็บข้อมูลทั้งหมดได้ คือมีที่เก็บไม่พอนั่นเอง สิ่งที่จะต้องจัดการก็คือการลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูล ในบทความบอกว่าร้อยละ 75 ของข้อมูลทั้งหมดเป็นสำเนา ดังนั้นเราก็ไม่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลที่ซ้ำกัน เราต้องลดโอกาสที่ข้อมูลจะสูญหาย และใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้มากที่สุด

ขอเพิ่มความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมคิดว่าตอนนี้พวกเรากำลังถูกทำให้เสียนิสัยจากฟรีอีเมลที่แข่งกันให้เนื้อที่แบบไม่จำกัด และบอกว่าเราไม่จำเป็นต้องลบอีเมลอะไรเลย ซึ่งผมคิดว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่ดีเลย จริง ๆ เราควรสร้างนิสัยให้ใช้ทรัพยากรทุกอย่างที่มีอย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุด ซึ่งตรงนี้ก็น่าจะช่วยบรรเทาสถานการณ์ดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ไม่มากก็น้อยนะครับ

ที่มา KurzweilAI.net

หุ่นยนต์สำรวจความแข็งแรงของที่เกิดเหตุ

นักวิจัยจาก University of Missouri ได้พัฒนาโปรแกรมสำหรับหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการตรวจสอบความแข็งแรงของสถานที่เกิดเหตุ โปรแกรมดังกล่าวจะทำให้หน่วยกู้ภัยสามารถสำรวจสภาพของที่เกิดเหตุก่อนที่จะเข้าไปยังที่เกิดเหตุจริง นอกจากนี้โปรแกรมนี้ยังอาจนำไปใช้กับการสำรวจสภาพโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างอีกด้วย ซึ่งข้อมูลจากการสำรวจนี้จะบอกให้วิศวกรทราบว่าถึงเวลาต้องซ่อมแซมหรือยัง โดยบทความต้นฉบับได้ยกตัวอย่างของสะพาน Minneapolis ที่ถล่มลงมาในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งถ้ามีเครื่องมือนี้ตรวจสอบสภาพสะพานก็อาจไม่เกิดโศกนาฏกรรมดังกล่าวขึ้น

ที่มา University of Missouri News Bureau

ไมโครซอฟท์กับการปรับปรุงระบบปฎิบัติการแบบมัลติคอร์

นักวิจัยจากห้องปฎิบัติการวิจัยของไมโครซอฟท์ที่เคมบริดจ์ประเทศอังกฤษได้พัฒนาระบบปฏิบัติการชื่อ BarrelFish ซึ่งระบบปฎิบัติการนี้จะเข้ามาดูแลเรื่องการรับส่งข้อมูลระหว่างคอร์ต่าง ๆ ให้เหมาะสม ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบดีขึ้น

ที่มา IT Pro

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

10 อับดับองค์กรและอาชีพยอดนิยม

ได้อ่านวารสาร Positioning ฉบับประจำเดือน เมษายน มีประเด็นที่จะมาเล่าให้ฟังสองประเด็นครับ คือ 10 อันดับองค์กรที่มีคนอยากทำงานด้วยมากที่สุด และ 10 อันดับอาชีพในฝัน สำหรับองค์กรยอดนิยมก็เรียงตามลำดับดังนี้ครับ
  1. เครือซิเมนต์ไทย (SCG)
  2. บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) 
  3. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  4. บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
  5. OGILVY & MATHER (THAILAND) Co.,Ltd.
  6. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
  7. บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
  8. ธนาคารกสิกรไทย
  9. บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)
  10. บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด
ถ้าอยากรู้รายละเอียดของแต่ละบริษัทก็อ่านได้จากวารสาร หรืออ่านออนไลน์ได้ที่
เว็บไซต์ของวารสาร
ครับ ซึ่งสำหรับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับงานด้านคอมพิวเตอรฺ์หลัก ๆ ก็คงเป็น SCG และ NECTEC ซึ่งถ้าใครได้อ่านรายละเอียดของ SCG แล้วจะพบว่าทำไมถึงได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง ส่วน NECTEC บอกตรง ๆ ว่าผมค่อนข้างประหลาดใจและก็รู้สึกดีใจเพราะ NECTEC เป็นหน่วยงานที่เน้นการวิจัย การที่มีคนอยากทำงานด้วยก็น่าจะแสดงให้เห็นว่าการวิจัยของประเทศน่าจะดีขึ้น

ส่วน 10 อันดับอาชีพยอดนิยมก็ตามนี้ครับ
  1. ผู้ประกอบการ
  2. นักวางแผนการตลาด
  3. เจ้าของร้านกาแฟ
  4. อาจารย์นักวิชาการ
  5. เจ้าของโรงแรมแบบบูติกโฮเต็ล
  6. เจ้าของร้านอาหาร
  7. นักวางแผนโฆษณา
  8. นักเขียน
  9. แพทย์
  10. วิศวกร
สำหรับข้อสังเกตุคือแพทย์กับวิศวกรมาอันดับท้าย ๆ นะครับ บางอาชีพผมก็ไม่เคยรู้จักมาก่อน(เชยครับ) เช่นบูติกโฮเต็ล ส่วนอาจารย์และนักวิชาการก็อยู่ถึงอันดับ 4 ทางวารสารบอกว่าผลสำรวจนี้อาจไม่ได้หมายถึงอาชีพที่ทำเงินได้สูงสุด แต่เป็นอาชีพที่คนทำคิดว่าทำแล้วจะมีความสุข

ส่งท้ายวันนี้ก็ขอให้นักศึกษาที่เพิ่งจบใหม่ หรือใครที่คิดจะเปลี่ยนงานใหม่ได้ทำงานและอยู่ในหน่วยงานที่ตัวเองชอบนะครับ