วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สรุปการสัมมนา vmware virtualization series 2009

วันนี้ (19 พ.ย. 2552) ผมได้ไปฟังสัมมนา Virtualization Seminar Series โดย vmware ที่โรงแรม Conrad ก็ขอถือโอกาสมาเล่าให้ฟังแล้วกันครับ สำหรับบรรยากาศทั่ว ๆ ไปของงานน่าจะเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อให้บริษัทได้นำเสนอเทคโนโลยีการทำ Virtualization และ Cloud computing ซึ่งใช้ vmware เป็นฐานในการทำงาน สรุปง่าย ๆ คือเป็นการมาขายของ โดยให้ความรู้ประกอบ ซึ่งเดี่ยวนี้จะเห็นการตลาดในลักษณะนี้เยอะพอสมควร ตัวอย่างหนึ่งก็คือวารสารไมโครคอมพิวเตอร์ ซึ่งเดี๋ยวนี้บทความส่วนใหญ่จะเขียนโดยบริษัท คือจะเป็นเชิงให้ความรู้ และโฆษณาสินค้าของตัวเองไปในตัว กลุ่มเป้าหมายของการสัมมนาครั้งนี้ก็คือฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทต่าง ๆ ซึ่งน่าจะเป็นลูกค้าของ vmware ในอนาคต ส่วนผมไปก็คงเป็นส่วนเกิน ไปกินข้าวฟรี น้ำฟรีและขนมฟรี และก็ไม่ได้ซื้อของอะไรเขา เพราะตัวเองผลิตภัณฑ์ vmware ที่ใช้ก็คือ vmware player ที่ฟรี ส่วน vmware Workstation ก็โหลดมาใช้ตอนที่ต้องการจะสร้าง Virtual Machine เท่านั้น ก็เห็นเขาส่งอีเมลมาเชิญ ก็เลยลงทะเบียนไป สงสัยงวดต่อไปเขาไม่เชิญแล้ว

คราวนี้ลองมาสรุปประเด็นต่าง ๆ ที่ ผมได้มาจากการสัมมนาครั้งนี้บ้าง เริ่มต้นจาก vSphere 4.0 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของ vmware สำหรับ Cloud Computing สำหรับตัวนี้ใครสนใจก็คลิกดูเลยแล้วกันครับ

ส่วนที่ผมอยากจะพูดถึงก็คือ vmware View 4.0 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับ cloud computing ในระดับ desktop สำหรับตัวนี้ขอขยายความหน่อยแล้วกันครับ เพราะอาจจะเป็นตัวที่มีโอกาสได้ใช้มากกว่า หลักการคร่าว ๆ ของ vmware View เป็นดังนี้ครับ ปกติเวลาเราสร้าง virtual machine เราก็จะต้องนำมาทำงานบนเครื่อง client โดยทำงานผ่าน vmware player แต่สำหรับแนวคิดของ vmware View คือเป็นการขยายแนวคิดของ cloud computing มาสู่ desktop คือจะสร้าง virtual machine ขึ้นมาแล้วเก็บไว้บน server จากนั้นผู้ใช้ก็ใช้โปรแกรม vmware View ติดต่อเข้ามาเพื่อใช้งาน virtual machine ซึ่งข้อดีของการทำอย่างนี้ก็มีหลายประการคือ ตอนนี้ผู้ใช้จะสามารถใช้เครื่องไหนก็ได้ ที่มี vmware View ติดตั้งอยู่ ในการใช้งาน virtual machine หรืออาจจะใช้แค่ thin client ซึ่งมีราคาถูก ก็สามารถใช้งาน virtual machine ได้ ยิ่งไปกว่านั้น ก็ยังง่ายต่อการดูแลเพราะ virtual machine ถูกเก็บไว้ที่ server ทาง vmware ยังได้คิดโพรโตคอลของตัวเองคือ PCoIP ซึ่งมีจุดประสงค์ให้การทำงานต่าง ๆ เช่นการถอดรหัสวีดีโอทำที่ server และส่งผลลัพธ์เป็น pixel มายัง client ซึ่งจะทำให้ client แสดงผลลัพธ์ได้ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นวีดีโอในรูปแบบใด

ในงานมีการสัมภาษณ์ลูกค้าที่ใช้ vmware คือ ปตท. และบริษัท NetApp ซึ่งเป็น Solution Provider ที่เป็นพันธมิตรกับ vmware ทาง IBM ก็ได้มาพูดถึง Solution ทางด้าน cloud computing ที่ทาง IBM ได้เตรียมไว้ เช่น Lotus Live ซึ่งเป็นบริการในรูปการทำงานร่วมกันในองค์กร ซึ่ง IBM ให้ทดลองใช้ฟรีได้ 30 วัน ซึ่งตรงนี้ผมว่าพวกเราที่ใช้ Google Application คงจะเฉย ๆ นะครับ เพราะใช้กันมาตั้งนานแล้ว และฟรีด้วย Solution ที่น่าสนใจจริง ๆ ผมว่าน่าจะเป็น IBM cloudburst ซึ่งเป็น Solution สำเร็จรูปสำหรับองค์กรที่ต้องการทำ cloud computing นอกจากนี้ก็มี EMC มาพูดเรื่องเกี่ยวกับการจัดการ Storage และ Dell กับ HP ก็มาพูดถึง Solution ที่ได้เตรียมไว้สำหรับ Cloud computing จริง ๆ แล้วยังเหลืออยู่อีกสอง session ซึ่งผมไม่สามารถอยู่จนจบได้ เนื่องจากติดธุระในช่วงเย็น เสียดายจริง ๆ ครับ เขาจะมีการจับรางวัลด้วย โดยรางวัลจะเป็น โน้ตบุ๊ก Fujitsu กับเครื่อง Wii ว่าจะไปลุ้นเครื่อง Wii มาให้ลูกเล่นเสียหน่อยอดเลย

โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่างานนี้ก็เป็นงานสัมมนาขายสินค้าแบบหนึ่ง แต่ที่ผมได้จากการเข้าสัมมนาครั้งนี้ก็คือการได้เห็น Solution ทางด้านการทำ virtualization และ Cloud computing ซึ่งตัวผมเองนั้นไม่ได้มีประสบการณ์การทำงานด้านนี้จริง ซึ่งก็พอจะทำให้มองเห็นภาพจากสิ่งที่รู้มาในภาคทฤษฎีมากขึ้น

วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คืบหน้ารถไฟใต้ดินชนกันใน Washington D.C

จากข่าว รถไฟใต้ดินชนกันใน (Washington D.C) ตอนนี้ก็มีความคืบหน้าเพิ่มขึ้นคือ สาเหตุของการชนกันของรถไฟสองขบวนน่าจะมาจากการทำงานที่ผิดพลาดของวงจรบนรางรถไฟ กล่าวคือถ้าวงจรทำงานถูกต้องจะต้องตรวจสอบได้ว่าเมื่อมีรถไฟอีกขบวนหนึ่งเข้ามาใกล้จนเกินไป จะต้องส่งสัญาณไปให้รถไฟคันดังกล่าวหยุด ซึ่งก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุห้าวัน มีการปรับปรุงซ่อมแซมวงจรบนรางรถไฟ ซึ่งหลังจากการซ่อมแซมแล้ว ก็มีอาการแสดงถึงความผิดปกติของระบบออกมาโดยเดี๋ยวก็รายงานว่ามีรถไฟเข้ามา แล้วสักครู่ก็ไม่พบว่ามีรถไฟเป็นต้น ซึ่งปัญหารถไฟชนกันนี้คาดว่าน่าจะเกิดจากการที่ระบบไม่สามารถตรวจสอบตำแหน่งของรถไฟที่จอดอยู่ ดังนั้นเมื่อมีรถไฟอีกขบวนวิ่งเข้ามาจึงไม่มีการส่งสัญญาณไปหยุดขบวนรถดังกล่าว และจากการสืบสวนยังพบว่าในระบบดังกล่าวไม่มีระบบสำรอง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยอัตโนมัติว่ามีรถไฟบางขบวนที่ไม่สามารถตรวจสอบหาตำแหน่งได้ แต่สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือระบบรถไฟใต้ดินที่ Sanfransisco (มีชื่อเรียกว่า BART) ได้ติดตั้งระบบสำรองนี้ไว้มานานหลายปีแล้ว ทั้ง ๆ ที่เริ่มสร้างมาเกือบจะพร้อม ๆ กับ รถไฟใต้ดินของ Washington D.C (มีชื่อเรียกว่า Metro) โดยได้ติดตั้งระบบสำรองนี้หลังจากที่มีการตรวจพบว่ามีกรณีที่ไม่สามารถตรวจสอบตำแหน่งของรถไฟบางขบวนได้ ทางผู้ดูแลระบบรถไฟใต้ดินของ Washington D.C กล่าวว่าระบบของ BART ไม่สามารถใช้กับของ Metro ได้ และในตอนนี้ก็ยังไม่มีระบบใดที่มีอยู่ในตอนนี้จะสามารถทำได้ ซึ่งทางเดียวก็คือจะต้องพัฒนาระบบขึ้นมาใหม่

ที่มา
The Washington Post

ก้าวแรกกับการต่อสู้กับจดหมายขยะ

นักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย Indiana ได้ศึกษาวิธีการที่คนสร้างจดหมายขยะรวบรวมรายชื่ออีเมลของเหยื่อ ซึ่งเป็นก้าวแรกของโครงการรณรงค์ต่อต้านจดหมายขยะ โดยเขาค้นพบว่าอีเมลที่พวกส่งจดหมายขยะได้มาส่วนใหญ่จะเป็นอีเมลที่ถูกโพสต์ไว้ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่นคอมเมนต์บนบล็อก หรือเว็บบอร์ด มากกว่าที่จะได้มาจากอีเมลที่ใช้ในการสมัครเป็นสมาชิกของเว็บไซต์ โดยพวกคนที่จะสร้างจดหมายขยะจะใช้โปรแกรมเข้ามาอ่านข้อมูลทีมีการโพสต์บนเว็บไซต์ และกรองอีเมลจากข้อมูลดังกล่าว วิธีการที่นักวิจัยแนะนำในการแก้ปัญหานี้คือ ถ้าเราต้องการโพสต์อีเมลลงไปเป็นส่วนหนึ่งของการคอมเมนต์ให้ใช้คำว่า at แทนที่จะเป็นเครื่องหมาย @ เช่น abc@cde.com ก็ให้ใช้เป็น abc at cde.com เป็นต้น

ที่มา
Technology Review

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เฟรมเวอร์กสำหรับสร้างส่วนติดต่อกับผู้ใช้

โครงการ European OpenInterface (OI) ได้พัฒนาเฟรมเวอร์กสำหรับสร้างส่วนติดต่อกับผู้ใช้ ซึ่งไม่ใช่แค่การใช้เมาส์ไปคลิกที่ไอคอนต่าง ๆ ประเด็นก็คือมีการพัฒนาวิธีติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ มานานแล้ว แต่การคิดค้นแต่ละครั้งผู้ที่คิดค้นก็ต้องเริ่มทำขึ้นมาตั้งแต่ต้น เช่นจะต้องศึกษาคุณลักษณะของอุปกรณ์ พัฒนาให้มันใช้ได้กับระบบอื่น ๆ ที่มีอยู่ และต้องทำการทดสอบมากมาย ซึ่งเฟรมเวอร์กนี้จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว โดยในตัวเฟรมเวอร์กจะมีคลังของคอมโพเนนต์ต่าง ๆ ให้ผู้พัฒนาได้ลองนำเอาคอมโพเนนต์เหล่านั้นมาประกอบกัน เพื่อให้มองเห็นภาพการทำงานร่วมกันของคอมโพเนนต์ต่าง ๆ

ที่มา
ICT Result

อินเทอร์เน็ตโพรโตคอลสำหรับใช้ในอวกาศ

มหาวิทยาลัย Colorado at Boulder (CU-Boulder) ร่วมมือกับ NASA เพื่อพัฒนาอินเทอร์เน็ตที่ใช้เชื่อมระหว่างดาวต่าง ๆ จุดประสงค์ก็เพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่าง NASA และองการอวกาศอื่น ๆ กับยานอวกาศจากชาติต่างๆ ที่กำลังสำรวจดวงจันทร์ หรือดาวอังคารทำได้โดยสะดวก เทคโนโลยีใหม่นี้มีชื่อว่า Disruption Tolerant Networking (DTN) สาเหตุที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเหมือนที่ใช้อยู่บนโลกได้ก็เพราะว่า อินเทอร์เน็ตที่อยู่บนโลกกำหนดให้ต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ที่กำลังรับส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ในอวกาศโอกาสที่สัญญาณเชื่อมต่อจะขาด ๆ หาย ๆ เป็นเรื่องปกติ เช่นในขณะที่ยานอวกาศกำลังเคลื่อนตัวไปด้านหลังดาวเคราะห์ หรือในขณะที่เกิดพายุสุริยะ ซึ่งระบบใหม่นี้จะเก็บข้อมูลเอาไว้ให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และส่งข้อมูลออกไปเมื่อเหตุการณ์เป็นปกติแล้ว นอกจากจะใช้ระบบใหม่นี้ในอวกาศได้แล้ว ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้บนโลกได้ด้วยเช่นใช้ในการติดตามฝูงสัตว์ ในบริเวณที่เป็นป่าเขาในประเทศโลกที่สาม หรือใช้ในทางการทหาร

ที่มา
University of Colorado at Boulder (CU-Boulder)

อินเทอร์เน็ตโพรโตคอลสำหรับใช้ในอวกาศ

มหาวิทยาลัย Colorado at Boulder (CU-Boulder) ร่วมมือกับ NASA เพื่อพัฒนาอินเทอร์เน็ตที่ใช้เชื่อมระหว่างดาวต่าง ๆ จุดประสงค์ก็เพื่อให้การติดต่อสื่อสารระหว่าง NASA และองการอวกาศอื่น ๆ กับยานอวกาศจากชาติต่างๆ ที่กำลังสำรวจดวงจันทร์ หรือดาวอังคารทำได้โดยสะดวก เทคโนโลยีใหม่นี้มีชื่อว่า Disruption Tolerant Networking (DTN) สาเหตุที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเหมือนที่ใช้อยู่บนโลกได้ก็เพราะว่า อินเทอร์เน็ตที่อยู่บนโลกกำหนดให้ต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ที่กำลังรับส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ในอวกาศโอกาสที่สัญญาณเชื่อมต่อจะขาด ๆ หาย ๆ เป็นเรื่องปกติ เช่นในขณะที่ยานอวกาศกำลังเคลื่อนตัวไปด้านหลังดาวเคราะห์ หรือในขณะที่เกิดพายุสุริยะ ซึ่งระบบใหม่นี้จะเก็บข้อมูลเอาไว้ให้เมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว และส่งข้อมูลออกไปเมื่อเหตุการณ์เป็นปกติแล้ว นอกจากจะใช้ระบบใหม่นี้ในอวกาศได้แล้ว ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้บนโลกได้ด้วยเช่นใช้ในการติดตามฝูงสัตว์ ในบริเวณที่เป็นป่าเขาในประเทศโลกที่สาม หรือใช้ในทางการทหาร

ที่มา
University of Colorado at Boulder (CU-Boulder)

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

รถไฟใต้ดินชนกัน(ในวอชิงตันดีซี)เผยให้เห็นปัญหาของระบบอัตโนมัติ

จากกรณีที่รถไฟใต้ดินสายสีแดงในวอชิงตันดีซีชนกัน ทำให้เห็นปัญหาที่เกิดจากระบบควบคุมอัตโนมัติ โดยถ้าระบบยิ่งทำงานน่าเชื่อถือมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งทำให้คนไม่ค่อยจะให้ความสนใจมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็อาจนำไปสู่การทำงานที่ผิดพลาดจนเกิดความเสียหายร้ายแรงได้ ยิ่งไปกว่านั้นระบบอัตโนมัติในปัจจุบันมักจะบอกให้คนปล่อยการควบคุมให้กับเครื่อง โดยระบบอัตโนมัติในปัจจุบันเริ่มที่จะกีดกันการทำงานของคนออกไปเรื่อย ๆ ผู้เชี่ยวชาญเริ่มเห็นตรงกันว่าน่าจะดีกว่าถ้าออกแบบให้ระบบอัตโนมัติ เข้ามาเสริมการทำงานของคนให้ถูกต้องแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น แทนที่จะกีดกันคนออกไป

ที่มา
The Washington Post

ความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์อาจเป็นต้นเหตุให้เครื่องบินตก

จากการสอบสวนหาสาเหตุการตกของเครื่องบิน Air France เที่ยวบินที่ 447 ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าสาเหตุอาจเกิดจากการทำงานที่ผิดพลาดของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ ทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบันเครื่องบินเจ็ตขนาดใหญ่จะถูกควบคุมอัตโนมัติทั้งหมดด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งสิ่งนี้ก็ถูกตั้งคำถามต่อไปในประเด็นที่ว่า นักบินได้รับการฝึกฝนเพียงพอหรือไม่ ในการที่จะจัดการกับปัญหาในกรณีที่คอมพิวเตอร์ควบคุมการบินมีการทำงานที่ผิดพลาด

ที่มา The Wall Street Journal